นักวิเคราะห์ใหเคำอธิบายสาเหตุของการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ต่างๆกัน แต่โดยทั่วไปแล้วไม่ถึงกับขัดแย้งกันมากนัก นอกจากจะเป็นการมองกันจากคนละแง่มุมหรือให้ความสำคัญกับปัจจัยบางอย่างมากกว่าปัจจัยบางอย่าง ซึ่งถ้าเรารวบรวมปัจจัยต่างๆที่นักวิเคราะห์พยายามอธิบายมาประกอบเป็นภาพรวม เราก็จะเห็นได้ว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยจำนวนมากที่ช่วยส่งเสริมกันและกันอย่างพอเหมาะพอเจาะ
ปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วยผลของการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่ทั่วถึงกันที่ทำให้เกิดการผูกขาด การกระะจายทรัพย์สินและรายได้ที่ไม่เป็นธรรมอย่างเริ่มเป็นที่รู้สึกกัน ภาวะความเดือดร้อน เรื่องค่าครองชีพ เช่น ข้าวสารแพงที่เห็นได้ชัด การผูกขาดอำนาจการเมือง การทหารโดยกลุ่มชนชั้นผู้นำอื่นๆ การแพร่ระบาดของคอรัปชั่น การเล่นพรรคเล่นพวก การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมถึงจุดที่เริ่มสร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนไว้ค่อนข้างสูง การเติบโตของการศึกษาและสื่อสารมวลชนซึ่งทำให้มีการเผยแพร่ความคิดแบบเสรีประชาธิปไตยและการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย ตลอดจนบทบาทของนักศึกษาปัญญาชนรุ่นใหม่ที่มีความตื่นตัวทางการเมืองและสังคมเพิ่มขึ้นและได้มีบทบาทในการรณรงค์คัดค้านรัฐบาลเผด็จการในเรื่องต่างๆมาตามลำดับ (4)
ซึ่งกล่าวโดยรวมแล้วก็คือ ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น สังคมไทยได้วิวัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงมาจนถึงจุดที่เกิดสภาพปัญหา ความขัดแย้งทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมอย่างทั่วทุกด้าน จนถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นจุดใกล้วิกฤติเมื่อเกิดสถานการณ์ที่เหมาะสม คือ มีผู้ริเริ่มท้าทายสภาพการปกครองที่ดำรงอยู่และผู้ปกครองดำเนินนโยบายปราบปรามรุนแรงในช่วงที่ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลอยู่แล้ว เรื่องจึงได้ลุกลามใหญ่โตนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา
+/+/+/+//+
(4) ดูรายละเอียดได้จาก
วิทยากร เชียงกูล, เล่มเดียวกัน
David Morell, Chai-anan Samudavanija, ibid
John L.S. Guling. Thailand Society and Politics Cornell University Press Lkhaca. 1981.
วิทยากร เชียงกูล
ปัญญาชน : ชนชั้นนำในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร
ISBN 974-89302-5-2
+ + +
กะเเตมป์
กันยายน 16, 2012 at 10:57 am
ผลที่เกิดขึ้นล่ะค่ะ