RSS

Category Archives: การศึกษา

เด็กเผาโรงเรียน ปัญหาสังคมหรือระบบการเรียน


รายการคัดข่าวเด่น ทางช่อง 11 เมื่อ 8 มิ.ย.2553 คุยกับ รศ.วิทยากร เชียงกูล ในประเด็น เด็กเผาโรงเรียน ปัญหาสังคมหรือระบบการเรียน

 

ป้ายกำกับ: ,

บรรณานุกรม (รายงานสภาวะฯปี51-52)


บรรณานุกรม

 

หนังสือเล่ม/บทความวิชาการ

โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ปลายทางความรู้ : ชุดความรู้ศูนย์การเรียนรู้

            ชุมชน ภาคต่าง ๆ (5 เล่ม) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 2552 

ดร.ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธ “ทุนมนุษย์กับผลตอบแทนทางการศึกษา” การสัมมนาทาง

            วิชาการประจำปี 2551 ของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย วันที่

            29-30 พฤศจิกายน       2551

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน์ “การศึกษากับความมั่นคงของมนุษย์” บทความจากเว็บไซท์ของ

 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย WWW.TDRI.OR.TH

ดร.สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์  คุณภาพแรงงานไทย  การสัมมนาวิชาการประจำปี 2551 

Read the rest of this entry »

 

6. แนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคแบบคอขวดของการปฏิรูปการศึกษา (รายงานสภาวะฯปี51-52)


6. แนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคแบบคอขวดของการปฏิรูปการศึกษา

            บทนี้ผู้วิจัยได้สรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขเรื่องใหญ่เชิงโครงสร้างที่ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุดหรือเป็นอุปสรรคแบบคอขวด 5 เรื่อง คือ 1.การเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนาประเทศและการศึกษาเสียใหม่ 2.การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารแบบมีภาคี 4 ฝ่ายแทนระบบราชการแบบรวมศูนย์อยู่ที่กระทรวงศึกษา 3.การปฏิรูปเรื่องการจัดหาและใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ/คุณภาพเพิ่มขึ้น 4.การปฏิรูปเพื่อเพิ่มคุณภาพ/ประสิทธิภาพครูอาจารย์และกระบวนการสอนการเรียน และ 5.การรณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษาอย่างมีจิตสำนึกและเอาการเอางาน ผู้วิจัยเชื่อว่าหากแก้ไขปัญหาเรื่องใหญ่ระดับโครงสร้างทั้ง 5 เรื่องนี้ได้ เราก็จะอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขปัญหาในระดับย่อย เช่นปฏิรูปการจัดการศึกษาประเภทต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงไว้ในบทต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ได้ด้วย

Read the rest of this entry »

 

5. การศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (รายงานสภาวะฯปี51-52)


5. การศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

            บทนี้นำเสนอเรื่องบทบาทและความสัมพันธ์แบบต่างฝ่ายต่างมีอิทธิพลต่อกันของการจัดการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม การจัดการศึกษาเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคม ประเทศต้องจัดการศึกษาให้ทั่วถึง อย่างมีประสิทธิภาพ/คุณภาพ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถทักษะและเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้ประสบความสำเร็จได้

Read the rest of this entry »

 

4. การประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาโดยบุคคลวงการต่าง ๆ (รายงานสภาวะฯปี51-52)


4. การประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาโดยบุคคลวงการต่าง ๆ  

            บทนี้นำเสนองานคัดสรรจากทัศนะและบทวิเคราะห์ในเรื่องการจัดการศึกษา/การปฏิรูปการศึกษาของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีศึกษาธิการ นักวิชาการ ครูอาจารย์ พ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนนักเรียน ที่ผู้วิจัยเห็นว่า จะช่วยให้เห็นภาพปัญหาและผลของการจัดการศึกษาของประเทศไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น ผู้วิจัยเลือกมาเฉพาะบางส่วนและเลือกเน้นบางประโยคที่ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญ

Read the rest of this entry »

 

3. การประเมินผลด้านคุณภาพ/ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา (รายงานสภาวะฯปี51-52)


3. การประเมินผลด้านคุณภาพ/ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา

บทนี้เสนอเรื่องการประเมินคุณภาพ/ประสิทธิภาพการศึกษาโดยอาศัยการสรุปจากรายงานของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) และรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) โดยผู้วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วย

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 1 การเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทย และสถานะของประเทศไทยในระบบโลก (รายงานสภาวะปี51-52)


บทที่ 1  การเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทย และสถานะของประเทศไทยในระบบโลก 

            บทนี้ต้องการเสนอสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาและโอกาสในการได้รับการศึกษาของคนไทย เนื่องจากผู้วิจัยเห็นว่าการจะเข้าใจสภาวะการจัดการศึกษาประเทศไทยได้อย่างเห็นภาพใหญ่ เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องบริบททางสังคม (รวมทั้งเศรษฐกิจและการเมือง) และบริบทของประเทศไทยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกด้วย

Read the rest of this entry »

 

สารบัญ (รายงานสภาวะฯปี51-52)


สารบัญ

 

คำนำ

คำชี้แจงของผู้เขียน

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

Read the rest of this entry »

 

คำชี้แจงของผู้เขียน (รายงานสภาวะฯปี51-52)


รายงานสภาวะการศึกษาไทยเป็นหนังสือรายงานประจำปี ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) มอบหมายให้บุคคลภายนอกเป็นผู้วิจัยและเขียนอย่างเป็นอิสระมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 เป็นรายงานแบบเสนอข้อมูลเรื่องการศึกษาในรอบปีควบคู่ไปกับการวิเคราะห์อย่างวิพากษ์วิจารณ์ เป้าหมายคือเพื่อทำให้เป็นรายงานประจำปีที่มีลักษณะจูงใจให้คนสนใจอ่าน ปลุกให้คนช่วยกันคิดวิเคราะห์ต่อ ทำให้เกิดพลังของการเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น

Read the rest of this entry »

 

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (รายงานสภาวะฯปี51-52)


บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

แนวคิดหลักของรายงานฉบับนี้คือบทบาทของการจัดการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทย เนื้อหาประกอบไปด้วย 6 บท ดังต่อไปนี้
บทที่ 1 การเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทยและสถานะของประเทศไทยในระบบเศรษฐกิจโลก เสนอว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทยแบบที่มีความขัดแย้งผันผวนสูง การพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาดที่มีการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมและมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงและได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย มีผลกระทบในทางลบต่อการจัดการศึกษาเพื่อประชาชนไทยส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็สะท้อนว่าการจัดการศึกษาของไทยเท่าที่ผ่านมายังไม่มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพมากพอที่จะไปแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้

Read the rest of this entry »

 

ีรายงานสภาวะการศึกษาไทยปี2551-2552


ขอเรียนเชิญทุกท่านแขกผู้มีเกียรติ และผู้สนใจทั่วไป  เข้ารับฟังการสัมมนาวิชาการ  รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2551-2551 โดยท่านรศ.วิทยารกร เชียงกูล  คณบดีมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ซึ่งดำเนินการจัดงานโดยสภาการศึกษา  ณ  โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น.เป็นต้นไป

 

การเมืองใหม่ต้องสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ด้วย


จะสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ ต้องรู้จักคิดนอกกรอบ

วิกฤติเศรษฐกิจโลกตกต่ำ มีสาเหตุมาจากโครงสร้างของระบบทุนนิยมโลกซึ่งมีลักษณะผูกขาดกลุ่มโดยบริษัท ข้ามชาติและนายทุนใหญ่ ทำให้นายทุนและชนชั้นกลางส่วนน้อยรวยขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ยากจน ขาดกำลังซื้อ จึงเกิดความไม่สมดุล นายทุนผลิตสินค้าได้มาก แต่ขายได้น้อย คนไม่มีปัญญาซื้อบ้านและอื่น ๆ เกิดหนี้เสีย สถาบันการเงินและบริษัทต่าง ๆ ล้มหรือลดการผลิต คนตกงาน ธุรกิจและเศรษฐกิจตกต่ำ

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , ,