RSS

Category Archives: ฉันจึงมาหาความหมาย

มองสังคมไทยผ่านหนังสือ “ฉันจึงมาหาความหมาย”


มองสังคมไทยผ่านหนังสือ “ฉันจึงมาหาความหมาย”

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล

“ฉันจึงมาหาความหมาย” คือ ชื่อหนังสือรวมเรื่องสั้น บทละครสั้น และบทกวี ของผู้เขียน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 41 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2514)

และพิมพ์ครั้งที่ 18 โดยสำนักพิมพ์สามัญชน เมื่อเร็วๆ นี้ ฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุดได้รวมเรื่องแต่งยุคหลังจากผู้เขียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว (2512-2527) และเคยพิมพ์เป็นเล่มต่างหากชื่อ “ฝันของเด็กชาวนา” ไว้ด้วย เพราะเห็นว่าเป็นงานต่อเนื่องกัน และการแสวงหาความหมายเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ใช่เฉพาะช่วงการเป็นนักศึกษาปริญญาตรีเท่านั้น
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: ,

ฉันจึงมาหาความหมาย พิมพ์ครั้งที่ 18


This slideshow requires JavaScript.


        ฉันจึงมาหาความหมาย พิมพ์ครั้งที่18 (ปรับปรุงใหม่) กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งรศ.วิทยากร เชียงกูล ส่งมาให้ด้วยตัวท่านเอง “ฉันจึงมาหาความหมาย”หนังสือซึ่งเป็นที่มาของการพานพบกับท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ตัวเป็นๆ และหนังสือซึ่งเป็นที่มาของ “ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล”  

เริ่มเขียน blog และโพสต์เกี่ยวกับงานหนังสือที่ชื่นชอบ…จนกระทั่ง..ได้เจอกับท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ตัวจริง…และได้มีชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล..ซึ่งท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ได้ให้เกียรติกรุณาตั้งชื่อของชมรมฯให้แก่ดิฉัีน,เพื่อน และน้องๆ ในชมรมฯ ที่ชืนชอบผลงานของท่าน…หนังสือเล่มนี้ และหนังสือทุกประเภทให้คุณค่าแก่ชีวิตมากมายเพียงใด…ถ้าท่านสมาชิกสงสัย รึอยากอ่านและศึกษางานเขียนเล่มนี้อย่าลืมหาซื้ออ่านได้ที่แผงหนังสือใกล้บ้านท่านนะค่ะ …และท่านจะรู้ทำไม…ฉันจึงมาหาความหมาย..

 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/82598

https://witayakornclub.wordpress.com/ 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/82598

 

ป้ายกำกับ: , ,

วิทยากร เชียงกูลกับ 20 ปีของ “ฉันจึงมาหาความหมาย”


จากคอลัมภ์ “ชีวิตและลีลา”
ในหนังสือพิมพ์ “ผู้จัดการรายวัน”
ฉบับประจำวันที่ 14-15 ธันวาคม 2534

เป็นยามบ่ายแก่ๆ ของวันหยุดอันสงบหนาวแถบสวนผักตลิ่งชัน กลิ่นอายของพืชพรรณและผืนดินครอบคลุมผสานกับบรรยากาศกันเอง ผู้จัดการรายวันจึงเริ่มต้นคำถามแรก

* กับงานวรรณกรรม อาจารย์เริ่มต้นอย่างไรและงานที่ทำออกมาแล้ว มีอะไรบ้าง

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , , , , ,

ช่วงที่ผมไป “หาความหมาย” ที่ธรรมศาสตร์


    วิทยากร เชียงกูล
ทำไม “ฉันจึงมาหาความหมาย”

ผมเรียนธรรมศาสตร์ ช่วง ปี 2508-2512 ในคณะเศรษฐศาสตร์ ก่อนที่ผมจะเลือกว่าจะเรียนต่อที่ไหนดีนั้น ผมรู้จักมหาวิทยาลัยต่างๆน้อยมาก การศึกษามัธยมในสมัยนั้นไม่มีการแนะแนวเรียนต่อ ขนาดผมอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ใหญ่ทันสมัยโรงเรียนหนึ่งในกรุงเทพฯ ผมก็รู้เพียงแต่ว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คือ จุฬ่า และธรรมศาสตร์  แต่ก็ไม่รู้อะไรมากไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยสมัยนั้นก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีชื่อเสียงทางวิชาการ หรืออย่างน้อยก็ไม่มีข่าวคราวทางด้านวิชาการ สิ่งที่คนรู้จักเกี่ยวกับจุฬา และธรรมศาสตร์มากที่สุด คือ งานฟุตบอลประเพณี เพราะเป็นงานใหญ่ระดับชาติที่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์มากจริงๆ

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , ,

ทางออกจากปัญหาวิกฤติของชาติ (ปก)


*ผลงานชิ้นนี้อาจารย์วิทยากร เชียงกูล ได้เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2542 ท่านสมาชิกหรือผู้สนใจท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมให้แจ้งมาทางเว็บไซต์ได้เลยค่ะ*

 

ทางออกจากปัญหาวิกฤติของชาติ

วิทยากร  เชียงกูล 
 


 
 
 
 
 

รูปภาพ 
 
 
 
 

รวมพลังสร้างสรรค์ความเป็นไท  เป็นธรรม  และคุณภาพชีวิตยั่งยืน

 


 *งานชินนี้เป็นรายงานการวิจัยของอาจารย์วิทยากร เชียงกูล  เกี่ยวกับปัญหาความยากจนของคนไทย*

[ABSTRACT]

SUSTAINABLE   APROACH  FOR  SOLVING  PROBLEMS  OF THE POOR

Mr.Witayakorn  Chiengkul 

      The main stream economists defining  The poor as those who has income below income poverty line [based on human basic minimum needs] is  too narrow and led to early-presumed conclusion that since Thailand  has implemented the pro-growth market oriented development plan in 1961 up  to 1996, percentage of the poor has reduced progressively.  So the solutions of the poverty problem in their view should be to promote more pro-growth  market oriented investment which is misleading

      In reality, this kind of pro-growth development policy in the already unjust Thai socio-economic structure led to increasing income gap among the 20%  richest and the 80% poorest group and increse number and percentage of the majority poor who do not only has relatively less wealth and purchasing power but has absolutely less natural and social capital or access to self sufficient  food  production as well.

      To find more  sustainable solution, we need to have broader perception of poverty causes and  solutions than the mainstream pro-growth  market oriented view.

      Alternative  view claim that poverty  is  caused  by Thai political, economic and social structure and pro-growth market oriented policy that worsen the environment, disitibution of wealth, income, and other social  opportunitites among the peoples.

      The poor should be measured by many combined faxtors rather than the earnd cash. For  those farmers who still have high  proportion of self-sufficient  farming [have their  own  rice as principal food]  they  are in need of cash less than more marketed oriented farmers.  Measurement of the non-poor [VS. poor] are such as proper house, occupation or the mode of earning a living, mode of   living, ability to join community activities and stability in family institution.

      The main causes that make some one poorer are the lack of land and capital due to the unequal  distribution of new clearance land by the central and local  authority and many  cases by new public  projects such  as large  reservoirs and dams that make peasants lost their land without fair compensation.

      Poverty at village level involve geo-economic position of the will age, water  supply, access to natural  resources, market and other communications, the level of economic and social capital  accumulation, access to earning in non-agricultural sector.

      Therefore, we have to view “poverty” as the structural poverty in term of deprivation of economic, political and social  rights and opportunities.

      To  find the solutions for eradication of poverty, one need a radical structural economic and social reforms for fairer distribution of wealth, income, education and other social  access as well as balanced and sustainable social development policy. 

 

วิทยากร เชียงกูล ผู้สร้างอุดมการณ์แห่งการต่อสู้


วิทยากร

วิทยากร เชียงกูล ผู้สร้างอุดมการณ์แห่งการต่อสู้

เหตุเกิดจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับสายลมผู้โชคดี  โชคดีแบบที่ไม่เคยคิดฝันมาก่อนในชีวิตของสายลม
ผมได้มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมคารวะท่านผู้อาวุโส ที่เก่งและมากด้วยความรู้และความสามารถของท่าน ท่านผู้นี้คือ  อ.วิทยากร เชียงกูล  ครับ
ความประทับใจและไมตรีของท่านอาจารย์ สายลมจะไม่มีวันลืมครับ
และที่สำคัญ มีคำพูดประโยคหนึ่งที่สายลมได้บอกความในใจกับท่านอาจารย์ว่า ” บทกวีของท่านอาจารย์ มีอิทธิพลกับชีวิตของสายลมอย่างมากมายมหาศาล “ และที่กล่าวมานั่นคือความจริงจากหัวใจของนายสายลมผู้นี้ครับ
………………………..เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน   บทกวีบทนี้สายลมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้สัมผัสถึงความรู้สึกบางอย่าง เมื่อได้อ่านบทกวีบทนี้ สายลมก็เช่นกันครับ                               ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
                               ฉันจึง มาหา ความหมาย
                               ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
                               สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
ในห้วงของการต่อสู้ทั้งกับความรู้สึกภายในตัวเองและกระแสสังคมอันเชี่ยวกราก การถาโถมของกระแสสังคมความคิดที่มุ่งมองแต่ตัวเองเป็นหลัก การเสียสละเป็นเรื่องไกลตัว  ในช่วงที่สายลมเป็นนักศึกษา และเรียกตัวเองว่า นักกิจกรรม ถือได้ว่าบทกวีบทนี้มีผลต่อชีวิต ตั้งแต่วันแรกที่ได้อ่านจากปกหลังของสมุดค่ายจนถึงทุกวันนี้ยังคงจดจำได้ขึ้นใจ เป็นการเริ่มต้นความคิดที่จะสร้างสรรค์สังคม ให้อุดมและงดงาม ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา…………………….

มีหลากหลายสิ่งอยากจะสื่อสารให้ผู้คนได้รับรู้
มีมากมายหลายอย่างอยากจะบอกกับคนทุกคน
………………………
เรายังหวัง  จะทำดี
สร้างสรรค์สังคม ให้อุดม และงดงาม
                           เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง………หรือจึงมุ่งมาศึกษา 
                     เพียงเพื่อปริญญา  …………เอาตัวรอดเท่านั้นฤๅ
                     แท้ควรสหายคิด     …………และตั้งจิตร่วมยึดถือ
                     รับใช้ประชาคือ    …………….ปลายทางเราที่เล่าเรียน

………………………..

และอีกมากมายในความรู้สึกครับ
โอกาสดีดี สายลมเย็น ๆ จะมาบรรยายความรู้สึกอุ่น ๆ ให้อิ่มเอมกันนะครับ
ขอบคุณพี่หนูนิดครับที่ทำให้ สายลมได้มาเยี่ยมคารวะท่านอาจารย์วิทยากร เชียงกูล ในดวงใจของสายลม

 

จะปฏิรูปการเมืองได้ต้องปฏิรูปการศึกษาและวิทยุโทรทัศน์อย่างเร่งด่วน


บทความ 

จะปฏิรูปการเมืองได้ต้องปฏิรูปการศึกษาและวิทยุโทรทัศน์อย่างเร่งด่วน 

วิทยากร เชียงกูล วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต 

      เราควรมองการปฏิรูปเมือง ในความหมายกว้างว่า ต้องเพิ่มอำนาจต่อรองและการบริหารจัดการของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในเรื่องทางเศรษฐกิจ และสังคมด้วย ไม่ใช้แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการจัดการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น 

      การเลือกตั้งเป็นเพียงวิธีการ เลือกผู้แทนมาบริหารจัดการประเทศ ประชาธิปไตยจะต้องรวมถึงประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น มีการกระจายทรัพย์สินรายได้ การศึกษา และสถานะทางสังคม ที่ค่อนเป็นธรรมด้วย ถ้ามีการเลือกตั้งแต่ละประเทศยังประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม ก็จะเป็นแค่ประชาธิปไตยจอมปลอม เป็นเผด็จการทางรัฐสภา(และสถาบันการเมืองส่วนประกอบอื่นๆ ) ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีบทบาทแท้จริง  

      ดังนั้นรัฐบาลและประชาชนอย่าไปเสียเวลากับการคิดร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว รัฐบาลไม่ควรคิดว่าจะบริหารประเทศเพื่อความสมานฉันท์เท่านั้น ต้องคิดใหม่ว่าจะต้องปฎิรูปการเมืองหรือสังคมทั้งหมดอย่างไร จึงจะป้องกันระบอบทักษิณหรืออะไรที่คล้ายกันกลับมาได้อีก รัฐบาลไม่ควรคิดว่าการอยู่แค่1ปี คงเป็นแค่รักษาการ ทำอะไรไม่ได้มาก ต้องคิดใหม่ว่า นี่เป็นรัฐบาลพิเศษที่เกิดในสถานะการณ์ที่มีปัญหาวิกฤติ รัฐบาลต้องรีบทำงานแบบผ่าตัดปฏิรูปประเทศให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อย่าแค่ทำให้เสร็จไปวันๆแบบเก่า 

      ในวาระที่ควรถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างเร่งด่วนคือ การปฎิรูปการศึกษาและสื่อมวลชนในเชิงคุณภาพอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ ฉลาด มีจิตสำนึก รู้เท่าทันระบอบทุนนิยม ระบอบขุนนาง และทุกระบอบที่ครอบงำเอาเปรียบประชาชน 
 
 
 
 

      การปฏิรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด ไม่ใช่การทำงานแบบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือใส่อะไรเข้ามาใหม่แบบเล็กๆ น้อยๆ การปฎิรูปการศึกษาที่พูดกันมา 6 ปี แล้วไม่ก้าวไปไหน เพราะ เปลี่ยนแค่โครงสร้างองค์การบริหาร กระทรวงศึกษา แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงนโยบาย การบริหาร แนวคิดและพฤติกรรม ผู้บริหารและครูอาจารย์ ไม่ได้เปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนจากการบรรยายแบบท่องจำให้เป็นการสัมนาที่จะช่วยให้ผู้เรียนรักการอ่าน คิดวิเคราะห์สังเคราะห์เป็น (สกศ.รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2547 /2548 รากเหง้าของปัญหาและทางแก้ไข)

      ต้องปฏิรูปครูอาจารย์ก่อนอื่น

      การจะปฏิรูปการศึกษาได้ ต้องกล้าลงมือผ่าตัดปฏิรูป แนวคิดและพฤติกรรมของบุคคลากร ตั้งแต่ผู้บริหารในกระทรวง ไปถึงครูอาจารย์ทั้งประเทศอย่างจริงจัง เพราะคนเหล่านี้ยังเป็นอุปสรรคในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย ประเด็นสำคัญคือต้องเปลี่ยนแปลงตัวครูอาจารย์ให้มีปัญญาและความรักในวิชาการที่จะสามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอน จากการบรรยายให้ผู้เรียนจดท่องจำ เป็นการชี้แนะแบบให้ผู้เรียนรักการอ่านการเรียนรู้ วิเคราะห์ ทดลอง พิสูจน์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้เป็น เราจึงจะปฎิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพได้ 

      เราจะต้องทำให้ครูอาจารย์รักการอ่าน การเรียนรู้ คิดวิเคราะห์เป็นให้ได้เสียก่อน ถ้าครูเก่าบางคนทำไม่ได้ ก็ต้องหาครูใหม่มาทดแทน ต้องมีการประเมินครูอาจารย์ อย่างตรงกับความเป็นจริงและอย่างมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น ประเมินจากการซักถาม ผู้เรียน ผู้ปกครอง ดูผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน การซักถามครูอาจารย์ การทดสอบประเมินความรู้ของครูอาจารย์ และหลังจากนั้นต้องมีการจัดการศึกษาเชิงสัมนาปฎิบัติการให้กับ ครูอาจารย์ที่ล้าหลังอย่างเข้มข้น รวมทั้งการคัดเลือกส่งครูอาจารย์ไปเรียน หลักสูตรใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดความรู้และแนวคิดใหม่จริงๆ  ไม่ใช่สักแต่ประเมินครูอาจารย์จากตัวรายงาน ไม่ใช่แค่การจัดฝึกอบรมแบบให้ครูมานั่งฟังบรรยาย แต่จะต้องหาวิธีทำให้ครูอาจารย์ต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดและพฤติกรรมให้เป็นครูอาจารย์ที่รักวิชาการมากขึ้นและสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 

      ส่วนหนึ่งก็ควรให้ครูอาจารย์ที่ไม่ผ่านการประเมิน เกษียนก่อนอายุครบ60ไป และรับครูอาจารย์ใหม่ๆที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีคุณภาพ ปรับโครงสร้างเงินเดือนค่าตอบแทนครูอาจารย์ทั้งระบบ และชักชวนผู้มีความรู้สาขาต่างๆที่มีแนวคิดทันสมัยสมัครเข้ามาเป็นครูอาจารย์ทั้งประจำและพิเศษ โดยเปลี่ยนระบบการจ้างให้ยืดหยุ่นและให้ค่าตอบแทนสูงมากขึ้น เพื่อที่จะจูงใจให้คนเก่งๆเข้ามาช่วยสอนเพิ่มขึ้นปัญหางบประมาณควรแก้ด้วยการออกพันธบัตรเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เพราะเป็นการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนได้แน่ในระยะยาว

      ปฏิรูปสื่อและการศึกษานอกระบบ

      ควรทุ่มเทงบประมาณและกำลังคนที่เก่งๆเข้าไปปฎิรูปการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างขนานใหญ่ เพื่อทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีโอกาสได้เรียนรู้ ฉลาด มีจิตสำนึก รู้เท่าทันระบอบทักษิณ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก และปัญหาอื่นๆ ที่พลเมืองสมัยใหม่ควรจะได้รู้ รณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศตื่นตัวว่าประเทศเรามีวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจก็ เพราะประชาชนยังได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารที่ต่ำกว่าเปรียบเทียบกับพลเมืองของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมาก การศึกษาไม่ไช่แค่การเรียนในห้องเพื่อสอบเอาประกาศนียบัตร แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนทั้งประเทศ และประชาชนต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอด้วย คนถึงจะพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพ และประเทศเข้มแข็ง  

      ปัจจุบันองค์กรธุรกิจสมัยใหม่เริ่มตระหนักว่า จะแข่งขันกับคนอื่นได้ ต้องทำให้คนทั้งองค์กรได้เรียนรู้ร่วมกัน เป็นองค์กรที่เรียนรู้อยู่เสมอ (Learning Organization ) ประเทศชาติก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นประเทศชาติที่เรียนรู้ (Learning Nation ) ด้วย ไม่อย่างนั้น นอกจากประเทศไทยจะแข่งขันสู้ใครเขาไม่ได้ แค่จะแก้ปัญหาอยู่ให้รอดก็ทำได้ยาก 

      สิ่งสำคัญที่ต้องปฏิรูปคู่กันคือสื่อมวลชน(วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ของประชาชนมากเช่นกัน บางทีจะมีอิทธิพลมากกว่าโรงเรียนเสียอีก เรามักไปคิดว่าสื่อมวลชนเป็นเรื่องของการขายสินค้าข่าวสาร ความบันเทิง ที่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของธุรกิจเอกชน ตามกลไกตลาด แต่สื่อมวลชนเป็นสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ที่มีผลกระทบต่อความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ความคิดความเชื่อของประชาชนสูง ที่ภาครัฐควรต้องดูแลส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและประชาชนเข้าถึงได้ทั่วกันโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำ  

      การปล่อยให้การผลิตและการบริโภคสื่อขึ้นอยู่กลไกตลาด ทำให้วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือของระบบทุนนิยมโลก ที่มุ่งการโฆษณาสินค้าและความบันเทิงแบบมอมเมา เพื่อจูงใจให้คนแก่งแย่งแข่งขัน มีค่านิยมเห็นแก่เงิน และการบริโภค มุ่งหากำไรเอกชนให้ได้มาก ไม่ได้สนใจจะให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างพลเมืองดี การร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา และพัฒนาประเทศชาติ แถมยังมอมเมาเด็กและเยาวชนให้ชอบความรุนแรง หมกหมุ่นเรื่องเพศ การสูบบุหรี่ดื่มเหล้า และค่านิยมเลวร้ายอื่นๆ ที่สร้างความเสียหายร้ายแรงอย่างมาก 
 
 
 

      รัฐบาลควรรีบดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์(กสช)โดยคัดเลือกคนที่มีความรู้ มีความคิดเชิงปฏิรูป ที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน มาทำงานปฏิรูปจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่และส่งเสริมการปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างจริงจัง สื่อภาครัฐหรือที่รัฐที่ถือหุ้นใหญ่อย่าง อสมท. ก็ควรจะปฏิรูปใหม่ โดยเน้นการเสนอรายการที่มีคุณภาพ ยกระดับความรู้ ศิลปวัฒนธรรมของประชาชน มากกว่าเน้นกำไรทางธุรกิจ ซึ่งได้แค่ตัวเงินไม่เท่าไร แต่การทำสื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อช่วยการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของประชาชนทั้งประเทศเป็นประโยชน์สูงกว่าเงินกำไรและค่าสัมปทานที่เอกชนเช่าไปหลายพันเท่า 

      รัฐบาลใช้งบประมาณการศึกษาปีละราว 2 แสนล้านบาท แต่ยังพัฒนาคุณภาพประชาชนได้น้อย เราควรใช้วิทยุโทรทัศน์ที่เป็นสมบัติของส่วนรวม เพื่อช่วยให้ประชาชนฉลาดและมีรสนิยมทางศิลปวัฒนธรรมที่สูงขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้เอกชนเช่าผลิตรายการเพื่อความบันเทิงและเพื่อขายสินค้า ถ้ารัฐบาลไม่ฉลาดพอที่จะช่วงชิงโอกาสผ่าตัดปฏิรูปการศึกษาและสื่อให้ได้ในช่วงรัฐบาลชุดนี้ ถึงจะเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีแค่ไหน ก็คงจะปฏิรูปการเมืองไม่สำเร็จ เพราะนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ยังถูกมอมเมาอยู่ การเลือกตั้งคราวหน้า ระบอบทักษิณหรือ ระบอบอะไรคล้ายๆ กันก็คงกลับมาอีก.

 


เพลงเถื่ภ??

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทำไมฉันจึงมาหาความหมาย


กลภ??3

 

60 ปี วิทยากร เชียงกูล 40 ปี ฉันจึงมาหาความหมาย


0 ปี ฉันจึงมาหาความหมาย

Beauty is in the eye of beholder’ หากวลีที่ว่านี้ยังเป็นจริงฉันใด… การให้ความหมายต่อสิ่งที่ผันผ่านเข้ามาในชีวิตคนเราก็ย่อมแตกต่างกันได้ฉันนั้น ยิ่งในวันวัยหนุ่มสาวห้าวหาญที่ถูกท้าทาย ทดสอบจากห้วงคับแค้นเผด็จการอยุติธรรมด้วยแล้ว การค้นหาความหมายของชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยจึงไม่ใช่ไขว่คว้ากระดาษหนึ่งแผ่น
เพื่อความก้าวหน้าทางการงานเฉกเช่นหนุ่มสาวทุนนิยมอย่างแน่นอน

“ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว”

4 วรรคทองของบทกวี ‘เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน’ ที่นักศึกษาปี 3 เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ‘วิทยากร เชียงกูล’ รังสรรค์ขึ้นตั้งแต่ปี 2511 ไม่เพียงเผยสารัตถะสำคัญของนักศึกษาและมหาวิทยาลัยที่ขาดหายไปในช่วงก่อน 14 ตุลาเรื่อยมากระทั่งปัจจุบันได้เท่านั้น หากยังรัดร้อยแรงบันดาลใจหนุ่มสาวต่างยุคสมัยเข้าไว้ได้ด้วยกันอย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะหมุดหมายปลายฝันชีวิตนักศึกษาที่ไม่ได้สุดสิ้นแค่รับปริญญาบัตร!

เกี่ยวเก็บแรงบันดาลใจ

จริงทีเดียวที่กวี นักเขียน ศิลปิน มักอาศัยความทดท้อสิ้นหวังมาสรรค์สร้างผลงานเลิศล้ำที่เปลี่ยนแปลงโลกทัศน์
ทั้งในระดับปฏิบัติและจิตวิญญาณของผู้เสพงานศิลป์ ดังพลังเพลงเถื่อนแห่งสถาบันที่ผันพลิกชีวิตหนุ่มสาวไม่น้อยทั้งในห้วง
อดีตและปัจจุบันให้ลุกขึ้นมาตั้งคำถามอย่างเคร่งครัดในความหมายแห่งชีวิต
และสังคมก็ถ้อยถักมาจากความหมดอาลัยตายอยากหลังก้าวเท้าเข้ามหาวิทยาลัยได้แค่ 3 ปีของคนหนุ่มผู้มุ่งมาดความดีงามอันแตกต่าง

“เขียนตอนเรียนปี 3 เริ่มเบื่อมหาวิทยาลัย เพราะคาดหมายสูงว่ามหาวิทยาลัยคงมีสติปัญญามาก สอนดี บรรยากาศวิชาการ แต่พอเข้าไปกลับไม่ต่างจากโรงเรียนมัธยมมากนัก เลยใช้เวลาอ่านหนังสือเองเยอะ และแม้ธรรมศาสตร์จะไม่มีการรับน้องใหม่ แต่ช่วงนั้นนักศึกษาก็ชอบทำกิจกรรมฟุ้งเฟ้อ งานเต้นรำ ศิษย์เก่า รวมถึงทุ่มเทเวลาเตรียมกีฬาฟุตบอลประเพณี ซ้อมเพลงเชียร์ทั้งปี”

วิทยากรย้อนรอยแรงบันดาลใจในการเรียงร้อยบทกวี ก่อนขยายว่า ด้วยมีเพื่อนเป็นชาวนาและความที่ตัวเองเป็นชนชั้นกลางในตัว อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ที่เข้ามาเรียนเศรษฐศาสตร์ในเมืองกรุง จึงมองเห็นปัญหาทั้งฟากนักศึกษาที่ไม่ตื่นตัวทางสังคม ขณะฝั่งชาวบ้านก็ยากจนข้นแค้น รอคอยความหวังว่านักศึกษาเหล่านั้นเมื่อจบไปแล้วจะมาช่วยกันพัฒนาประเทศ
เพื่อคลี่คลายคุณภาพชีวิตพวกเขา

ถึงแม้ช่วงนั้นจะยังไม่สนใจการเมืองมากนัก แต่ตื่นตัวทางสังคมแล้ว รู้สึกว่าสังคมต้องการการพัฒนาเพื่อพ้นไปจากความเหลื่อมล้ำต่ำสูง
ที่ถ่างกว้างมาก โดยเฉพาะมิติทางการศึกษาที่เสมือนเปิดกว้างเฉพาะคนรวย การเย้ยหยันแบบคนหนุ่มในวรรค ‘จะให้พ่อขายนามาแลกเอา’ จึงสะท้อนค่านิยมของนักศึกษาสมัยนั้นว่าต่อให้ต้องจ่ายสูงอย่างไร พวกเขาก็พร้อมขอเพียงให้ได้ใบปริญญามา ทั้งๆ ที่ช่วงเวลานั้นพวกเขาสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้วยการอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้มากมาย ดังสะท้อนชัดผ่าน 4 วรรคท้ายสุดของกวีบทเดียวกันนี้

‘ดอกหางนกยูงสีแดงฉาน บานอยู่เต็มฟากสวรรค์
เกินพอให้เจ้าแบ่งปัน จงเก็บกันอย่าเดินผ่านเลยไป!’

“หากอ่านทั้งชิ้น จะพบว่าไม่ได้มีแค่ความหมายใน 4 วรรคที่คนชอบโค้ดกันมากเท่านั้น เพราะยังพูดถึงดอกหางนกยูงในท่วงทำนองความสวยงามของชีวิตที่จักต้องเก็บเกี่ยวด้วย” วิทยากรเผยหนึ่งความหมายที่ปรารถนาสื่อออกไป แต่สังคมกลับไม่ค่อยรับรู้

อย่างไรก็ตาม แม้จะสะท้อนความผิดหวังในระบบมหาวิทยาลัยและสังคมเหลื่อมล้ำได้ถึงแก่น แต่ห้วงยามนั้นยังมีนักศึกษาไม่มากคนนักที่ซึมซับความหมายลุ่มลึกของกวีบทนี้ เพราะถึงจะตีพิมพ์ตั้งแต่ 27 มิถุนายน 2511 ในหนังสือพิมพ์ยูงทองของคณะวารสารฯ แล้วนำมาแจกในงานวันครอบรอบสถาปนามหาวิทยาลัย ก็ยังไม่ค่อยมีนักศึกษาสนใจใคร่อ่านมากนัก

ต้องรอจนกระทั่งพิมพ์รวมเรื่องสั้นและบทกวีชื่อ ‘ฉันจึงมาหาความหมาย’ ครั้งแรกในปลายปี 2514 ที่ประจวบเหมาะกับกระแสต้านเผด็จการในหมู่นักศึกษาหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลานั้น บทกวีนี้จึงโดดเด่น ‘โดน’ ใจพวกเขามหาศาล จนกลายเป็นปรากฏการณ์ถีบตัวเองอย่างเร่งร้อนออกจากความคับแคบของ
ตำรับตำราในหมู่นักศึกษาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วราวห่วงโซ่แห่งเกลียวคลื่น ก่อนถั่งโถมท่วมท้นเป็นมหาสมุทรมหาชนช่วง 14 ตุลาคราขับไล่เผด็จการ

ถึงแม้การเคลื่อนไหวภาคประชาชนคราวนั้นจะไม่ใช่ผลพวงทั้งมวลของกวีบทนี้ ทว่าความพึงพอใจในหนุ่มสาวส่วนใหญ่ภายหลังอ่านบทกวีชิ้นนี้ ก็ยากจะปฏิเสธว่าวรรคสั้นๆ อย่าง ‘ฉันจึงมาหาความหมาย’ กลายเป็นเสี้ยวส่วนสำคัญในการอ้างอิง เอื้อนเอ่ย อวดอ้าง หรือแค่พลิกผ่านประวัติศาสตร์วันมหาวิปโยคไปเสียแล้ว

“เสียงตอบรับช่วงนั้น อาจารย์บางคนก็เห็นว่าเขียนแรง ขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอ่าน ส่วนคนที่อ่านก็พอใจ เพราะเหมือนเขียนแทนใจเขาว่าไม่ใช่มาเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อเอาปริญญาอย่างเดียว ยิ่งช่วงหลัง 14 ตุลา นักศึกษาตื่นตัวมาก รุ่นพี่ก็เอาหนังสือฉันจึงมาหาความหมายให้น้องอ่าน บางปีธรรมศาสตร์ก็ติดป้ายขนาดใหญ่ที่เขียน 4 วรรคนี้ไว้ต้อนรับนักศึกษาใหม่เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาหัดตั้งคำถาม ขณะที่ครูก็เอาไปให้เด็กมัธยมอ่านอีกต่อหนึ่ง” วิทยากรเผยคุณค่าจากรุ่นสู่รุ่น ก่อนเน้นว่าช่วงตื่นตัว จำนวนผู้อ่าน กลุ่มนักศึกษาที่ขอไปจัดพิมพ์ และจำนวนครั้งการพิมพ์จะสูง

แรงบันดาลใจจากความผิดหวังในรั้วสถาบันการศึกษาและสังคมที่ถ้อยถักผ่านกวีบทน
ี้จะว่าไปแล้วมีความร่วมสมัยค่อนข้างมากทีเดียว ด้วยแรงปรารถนาที่จะสร้างสรรค์สิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ และมนุษยธรรมของคนรุ่นนั้นที่สะท้อนผ่านตัวอักษร ไม่ต่างจากความหนักแน่นของหนุ่มสาวปัจจุบันผู้พิสมัยการแสวงหาความหมายแห่งชีวิต
บนฐานรากการนับถือตัวเองสักเท่าใดนัก เหนืออื่นใดไม่ว่าเวลาจะทอดตัวนานเนิ่นเพียงใด การเกี่ยวเก็บความหมายบนรายทางชีวิตของผู้แสวงหาก็จะยังคงเข้มข้นไม่เลือกวัยสดใสหรือร่วงโรย ดังเข็มไมล์ในชีวิตที่ขยับเลยทศวรรษที่ 6 ไปแล้วของผู้ประพันธ์กวีบทนี้


6 ทศวรรษการแสวงหา

แม้เพลงเถื่อนแห่งสถาบันจะยังมีอายุไม่ครบ 4 ทศวรรษ ทว่าถ้านับห้วงแสวงหาความหมายในรั้วมหา’ลัยของวิทยากรแล้ว จะพบว่าเกินไปแล้ว 1 ปีด้วยซ้ำ เพราะนับแต่เขาเข้าเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ในปี 2508 สายธารการเป็นนักเขียนผู้มุ่งมั่นค้นหาความหมายก็ฉายชัดตั้งแต่นั้นแล้วจากผลงาน
ในกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวและชมรมวรรณศิลป์ ที่คู่ขนานมากับสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ที่เปิดเวทีแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ แสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์ภายใต้ฉากหลังการต่อต้านสงครามเวียดนามโดย
เยาวชนคนรุ่นใหม่ในต่างประเทศที่เป็นเชื้อไฟให้พลังนักศึกษาไทยพวยพุ่ง

ช่วงแรกแสวงหาความหมายในชีวิต ยังไม่ใช่เรื่องการเมือง เริ่มตั้งคำถามในเชิงสังคมว่าจบไปแล้วทำอะไร ไม่ใช่แค่หางานทำไปวันๆ ชีวิตน่าจะมีความหมายมากกว่านี้ มหาวิทยาลัยน่าจะดีกว่านี้ ที่สำคัญจะทำอย่างไรให้นักศึกษาเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพื่อจะได้สนใจปัญหาอื่นๆ ตามมา” วิทยากรนิยามยุคแสวงหา พลางสำทับว่า เพลงเถื่อนแห่งสถาบันประหนึ่งกระบอกเสียงและใบเบิกทางสำหรับหนุ่มสาว
ยุคแสวงหาที่วาดหวังสังคมดีงาม ทว่ายังหวาดกลัวความเดียวดาย หากเปิดเผยตัวตนออกมา

ครั้นคล้อยหลัง 14 ตุลาไม่นาน บทกวีชิ้นนี้ได้รับการกล่าวขานมากมายในฐานะหนึ่งแรงบันดาลใจที่นำไปสู่
ู่การลุกขึ้นสู้ของขบวนการนิสิตนักศึกษา จนหลายครั้งตัวผู้เขียนเองยังถูกเหมารวมเป็นคนเดือนตุลา ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นรุ่นก่อนหน้านั้นเล็กน้อย

รู้สึกเราเป็นส่วนหนึ่งของ 14 ตุลา แม้ว่าเวลาที่เราคิด ทำ จะไม่ได้คิดว่ามีอิทธิพลอะไรต่อสังคม เพียงแต่เป็นเรื่องของจังหวะทางประวัติศาสตร์ หรือแล้วแต่ความสอดคล้องของอารมณ์ หลายคนบอกเหมือนในใจเขาเลย เขาอยากเขียนแบบนี้ แต่ไม่ได้เขียนออกมา เหมือนเราเขียนแทนคนอื่นและเพื่อนฝูง” วิทยากรถ่ายทอดความรู้สึก

ยิ่งกว่านั้น ถ้อยความจากบทกวียังสอดคล้องกับปรากฏการณ์ในรั้วมหา ’ ลัยไทยปัจจุบันหลายมิติแม้เวลาจะล่วงเลยมามากแล้วก็ตาม ดังปรากฏชัดผ่านการแห่แหนกันเรียนปริญญาโทและเอก ขณะที่นักศึกษาก็ฟุ้งเฟ้อ รวมถึงระบบการศึกษาก็ยังสอนแบบท่องจำ แม้จะมีพัฒนาการด้านวิชาการมากขึ้น แต่ก็เน้นหนักที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การมองปัญหาสังคมแบบองค์รวมจึงน้อย

นักศึกษาที่ไม่รักการอ่านจึงเลี่ยงไม่พ้นต้องตกเป็นเหยื่อการศึกษาแบบเน้น
ปริมาณมากเข้าว่าเพื่อนำไปรับใช้ระบบทุนนิยม คุณภาพเลยต่ำ อีกทั้งส่วนมากยังเป็นลูกคนชั้นกลาง การจะหลอมรวมพลังดังสมัยก่อนคงยาก แม้จะมีเคลื่อนไหวอยู่บ้าง แต่ก็น้อยนัก

ใช้ชีวิตด้วยการอ่านหนังสือเยอะและหลากหลาย สนใจวรรณกรรมตั้งแต่เด็ก อ่านภาษาไทยหมดแล้ว เรื่องแปลก็มีน้อย จึงต้องไปอ่านภาษาอังกฤษ หลังจากอ่านวรรณกรรมดีๆ เหล่านั้นแล้ว ก็ทำให้อยากรู้ประวัติศาสตร์และปรัชญา เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่เข้าใจ หรือถ้าเป็นเศรฐศาสตร์การเมืองก็ต้องศึกษาเรื่องสังคมวิทยาด้วย จึงทำให้เก็บเกี่ยวความรู้และมีมุมมองที่แตกต่าง บวกกับการได้คุยกับคน เที่ยวต่างจังหวัดและต่างประเทศก็ทำให้มองปัญหารอบด้านมากขึ้น

6 ทศวรรษสายธารชีวิต 4 ทศวรรษความหมายที่ดั้นด้นค้นหานับแต่วัยหนุ่มของวิทยากร จะว่าไปแล้วล้วนปูอยู่บนพรมอักษรทั้งไทยและเทศที่เขารักและเคยคุ้นใน
การดำดิ่งค้นหาคุณค่าความหมายโดยไร้ทีท่าหน่ายเหนื่อย จากการอ่านในวัยเด็ก เขียนในวัยรุ่น และตกผลึกความคิดเป็นองค์ความรู้ผ่านตัวอักษรที่พร้อมเผยแพร่ในช่วงเติบใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ผ่านการทดสอบท้าทายจากความผันผวนลวงเร้าของยุคสมัย
ที่ผู้คนให้ความหมายในชีวิตแตกต่างออกไป


ยืนหยัดท้าทาย

รายทางชีวิตใช่จะโรยด้วยแดงเฉดกลีบกุหลาบเสมอไป หลายคราวร้าวรานพลัดพรากจากสถานการณ์ที่ยากคำนวณใน
ความมืดดำอำมหิตเหี้ยมโหดที่มนุษย์พึงกระทำต่อกันดังเหตุการณ์ 6 ตุลา ที่สถาปนาตัวเองเป็นความเงียบเหงาหดหู่ลึกซึ้งในจิตใจ ที่แม้เขาจะไม่ได้พานพบความอัปยศครั้งนี้ด้วยตนเองเนื่องจาก
ได้รับทุนไปฝึกวิธีการฝึกอบรมผู้สอนสหภาพแรงงานของสถาบัน
องค์การแรงงานระหว่างประเทศที่เมืองตูริน อิตาลีพอดี

พอเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ก็ไม่กล้ากลับเมืองไทย เพราะว่ามีการจับและเผาหนังสือ ซึ่งตอนนั้นเราเป็นนักเขียนหัวก้าวหน้าที่มีชื่อเสียงแล้ว แต่ขณะเดียวกันก็ไม่อยากเข้าป่า ไม่ชอบการปฏิวัติ การฆ่ากัน …ตัดสินใจลาออกจากงาน อนาคตตอนนั้นก็ยังไม่รู้จะอยู่อย่างไร แต่ภายหลังสถานการณ์ค่อยๆ เปลี่ยน จนประเมินแล้วว่าปลอดภัย ถึงกลับมา” ผู้แต่ง 1 ในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านเผยห้วงลำบากกายใจในต่างแดน พร้อมชี้ชวนให้เห็นอีกด้านของชีวิตที่ถูกระบบอุปถัมภ์และเส้นสายทำร้ายจากการลงสมัคร สว. , กสช. กระทั่งผอ.อสมท. ที่รู้ทั้งรู้ว่าต้องโดนขัดขวางแต่ก็ยังเสนอตัวเป็นทางเลือก

ความหนักแน่นในช่วงชีวิตที่ขึ้นต้นด้วยเลข 6 แล้ว ทำให้มองแต่ละปัญหาอย่างสลับซับซ้อนขึ้น ผนวกกับการผ่านยุคสมัยต่างๆ มาอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากตื่นตัวทางสังคม แล้วค่อยสนใจการเมือง เหตุการณ์ 14 ตุลาก็เข้าร่วมผลักดันประชาธิปไตย และเห็นด้วยกับสังคมนิยมเนื่องจากตระหนักว่าประชาธิปไตยแบบทุนนิยมไม่อาจช่วยประชาชน แต่ก็ไม่ถึงขั้นจับอาวุธขึ้นสู้

อายุมากขึ้น ทำให้รู้ว่าระบบการเมืองเปลี่ยนยาก ต่างจากสมัย 14 ตุลาที่ยังหนุ่ม และเชื่อมั่นว่าเราเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เปลี่ยนโลกได้ แต่หลังจากผ่านวัยนั้นไปแล้ว ก็รู้สึกว่าเราคงทำได้ส่วนเดียวเพราะพื้นฐานประชาชน ทุกวันนี้เห็นความจริงมากขึ้นจากเมื่อก่อนที่จะเป็นอุดมคต” วิทยากรลำดับขั้นเปลี่ยนแปลงในชีวิต ที่มิได้หมายถึงการทอดทิ้งความฝัน แต่ดำเนินการทุกอย่างด้วยความไม่หวือหวา ทำในสิ่งที่ทำได้ โดยเฉพาะการหันมาทุ่มเทด้านการศึกษามากขึ้นเฉกเช่นเดียวกับอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ บุคคลที่เขายกย่อง

ยิ่งกว่านั้น การหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษา จะว่าไปแล้วเสมือนการต่อยอดความฝันในการเป็นนักหนังสือพิมพ์ ตามแบบอย่างศรีบูรพา ด้วยสามารถถ่ายทอดความคิดทางการเมืองควบคู่กับ มอบความรู้ผ่านวิชาเศรษฐกิจประเทศไทย เศรษฐศาสตร์ และปรัชญาการเมืองแก่นักศึกษา ขณะเดียวกัน การวางบทบาทของตัวเองไว้แค่ผู้สนับสนุนทางความคิดแก่นักการเมืองที่คัดสรรแล้ว ก็ช่วยให้ถนนสายวิชาการที่แตกฉานตลอดมา ยังทอประกายสดใสนับแต่ทำงานแบงค์ฝ่ายวิจัย กระทั่งรับตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

แม้หลายคราจะมีคำถามกวนใจว่าทำไมเขาถึงเลือกไปเรียนต่อปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม ที่ประเทศเนเธอแลนด์หลังจากทำงานมายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งประหนึ่งจะขัดกับถ้อยคำในบทกวีที่เขาทุ่มเทหัวใจเขียนในวัยหนุ่มนั้น คำถามนี้วิทยากรไขไม่ยาก เพียงอธิบายเงื่อนไขของสถาบันระดับอุดมศึกษาที่บังคับว่า ผู้จะมาเป็นอาจารย์ต้องมีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโท นั่นก็ชัดเจนแล้วว่า เขายังคงเหนียวแน่นในความคิดที่ส่งผ่านจากช่วงปริญญาตรี ที่ก็ไม่ได้เข้าร่วมพิธีพระราชทานประกาศนียบัตร โดยอาจารย์ป๋วยก็เข้าใจการกระทำเช่นนี้ว่าคืออุดมคติที่ยึดถือ

นอกจากมุ่งเกี่ยวเก็บความรู้คู่ควบถ่ายทอดแก่คนรุ่นต่อไป ผ่านระบบการศึกษาในรั้วมหา’ลัยแล้ว การเขียนบทความ ทำงานวิจัย และรับเชิญไปพูดตามสถานที่ต่างๆ ยังทำสม่ำเสมอ แม้ช่วงวัยที่มากขึ้นจะถดถอยพลังลงไปบ้าง ทว่าความเชื่อมั่นว่าสามารถเปลี่ยนสังคมได้แม้จะไม่มากนัก ก็ยังเป็นกำลังใจให้วิทยากรยังพยายามขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่ถูกต้อง ด้วยมีความหวังจากการเปลี่ยนแปรภายหลังสิ้นสุดเผด็จการทรราช

หากจะนิยามความเป็นวิทยากร เชียงกูลในวันนี้ เขาเอ่ยว่า

เป็นนักเขียนที่เชื่อมั่นในแนวทางการปฏิรูปด้วยสันติ จากตอนแรกเขียนเพราะอยากเขียน อยากโชว์ความรู้สึกตอนเป็นนักศึกษา ไม่ได้สนใจสังคมนิยมหรือการเปลี่ยนแปลงสังคมมากนัก แต่พอตื่นตัวทางสังคมแล้ว เชื่อว่าการเขียนคือการปลุกระดม จัดตั้งคน และขยายความรู้ เป็นภาระหน้าที่ทีเดียวที่เราจะต้องคิดวิเคราะห์เพื่อย่อยให้คนอื่นเข้าใจง่ายๆ” วิทยากรเผย พลางย้ำว่าแม้การพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งๆ จะไม่กี่พันเล่ม แต่ก็ได้ประโยชน์เพราะคนรุ่นหลังหาอ่านได้ ดังฉันจึงมาหาความหมายที่ปัจจุบันพิมพ์ครั้งละ 2,000-3,000 เล่ม เป็นครั้งที่ 15 แล้ว

หากกล่าวอย่างเคร่งครัดแล้ว คงยากจะอธิบายความเป็นตัวตนของใครได้ถี่ถ้วนทุกด้าน ยิ่งเขาสั่งสมประสบการณ์มากายนับแต่ห้วงหนุ่มฉกรรจ์ที่รจนา บทกวีที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของคนหนุ่มสาวร่วมสมัย ในการแสวงหาความหมายของชีวิตด้วยแล้ว ย่อมยากยิ่งจะเอื้อนเอ่ยออกมา … ทว่าก็ไม่ยากมากเกินไป หากจะใช้ธงแผ่นผืนเดียวของเขาที่ยืนเคียงข้างประชาชน เป็นเกณฑ์ตัดสิน ก็จะพบว่า ทำไมผลงานล่าสุดของเขาจึงเป็นหนังสือชื่อ ‘ แนวทางปราบคอร์รัปชั่นอย่างได้ผล ’
เรื่อง : ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ

***********

การพลิกผันจากวรรณกรรมสายลมแสงแดดที่เน้นความโรแมนติก มาสู่ยุคแสวงหาที่หนักแน่นจริงจังในชีวิตวิถีคิดนั้น ต่อให้พินิจผิวเผินหรือลุ่มลึกก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องนับเพลงเถื่อนแห่งสถาบันเข้าไว้ในรายชื่อต้นๆ ของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย กระทั่งนับวันจะกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งยุคแสวงหาความหมาย ของคนรุ่นนั้นไปเสียแล้ว

กวีซีไรต์ ‘เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์’ มองว่าบทกวีชิ้นนี้คือเสียงก้องกังวานของคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่าน 14 ตุลา ด้วยขณะนั้นนักศึกษาในรั้วมหา’ ลัยไม่น้อยสรรค์สร้างหนังสือเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อตอบสนองความเชื่อ และเป็นหนทางเดียวในการจะหลุดพ้นจากความคับแค้นเคียดขึ้งของระบอบเผด็จการ

“คุณค่าของบทกวีนี้คือความคึกคักของถนนสายประชาธิปไตย แม้จะไม่ค่อยสอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันที่ผ่านมานานแล้วก็ตาม เพราะเงื่อนไขความขัดแย้งในสังคมเปลี่ยนไป ไม่ใช่การมึนชาของสังคมอย่างที่บทกวีชิ้นนี้พยายามสะท้อนภาพการตื่นตัวจากความมึนชาอีกแล้ว” เนาวรัตน์เผย พลางไขข้อข้องใจต่อว่า ด้วยทุกวันนี้เป็นสังคมมายากาล นักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ใช่เพื่อไปค้นหาความหมายอีกแล้ว แต่เข้าไปเอากระดาษใบเดียวที่มีค่านั้นออกมา

ขณะที่สุชาติ สวัสดิ์ศรี ผู้เขียนคำนำเสนอฉบับพิมพ์ครั้งแรกของฉันจึงมาหาความหมายมองว่าเพลงเถื่อนแห่งสถาบัน ปรารถนาจะคัดค้านบรรยากาศนักศึกษาในช่วงเวลานั้นที่เต็มไปด้วยความรื่นรมย์ ขณะที่อีกด้านหนึ่งพวกเขาก็ถูกบีบรัดสิทธิเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็นจากระบอบเผด็จการที่โอบล้อมอยู่ ท่วงทำนองของบทกวีชิ้นนี้จึงไม่ต่างจากบทกวีอื่นๆ อีกหลายชิ้นก่อนหน้านั้นที่สะท้อนภาพการแสวงหาของคนหนุ่ม

“แต่ความคล้องจองของบทกวีทำให้คนจำได้ รวมทั้งถูกทำให้แหลมคมมากขึ้นจากการนำไปเชื่อมร้อยกับยุคสมัยสายลมแสงแดด ที่นักศึกษาไม่เอาไหน แล้วเปลี่ยนมาเข้มแข็งจริงจังในยุคแสวงหาความหมาย” สุชาติอธิบาย ก่อนเน้นว่า คุณค่าของบทกวีชิ้นนี้ที่ส่งผ่านมายังปัจจุบันน่าจะเป็นการใช้ชีวิตในรั้วมหา’ลัยแบบคิดเป็น เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งเป็นพันธะหน้าที่ของนักศึกษาที่จะต้องรู้จักแสวงหาความหมายในชีวิต

ที่่มา http://www.winyuchon.co.th/main/wit.asp