RSS

Category Archives: ชมรมศึกษาผลงานฯ

ทำให้เด็กไทยรักการอ่านหนังสือดีได้ จึงจะกู้ชาติ (ปฏิรูปประเทศ) ได้ โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล


ทำให้เด็กไทยรักการอ่านหนังสือดีได้ จึงจะกู้ชาติ (ปฏิรูปประเทศ) ได้

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล

การรักหรือไม่รักการอ่านหนังสือ คือ ความแตกต่างสำคัญที่ทำให้คนฉลาดหรือไม่ฉลาด ใฝ่การเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผล แก้ไขปัญหา

พัฒนาตนเองและประเทศได้ดีหรือไม่ ประเทศที่คนรักการอ่านมาก มักประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ และพัฒนาเศรษฐกิจสังคมได้มากกว่า ประเทศที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรักการอ่าน เช่น ประเทศไทย
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ:

จะแก้ปัญหาผู้นำประสิทธิภาพต่ำ คอร์รัปชัน และความขัดแย้งรุนแรงได้อย่างไร


จะแก้ปัญหาผู้นำประสิทธิภาพต่ำ คอร์รัปชัน และความขัดแย้งรุนแรงได้อย่างไร

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล

ปัญหาหลักของประเทศไทย ถูกกำหนดโดยระบบทางเศรษฐกิจการเมืองมากกว่า โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ

ปัญหาใหญ่ที่สุด คือ ปัญหาผู้นำประสิทธิภาพต่ำคอร์รัปชัน และประเทศมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงได้อีก เนื่องจากยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และการแบ่งแนวคิดทางการเมืองเป็น 2 ขั้วสุดโต่ง
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: ,

โครงการคัดเลือกหนังสืิอดี 100 เล่ม โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล


เรียน นักวิจัยทุกท่าน…

ถ้าทำให้คนไทยรักการอ่านได้ก็จะปฏิรูปประเทศไทยได้

ทางโครงการของเรามี blog เป็นของโครงการเอง หากนักวิจัยท่านใดมีบทความที่น่าสนใจ ก็สามารถลงเผยแพร่ทาง blog ได้เลยนะคะ คลิกอ่านตามลิงค์ข้างล่างนี้นะค่ะ
 

ป้ายกำกับ:

ฉันจึงมาหาความหมาย พิมพ์ครั้งที่ 18


This slideshow requires JavaScript.


        ฉันจึงมาหาความหมาย พิมพ์ครั้งที่18 (ปรับปรุงใหม่) กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งรศ.วิทยากร เชียงกูล ส่งมาให้ด้วยตัวท่านเอง “ฉันจึงมาหาความหมาย”หนังสือซึ่งเป็นที่มาของการพานพบกับท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ตัวเป็นๆ และหนังสือซึ่งเป็นที่มาของ “ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล”  

เริ่มเขียน blog และโพสต์เกี่ยวกับงานหนังสือที่ชื่นชอบ…จนกระทั่ง..ได้เจอกับท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ตัวจริง…และได้มีชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล..ซึ่งท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ได้ให้เกียรติกรุณาตั้งชื่อของชมรมฯให้แก่ดิฉัีน,เพื่อน และน้องๆ ในชมรมฯ ที่ชืนชอบผลงานของท่าน…หนังสือเล่มนี้ และหนังสือทุกประเภทให้คุณค่าแก่ชีวิตมากมายเพียงใด…ถ้าท่านสมาชิกสงสัย รึอยากอ่านและศึกษางานเขียนเล่มนี้อย่าลืมหาซื้ออ่านได้ที่แผงหนังสือใกล้บ้านท่านนะค่ะ …และท่านจะรู้ทำไม…ฉันจึงมาหาความหมาย..

 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/82598

https://witayakornclub.wordpress.com/ 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/82598

 

ป้ายกำกับ: , ,

ประชาสัมพันธ์งานสัมมนาวันที่ 8 เมษายน 55


 

ป้ายกำกับ:

บทที่ 6 เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล:รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 6 

เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล

 

การปฏิรูปการศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและให้มีความเป็นธรรมอย่างก้าวกระโดด นั่นก็คือ ผู้นำต้องกล้าผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระสำคัญ และการมองเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นแค่การมีโครงการเพิ่มเติมจากการจัดการศึกษาปกติ ทำให้ประเทศไทยไม่ได้เข้าใจและไม่ได้ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างแท้จริง

  Read the rest of this entry »

 

บทที่ 5 กรณีศึกษา – การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาของไทย : รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 5

กรณีศึกษา – การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาของไท

 

การปฏิรูปการศึกษาของไทยในรอบทศวรรษแรก ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ฯ มาถึงปัจจุบันเน้นในเรื่องการแก้ไขกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ การแต่งตั้งคณะกรรมการ และการกำหนดนโยบายคำสั่งโครงการจากสำนักงานส่วนกลางใน(กระทรวงศึกษาฯ)ไปยังสถานศึกษาต่างๆ วิธีการปฏิรูปภายใต้ระบบราชการรวมศูนย์ดังกล่าวที่ใช้มาแล้วกว่า 10 ปี ไม่ปรากฏผลสำเร็จโดยรวมอย่างเด่นชัด นอกจากมีความก้าวหน้าเกิดขึ้นเป็นจุดๆ เช่นในบางสถาบัน หรือในกลุ่มนักเรียนที่เก่งที่สุดในสถาบันนั้นๆ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับนักเรียนทั่วทั้งประเทศ ปัญหาที่สำคัญ 2 เรื่องที่การศึกษาไทยแก้ไขได้ไม่ดีพอ คือเรื่องคุณภาพการศึกษาโดยเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำ และรัฐจัดให้บริการทางการศึกษาได้อย่างไม่ทั่วถึงและไม่เป็นธรรม ปัจจุบันสถาบันการศึกษามีคุณภาพแตกต่างกันมาก  คนจน คนด้อยโอกาส คนมีปัญหาต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาอันเนื่องจากสภาพชีวิตและสังคมที่อัตคัดขาดแคลนทำให้เด็กวัยเยาวชนไม่ได้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกันมาก

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 4 บทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น : รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53


บทที่ 4

บทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น

 

          บทนี้เสนอการวิเคราะห์และสรุปบทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น เปรียบเทียบกับสภาพปัญหาของไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลและแง่มุมที่คนไทยจะได้นำบทเรียนของประเทศอื่นมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยให้ได้ผลเพิ่มขึ้น โดยจะพิจารณาทั้งในประเด็นเรื่อง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและการบริหารจัดการทางการศึกษา การจัดหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษา,การบริหารจัดการ,การผลิตและการพัฒนาครูและผู้บริหาร,เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาฯลฯ

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 3 ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น :รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53


บทที่ 3

ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

 

ปัญหาการจัดการจัดการศึกษาของไทยมีหลายด้าน ทั้งที่เป็นปัญหาเห็นได้ชัดในตัวเองและโดยการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น บทนี้เป็นการเสนอสถิติข้อมูลในเชิงวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับประเทศอื่นเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้มุมมองที่กว้างขวางขึ้น

3.1 สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย[1]

ไทยมีประชากรราว 63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ใกล้เคียงกับฝรั่งเศส อังกฤษ และมียอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่คิดแบบถ่วงน้ำหนักด้วยค่าครองชีพ (PPP) อยู่ลำดับที่ 24 (สถิติของธนาคารโลก) แต่ GDP ต่อหัวของประชากรอยู่อันดับที่ 89 (สถิติ IMF)

ประชากร ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าวัยแรงงาน ทำให้ประชากรวัยแรงงานของไทยมีสัดส่วนการรับภาระประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานสูงขึ้น และสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบในเรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจข้อหนึ่ง

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 2 การจัดการศึกษาของไทยในช่วงปี 2552–2553 :รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 2

การจัดการศึกษาของไทยในช่วงปี 2552–2553

 

บทนี้ผู้วิจัยได้คัดจากรายงานสถิติการศึกษาที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ( สกศ.) เป็นผู้รวบรวมเบื้องต้นมานำเสนอพร้อมกับการ วิเคราะห์เชิงตั้งข้อสังเกตของผู้วิจัยต่อท้ายสถิติแต่ละตารางตามที่ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านที่ไม่ถนัดหรือไม่มีเวลาจะศึกษาสถิติการศึกษาอย่างละเอียดได้เห็นประเด็นที่น่าสนใจ

สถิติในบทนี้ประกอบไปด้วยจำนวนนักเรียน นักศึกษา ระดับประเภทต่างๆ อัตราการคงอยู่ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา งบประมาณการศึกษา ปีการศึกษาเฉลี่ยของไทย ร้อยละครูอาจารย์จำแนกตามวุฒิการศึกษา นอกจากนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมเพิ่มเติม สถิติผู้มีงานทำจำแนกตามระดับการศึกษา และสถิติคะแนนเฉลี่ยนักเรียนทั่วประเทศ จากผลการทดสอบ ONET  ม.3 และม.6

Read the rest of this entry »

 

ประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ ว่าด้วยนวัตกรรมผู้นำระดับชาติ ครั้งที่ 3


ประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการ ว่าด้วยนวัตกรรมผู้นำระดับชาติ ครั้งที่ 3

สร้างนักคิด ผลิตผู้นำ

วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ ว่าด้วยนวัตกรรมผู้นำระดับชาติ ครั้งที่ 3 “ผู้นำกับวิกฤต และ อนาคตประเทศไทย” วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม 2555 เวลา 12.00 – 16.30 น. ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ 1 โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ————————————

กล่าวเปิดงาน โดย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิต ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ผู้นำการเมืองกับอนาคตของประเทศไทย” โดย พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปฏิรูปท้องถิ่นเท่ากับปฏิรูปประเทศไทย” โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดี วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ แถลงผลรังสิตโพลล์ เรื่อง “ผู้นำกับวิกฤตและอนาคตประเทศไทย” โดย พลเรือตรี ดร.วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคม อภิปราย เรื่อง “ผู้นำกับวิกฤตและอนาคตประเทศไทย” โดยวิทยากร 1. คุณสุริยะใส กตะศิลา นักศึกษาหลักสูตร Ph.D.Leadership มหาวิทยาลัยรังสิต 2. ผศ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ 3. ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ดำเนินรายการ โดย รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ฟรี สนใจสำรองที่นั่ง : โทรศัพท์มือถือ 08 3856 0193-4 หรือ e-mail : csi_rsu@gmail.com ขอแสดงความนับถือ ชนัฐนันท์ มณฑาทอง เลขานุการวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ปณิธานของวิทยาลัยฯ “สร้างนักคิด ผลิตผู้นำ” e-mail : mam_csi@yahoo.com โทร.0-2997-2222 ต่อ 1217 มือถือ 08 3856 0193-4 โทรสาร. 0-2533-9697

 

ป้ายกำกับ: , ,

บทที่ 1 บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทย ในช่วงปี 2552–2553 “รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53”


บทที่ 1    

บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทย ในช่วงปี 2552–2553

 

สภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มีอิทธิพลแบบปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันกับการจัดการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกันเป็นระบบองค์รวม การจะทำความเข้าใจและหาทางปฏิรูปการศึกษาไทยให้ได้ผลจริงจำเป็นที่จะต้องตระหนักและหาทางปฏิรูปทางด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยควบคู่ไปด้วย

1.1 การเมืองไทย ในปี 2552–2553 คงเป็นการเมืองเรื่องการแย่งผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงกลุ่มน้อยที่ต่างฝ่ายต่างพยายามดึงประชาชนมาเป็นพรรคพวกของตน ปัญหาที่เด่นชัดที่สุดคือความขัดแย้งแบบ 2 ขั้วสุดโต่งระหว่างฝ่ายนิยมและฝ่ายต่อต้านอดีตนายกฯ ดร.ทักษิณ ชินวัตร

Read the rest of this entry »