RSS

Category Archives: ระบอบทักษิณ

หยุดวิกฤติซ้ำซาก ด้วยระบบสหกรณ์ (งานเขียนเล่มใหม่)


สวัสดีค่ะ แจ้งข่าวดีสำหรับแฟนพันธุ์แท้ของอาจารย์วิทยากร เชียงกูล ทุกท่านนะค่ะ และผู้สนใจงานเขียนของอาจารย์ทุกท่านเช่นกันค่ะ วันนี้ทางชมรมศึกษาได้พัสดุไปรษณีย์ห่อใหญ่ เปิดดูปรากฏว่าเป็นหนังสือ 2 เล่ม

1. นโยบายของรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ:การทับซ้อนของผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Conflict of Interest) ซึ่งทางชมรมศึกษาฯ ได้รวบรวมเป็นข้อมูลให้สำหรับทุกท่านดาวน์โหลดกันแล้วที่น่าเว็บไซต์ของชมรมศึกษาฯเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ

และเล่มที่ 2  ถือว่าเป็นงานเขียนเล่มใหม่ล่าสุดต่อจาก หนังสือก้าวข้ามระบอบทักษิณ

” หยุดวิกฤติซ้ำซาก ด้วยระบบสหกรณ์” อีกทางเลือกของเศรษฐกิจภาคประชาชน

*ใครที่เป็นแฟนผลงานของอาจารย์ วิทยากร เชียงกูล อย่าพลาดนะค่ะ  ตอนนี้ออกวางตลาดแล้วค่ะ ซึ่งจัดพิมพ์และจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ หาซื้อได้ตามร้านหนังสือใกล้บ้านค่ะ*

book

 

book

 

(Executive Summary)Government Economic Policy And Conflict Of Interest Problem


Executive Summary)

Government Economic Policy And Conflict Of Interest Problem

      Objective

      This research’s aim is to analyse Thaksin Shinnawatra’s government economic policy and programs during 2001 – 2005 to see whether they have caused conflict of interest between the public officials private interest and the public interests or not.It will also try to answer how such cases will affect different social groups and country’s economic and social development and how we can conclude from this research a proposal for strategies and measures to prevent and curb the conflict of interest problem.

      Definition

      “Conflict Of Interest” is defined here as any situation in which an individual, usually the public official, exploits official capacity in some ways for his  or her personal benefits.

      Findings

      Our study has revealed that  there are many government’s economic policies that benefit public officials private interests but harm public interests , For example :

  •  
    • Thaksin and other former businessmen in his party divested shares in the companies they owned to their family members  rather than to the independent blind trust.These companies either  do business with the government or get some privilege from the government.The spouses of several serving ministers have reported big increases in their wealth in the recent disclosure notices.
    • Shin Satellite, another company in which Thaksin’s family holds a majority stake, won an eight-year tax holiday worth 16 billion bath ($401.5 million) for its soon – to –be-launched IPSTAR broadband satellite system from Thailand’s Board of Investment. The tax break  represented the first time the state agency, historically charged with attracting foreign investment, had offered such incentive to a Thai-owned company.
    • Thaksin’s government favor the interest of his family – it save Thai AirAsia ;which is part of Shin Corp,  more benefits than Thai International Airway by giving  more right to AirAsia to fly to ChiengMai. Moreover,it plans to transform ChiangMai into a regional aviation hub so that AirAsia can use Chiang Mai as a base for flights China and other neighboring countries.
    • The signing of free trade agreement with Chaina, Australia, New Zeland and some other countries will benefit some politician’s businesses in telecommunication and car manufactaring , including some,  big agricutural companies and harm small and medium farmers who are less competetive and are less subsidized than farmers in those countries.
    • The privatization of monopoly state enterprise such as Petroleum Authority of Thailand (PTT) benefits  politician related big private  investors who can make huge capital gains from buying PTT shares at par value of 35 baht per share in 2002 when PTT share value had increase to  250 baht  per share in 2005. The government who has smaller number of share (from 100 % to around 51 %) gain less from PTT profis. The plan to privatize the Electrical Generating Authority of Thailand, if wasn’t being interrupted by the order of the central administrative court, would bring even greater profits for some big private investors.
    • In the stock market during 2001 – 2005, companies with had some  members  relating to those who held positions in the government had seen their market share values increased significantly more than companies which did not have such a political link. This was because there were many policies which benefited the former companies .For example : discretionary tax breaks; reduction of concession fee; restriction or the discouragement of new entrants, as well as delaying of policies which may affect the incumbent firms.
    • Under Thaksin’s government’s new Thai Telecommunication Act (2006) which allow Thai telecommunication companies to sell 49 % of their total shares to foreign companies is  passed on Friday January 20th three days later, Thaksin’s family sold all stake in Shin Corporation, a leading communication company in thailand to Temasek Holding with tax liability exemption. The Shinawatra and Damapong (Thaksin’s wife’s maiden name) families netted about 73 billion baht (about $1.88 billion) tax – free from the buyout, exploiting a regulation that allows individuals(as opposed to corporations) sell shares on the stock exchange to pay no capital gain tax. Critics have accused him of insider trading and structuring the deal to avoid paying hefty taxes, among other irregularities.

    Impacts of conflict of interests on country’s development

      Conflict of interest  has negative influences on government’s decisions as well as economic growth.Hence government’s decisions might not be for the best interest of the country. For example, if a contract or concession is awarded to firm that has the most direct political connections rather than to the most efficient firm, then the national economy loses some benefit.

      Efficient firms which do not have political influence may eventually go bankrupt as they can’t get contracts.  If this is so,then the politically connected firm can become more slack and less efficient since they  no longer have competitors.This means that is a loss of welfare to the economy.

      Conflict of interest will also have a negative impact on political development. Those businessmen and politicians who benefit from the conflict of interest have a vested interest in hiding their actions from public scrutiny. Government that has a problem regarding conflict of interest may be tempted to use its powers to obstruct transparency.

      For example, the government might try to disable institutions such as anti-corruption agencies, remove effective corruption-busters from office and place compliant allies in sensitive positions.It might invest heavily to gain political support or even pervert the democratic process to prevent the opposition party from monitoring its action.They might restrict the freedom of information by using state-owned media and intimidate journalists and editors by legal proceedings. In short, the government may try to sabotage  the system of checks and balances, human rights and transparency. Disguised conflict of interests can have long-term impacts on political development and citizen rights.

      Preventing and Suppressing the conflict of interest problem and other related means corruption 

  •  
    • Establish an independent and strong anti corruption agency (with adequate staff and funding) and enhance transparency in the financing of election campaigns and political parties. The anti corruption organization should also educate the public to make them aware of the seriousness of conflict of interests problem and become more involve in helping the prevention and suppression of corruption.
    • Reform public sector services by ensuring transparency, efficiency and recruitment based on merit. Public officials should be subject to codes of conduct, requirements for financial and other disclosures and appropriate  disciplinary measures.
    • Promote transparency and accountability in public finance and establish specific requirement for the prevention of corruption in the particulary critical areas of the public sector such as the judiciary and public procurement. Moreover, there should be open access to public record to make it possible for individuals and associations to control the exercise of official authority.
    • Improve institutional measures such as positive external audit and verification, other internal supervisory measures, publication of disclosed interests, development of a strong management culture supporting intergrity, recusal of the public official from involvement in an affected decision  making process.
    • Promote actively the involvement of non-governmental and community – based organization as well as other elements of civil society such as mass media, academics , trade unions and trade associations; and to raise public awareness of corruption as well as what can be done about it.
    • Cut red tape to minimize opportunities for public officials to solicit or accept bribes from some members of the business sector to facilitate the processing of their applications for license or any state permissions.
    • Reduce opportunities for corruption in public agencies especially the police bureau, internal revenue department, custom department and public work department because of their access to the fee paying public and the ample opportunities for corruption.The selection,training and monitoring of the public officials should be improved to a higher standard.Public officials should get better salaries and allowances, but  punished severely if they are caught for corrupted practices.
    • Revise and effectively implement the law enforcing politicians who have public official titles  to transfer  more than 5% of their share in private companies to the juristic person or “Blind Trust”, and can not get involve in any kind of management  of their former private companies.

      In conclusion, Thai people can learn from experiences of other countries such as Singapore and  Hong Kong to establish strong and efficient organizations,measures to prevent and suppress every forms of corruption including conflict of interests which is a new phenomena  and is rather too complicate for the general public to understand.The priority is to do research and communicate data on this problem to raise awareness and understanding, as well as to encourage the general public to become more committed in helping the prevention and suppression of corruption at the national level.

 

ทางออกของปัญหา:กกต. ควรเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในบัตรลงประชามติได้


ทางออกของปัญหา:กกต. ควรเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในบัตรลงประชามติได้
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 สิงหาคม 2550 12:33 น.
       การลงประชามติที่ดี ควรผ่านการประชาพิจารณ์ หรือการประชุมอภิปรายข้อดีข้อเสียของเรื่องที่จะลงประชามติอย่างกว้างขวางรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล เพราะการลงประชามติ เปิดให้ประชาชนเลือกได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ในประชาพิจารณ์ เราอาจจะช่วยกันสร้างทางเลือกที่ 3 ที่ 4 ที่ดีกว่าทางเลือกแค่ 2 ทางได้
       
       การลงประชามติเรื่องเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหา 2 ด้าน คือ 1. การลงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นเรื่องที่ใหญ่โต
       
       ซับซ้อนมากเกินไป การลงประชามติในประเทศอื่นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องประเด็นเดียวที่เห็นชัดๆเช่น การลงประชามติของประเทศในยุโรปบางประเทศว่าจะเข้าร่วมสหภาพยุโรปหรือไม่ จะเปลี่ยนเงินตราของประเทศตนไปเป็นเงินยูโรของสหภาพยุโรปหรือไม่
       
       2. มีการทำประชาพิจารณ์อภิปรายข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติน้อยเกินไป ทั้งเรื่องมีเวลาจำกัด งบประมาณจำกัดและรัฐบาลไม่เข้าใจความสำคัญของเรื่องนี้
       
       ครม.ไปมีมติครม. ทำไมก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลต้องวางตัวเป็นกลาง ในขณะที่ฝ่ายอำนาจเก่าไทยรักไทยและนักวิชาการปัญญาชนประเภทคิดแบบสองขั้วสุดโต่งและประเภทนักเย้ยหยัน นักวิจารณ์ว่าทุกฝ่ายแย่กว่าตัวเองหมดเป็นฝ่าย รณรงค์ให้คนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอย่างแข็งขัน โดยพวกเขาเลือกใช้จุดอ่อนและจิตวิทยาง่ายๆแบบเร้าอารมณ์ มาโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นตามพวกเขา แต่ไม่ได้ให้ข้อมูล จุดแข็ง และจุดอ่อน ของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างรอบด้านและเป็นธรรม
       
        จากการที่คณะอำนวยการการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน ได้ออกไปรับฟังความคิดของประชาชนระดับรากหญ้าทั่วประเทศ เราได้พบว่า ประชาชนมีข้อเสนอดีๆ ที่จะทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นจำนวนมาก แต่น่าเสียดายที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ คือ สสร.ได้ยินหรือรับข้อเสนอไปพิจารณาเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นส่วนน้อย เพราะ สสร.ใช้ความคิดเห็นของตัวเองเป็นหลักมากกว่า โดยเฉพาะประเด็นให้อำนาจผู้พิพากษา/ข้าราชการในการเลือกสว.และองค์กรอิสระ และลดอำนาจประชาชนในเรื่องนี้ลง ทำให้ประชาชนส่วนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ค่อยพอใจร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ไม่น้อย
       
       ในหมู่องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชนที่ไม่ใช่พวกนิยมทักษิณก็เกิดความเห็นที่แตกกันเอง นักพัฒนาเอกชนจากกรุงเทพ เช่น จอน อึ๊งภากรณ์ คัดค้านและโน้มน้าวตัวแทนองค์กรพัฒนาที่มาประชุมเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ ให้โหวตคัดค้านรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของคนมาประชุม ซึ่งก็ไม่ใช่เสียงที่เป็นเอกฉันท์ แต่ภาพที่ออกมาประกาศต่อสาธารณชนเหมือนกับว่า องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งหมดนับร้อยองค์กร ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญความจริงก็คือ องค์กรพัฒนาเอกชนจากภูมิภาคต่างๆ ได้กลับไปประชุมร่วมกันในภูมิภาค และมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป บางภูมิภาคเห็นว่า ควรเห็นชอบไปก่อนแล้วไปผลักดันแก้ไขทีหลัง บางภูมิภาคที่ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนเห็นแตกต่างกัน ได้เสนอแบบประนีประนอมให้ฟรีโหวต คือไม่มีมติในเรื่องนี้ แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละคน ว่าใครจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
       
       ประชาชนจำนวนไม่น้อยคิดว่าคงเห็นชอบแบบมีเงื่อนไขว่าอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปได้ ซึ่งทำให้ผมเกิดแนวคิดที่อยากเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ผู้ทำหน้าที่จัดการลงประชามติครั้งนี้ ว่าถ้าจะให้ดีแล้ว กกต.ควรเปิดใจกว้าง เปิดโอกาสให้ประชาชนเขียนความเห็นแสดงเหตุผลของตนเองเพิ่มเติมด้านหลังของบัตรลงประชามติได้ โดยไม่ถือเป็นบัตรเสียถ้ากกต.เห็นด้วยก็ควรแถลงเรื่องนี้และประชาสัมพันธ์ออกไป และกกต.ควรจัดตั้งทีมงานหรือของบประมาณจากรัฐมาให้นักวิชาการที่เป็นกลางรวบรวมสรุปความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลเสนอแนะต่อรัฐสภาใหม่และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในโอกาสต่อไป
       
       ประเทศต้องเสียเงินเสียกำลังคนในการจัดการให้ประชาชนลงประชามติทั้งทีนับพันล้านบาท น่าจะใช้เป็นโอกาสในการรับฟัง รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนไปด้วย จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กว่าแค่การกาและนับคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ถ้า กกต. ใจกว้างและยืดหยุ่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมกว่าแค่ทำงานให้เสร็จไปวันๆ ให้ประกาศออกมาเลย ประชาชนจะรู้สึกอยากไปลงประชามติมากขึ้น รู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมออกความเห็น ไม่รู้สึกอึดอัดว่าถูกมัดมือชก ให้กาแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
       
       ไม่ว่าการลงประชามติจะออกมาอย่างไร คมช.และรัฐบาลควรเดินหน้าประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งและจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้การเมืองเดินหน้าต่อ ข้อบกพร่องทั้งหลายเป็นเรื่องธรรมดา ถึงคนที่ออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่บริสุทธิ์ใจไม่ใช่ฝ่ายทักษิณก็ไม่มีกำลังมากพอที่จะบันดาลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ การเมืองที่เป็นจริงคือประชาชนต้องต่อสู้ต่อไปอีกหลายยก รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อการปฏิรูปการเมืองเท่านั้น
       
       ประชาชนยังต้องต่อสู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองให้ก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ภาคประชาชนกว่านี้ในโอกาสต่อไปอีก เช่น ผลักดันการพัฒนาระบบสหกรณ์ สังคมนิยมประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ ชุมชนสวัสดิการ เศรษฐกิจพอเพียง มาแทนที่ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาด เป็นต้น
       
       ทำอย่างไรจึงจะผลักดันให้เกิดพรรคการเมืองที่แนวนโยบายที่ก้าวหน้า ที่กล้าปฏิรูปเพื่อทำให้ประชาชนเข้มแข็งอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีแค่พรรคแนวส่งเสริมตลาดเสรี ที่ใช้นโยบายประชานิยม และสวัสดิการแบบลอยๆ มาหาเสียงแบบให้ประชาชนอยู่ภายใต้ระบอบอุปถัมภ์ต่อไป ซึ่งไม่ได้ต่างจากไทยรักไทย
 

ทางออกของปัญหา:คิดให้ดีรับ-ไม่รับ “ร่างรัฐธรรมณูญ”


ทางออกของปัญหา:คิดให้ดีรับ-ไม่รับ “ร่างรัฐธรรมณูญ”
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 กรกฎาคม 2550 12:52 น.
        การที่กลุ่มอดีตพรรคไทยรักไทยและกลุ่มแนวร่วม ออกมารณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง รัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากคณะรัฐประหาร และเป็นรัฐธรรมนูญแบบ อำมาตยาธิปไตย เป็นวิธีการเล่นการเมืองและการทำตัวเป็นผู้รู้ดีกว่าประชาชนแบบเก่าๆ ที่ไม่ช่วยให้ประชาชนได้ข้อมูลที่ดี ฉลาดและเข้มแข็งขึ้น
       
       เพราะพวกเขาไม่ได้ให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าร่าง รัฐธรรมนูญ 2550 มีจุดแข็งจุดอ่อนต่างจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 อย่างไร
       
        การอ้างว่ารัฐบาลทักษิณมาจากการเลือกตั้งจึงเป็นประชาธิปไตย ส่วนรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารเป็นเผด็จการ เป็นการมอง 2 ขั้วสุดโต่งอย่างง่ายๆมากไปหน่อย
       จริงๆแล้วเราควรมองอย่างจำแนกว่า รัฐบาลนั้นๆมาจากการเลือกตั้งที่โปร่งใส ชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน รัฐบาลนั้นๆแทรกแซงองค์กรอิสระ ใช้อำนาจคดโกงหาผลประโยชน์ ปราบปรามลิดรอนเสรีภาพของประชาชนหรือไม่เพียงใด
       
       ถ้าไม่มีองค์ประกอบความเป็นประชาธิปไตยในหลายๆด้าน ถึงจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบซื้อเสียงใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์รัฐบาล เช่น รัฐบาลทักษิณ ก็ไม่ควรถือเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย คำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกรณีพรรคไทยรักไทยไปจ้างวานพรรคอื่นว่าทำผิดจริง ให้ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี อธิบายให้เห็นชัดว่าพรรคไทยรักไทยทำลายประชาธิปไตยอย่างไร
       
        รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ก็ไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นกัน แต่ การรัฐประหารในแต่ละประเทศ ในแต่ละครั้ง มีฐานะในสังคมที่ต่างกัน ต้องวิเคราะห์เป็นกรณีๆไป
       
       การมองตามตำราตะวันตกอย่างง่ายๆ ว่ารัฐประหารทุกครั้งเป็นเผด็จการไม่อาจใช้อธิบายการเมืองไทยได้ลึกพอ การรัฐประหารในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คือการใช้กำลังยึดอำนาจจากระบอบราชาธิปไตยเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
       
       การรัฐประหารปี 2520 โดยกลุ่มพลเอกเกรียงศักดิ์ คือการโค่นล้มรัฐบาลจารีตนิยมขวาจัดที่มาจากเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชน 6 ตุลาคม 2519 และเป็นการนำระบบประชาธิปไตยครึ่งใบมาใช้ใหม่ แม้รัฐบาลเกรียงศักดิ์และรัฐบาลหลังจากนั้นจะเป็นกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำมาตยาธิปไตย ก็เป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลช่วง 6 ตุลาคม 2519 – 2520
       
        รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือการโค่นล้มระบอบทักษิณ และการหาทางออกจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีโอกาสนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านทักษิณ การเมืองในขณะนั้นถึงทางตัน จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ก็แก้ไม่ได้ เพราะรัฐบาลทักษิณคุมเสียงข้างมาก คุมองค์กรอิสระที่สำคัญๆและมีพฤติกรรมเป็นเผด็จการชนิดไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น
       
       แม้การรัฐประหารจะเป็นวิธีการที่ล้าหลัง แต่เราน่าจะมองอย่างจำแนกได้ว่า ในบริบทการเมืองยุคใหม่ที่ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งคนชั้นกลางและพึ่งต่างประเทศค่อนข้างสูงนั้น การรัฐประหารปี 2549 แตกต่างไปจากการรัฐประหาร 2490 หรือ 2501 ที่คณะรัฐประหารเป็นรัฐบาลแบบเผด็จการอยู่ได้ยาวนาน
       
       เพราะประเทศไทยในระบบเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์นั้น ถึงทหารจะยึดอำนาจได้ แต่จะปกครองแบบเผด็จการระยะยาวไม่ได้เหมือนในยุคก่อนอีกต่อไป รัฐประหาร ปี 2534 ต้องตั้งรัฐบาลพลเรือน อานันท์ ปันยารชุน เพื่อให้ทั้งสังคมไทยและนานาชาติยอมรับ และเมื่อพลเอกสุจินดาหัวหน้าคณะรัฐประหารพยายามจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2535 โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เขาก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชนจนอยู่ในตำแหน่งนายกฯไม่ได้มาแล้ว
       
        รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเป็นภาวะเผด็จการชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และการเลือกตั้งใหม่ แม้รัฐธรรมนูญใหม่จะร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร แต่ สสร. ชุดนี้ก็มาจากนักกฎหมาย นักวิชาการ และชนชั้นนำอื่นๆ ที่มีความคิดอ่านของตัวเองและเป็นนักประชาธิปไตย (แบบชนชั้นกลาง) พอสมควร พวกเขาพยายามที่จะปรับแก้รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ดีขึ้น แม้จะมีแนวคิดแบบชนชั้นนำ เช่น สว.บางส่วนมาจากการสรรหาหรือแต่งตั้งบ้าง ให้อำนาจข้าราชการ ผู้พิพากษา มากกว่าที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมบ้าง
       
       ยกเว้น 2 – 3 ประเด็นนี้แล้วรัฐธรรมนูญ 2550 โดยภาพรวมก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 (บางอย่างดีขึ้น บางอย่างแย่ลง) ไม่ถึงกับเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนและแนวร่วมยุคทักษิณอ้าง
       
        นักวิชาการกลุ่มที่ใช้เงินนักการเมืองลงโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ว่า การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญคือการคว่ำบาตรคณะรัฐประหาร เป็นการเล่นโวหารมากกว่ามองการเมืองที่เป็นจริง
       
       การเมืองไทยตามความเป็นจริงคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาและการจัดตั้งที่เข้มแข็งพอที่จะไปขับไล่คณะรัฐประหารและเลือกตัวแทนมาร่างรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้ากว่านี้ได้ การเสนอให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 คือการถอยหลังกลับไปให้ตัวแทนทักษิณกลับเข้ามามีอำนาจ รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เขียนไว้สวยนั้นมีจุดอ่อนให้ระบอบทักษิณที่เป็นเผด็จการนายทุนและคดโกงดำรงอยู่ได้
       
       ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550 พยายามปิดช่องโหว่รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้นักการเมืองมีโอกาสรวบอำนาจได้ลดลง รวมทั้งการตอกย้ำว่ากรรมการบริหารพรรคที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคต้องเสียสิทธิเลือกตั้งไป 5 ปี นี่คือเรื่องใหม่ที่ไทยรักไทยต้องคัดค้าน เพราะถึงพวกเขาพวกเขาจะตั้งพรรคใหม่และได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก พวกเขาก็หมดโอกาสที่จะเสนอกกฎหมายนิรโทษกรรมพรรคพวกได้ นี่คือเหตุผลที่พวกเขาต้องการให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540
       
        นักวิชาการที่ร่วมคัดค้านรัฐธรรมนูญ 2550 กับกลุ่มไทยรักไทยบางคนอาจไม่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์โดยตรง แต่พวกเขามองปัญหาแบบแยกส่วน เป็นสูตรสำเร็จตามรัฐศาสตร์ตะวันตกมากไป หรือไม่ก็เป็นพวกมีวิธีคิดเป็นแบบ 2 ขั้ว สุดโต่งอย่างง่ายๆมากกว่าที่จะมองการเมืองตามความเป็นจริงว่า
       
       ในสถานการณ์การเมืองไทยที่มีปัญหาและข้อจำกัดจำนวนมากโดยที่ประชาชนไม่ได้เข้มแข็งมากพอที่จะเลือกสิ่งที่ฝ่ายประชาชนต้องการมากที่สุดได้นั้น การมีรัฐธรรมนูญใหม่และมีการเลือกตั้งใหม่ น่าจะดีกว่าไม่มี
       
       แม้จะมีรัฐธรรมนูญที่มีข้อบกพร่องบ้างและถึงเลือกตั้งไปแล้ว ก็ยังคงมีนักการเมืองประเภทเก่ากลับมาได้อีกอยู่ดี แต่ประชาชนน่าจะมีอำนาจต่อรองได้เพิ่มขึ้นบ้าง แม้จะได้ไม่มาก แต่ได้บางส่วนก็ดีกว่า
       
       รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งประชาชนยังจะต้องต่อสู้ในขั้นตอนต่อไปอีกยาวไกล ประชาชนที่ตื่นตัวต้องช่วงชิงโอกาสในการที่ขยายความรู้และจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนเช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ สมาคม ฯลฯ ให้ประชาชนมีความฉลาดรู้เท่าทันนักการเมือง รู้เท่าทันทหาร ขุนนาง อย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่งแบบถาวร
       
       ความจริงของการเมืองไทยคือกลุ่มชนชั้นสูง 2 – 3 กลุ่ม เช่นกลุ่มทุนทักษิณ กลุ่มขุนนาง/ทหาร กลุ่มทุนอื่นๆกำลังเล่นการเมืองยื้อแย่งอำนาจกันและพยายามดึงประชาชนเป็นพวก ประชาชนถ้ายังไม่เข้มแข็งมากพอจะได้อะไรมาง่ายๆแบบขาวกับดำ ประเภทคว่ำบาตรรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วจะได้อะไรที่ดีกว่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝัน เพราะการได้พวกตัวแทนนายหน้าของทักษิณกลับเข้ามา ยิ่งจะเลวร้ายมากขึ้น ถึงรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ มีการเลือกตั้งใหม่ ได้ชนชั้นสูงกลุ่มอื่นมาเป็นรัฐบาล ประชาชนก็ยังต้องคิดหาทางต่อสู้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไปอีกหลายยก
       
       ประชาชนควรมองการเมืองอย่างจำแนกแยกแยะและอย่างมีจังหวะก้าว เพราะถึงสมมติว่ามีการลงประชามติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญได้จริง คณะรัฐประหารก็ยังอยู่ และเขาจะจับมือกับรัฐบาลสุรยุทธ์นำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาปรับใช้ใหม่ได้อยู่ดี
       
       ประชาชนควรศึกษาประชาธิปไตยของภาคประชาชนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ควรตกเป็นเครื่องมือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประชาชนสามารถวิจารณ์ข้อบกพร่องของคมช,รัฐบาลสุรยุทธ์ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กฎหมายความมั่นคงและกฎหมายอื่นๆ ได้ โดยควรใช้เวทีอื่น ใช้เงินของตัวเอง (เงินของรัฐ ก็คือ เงินจากภาษีประชาชนเพียงแต่ต้องรู้จักใช้อย่างระมัดระวัง) อย่าไปใช้เวทีและเงินของพวกทักษิณ ในสถานการณ์ที่มีตัวเลือก 2 ตัวแค่จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 การลงประชามติรับ อาจจะถือเป็นเพียงยุทธวิธีหนึ่งในการต่อสู้อย่างมีจังหวะก้าว การรับไม่ได้แปลว่าเราเห็นด้วยกับคมช,รัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญทั้งหมด
       
       จริงๆแล้วประชาชนยังต้องต่อสู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองให้ก้าวหน้า อิงประโยชน์ภาคประชาชนมากกว่านี้ในโอกาสต่อไปอีก แต่ประชาชนคงต้องใช้เวลาสะสมกำลังและพัฒนาความเข้มแข็งไปอีกระยะหนึ่ง จึงจะมีความพร้อมพอที่จะสู้กับระบอบเผด็จการ ไม่ว่าเผด็จการทหาร/ขุนนาง หรือเผด็จการนายทุนกลุ่มใดในโอกาสต่อไปได้

วิทยากร เชียงกูล

 

สายด่วนจากสมาชิกใหม่


 สวัสดีครับผมชื่อจามรพงศ์  เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์วิทยากร  เชียงกูล (ยอมรับว่า งง เพราะไม่รู้จักคนชื่อนี้ แต่ชื่อหลังนี่แน่นอนก็ทำเว็บไวต์นี้เพื่อท่านอาจารย์อยู่แล้ว)

……….

คุยกันได้สักพักก็ถามว่า…

“ผมขอสมัครเป็นสมาชิกของชมรมฯ จะได้ไหมครับ ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรหรือเปล่า…”

ทางชมรมขอเรียนชี้แจงให้ทราบเลยนะค่ะว่าไม่เสียค่าสมัครหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ส่วนที่ทุกคนจะต้องลงทุนก็คือจิตใจค่ะ..จิตใจที่บริสุทธิ์เพราะเว็บไซต์ของชมรมได้ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และบทความต่างๆ ของอาจารย์วิทยากร เชียงกูล และในเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์  เพื่ออยากจะให้ผลงานของอาจารย์หรือบทความ ต่างๆ ที่อาจารย์ได้รวบรวม และได้เขียนขึ้น เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ในอีกช่องทางหนึ่ง   จึงทำให้เกิด “ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล” ในโลกไร้พรมแดนแห่งนี้

ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ค่ะ  คุณจามรพงศ์  วิจิตรใจพันธ์  ด้วยความยินดีค่ะ ดีใจและภูมิใจค่ะที่มีบุคคลร่วมสานฝันในแนวเดียวกัน  คิดว่าอาจารย์วิทยากร คงดีใจด้วยเช่นกัน แค่เพียงได้คุยกันไม่กี่นาทีก็พอจะรู้ว่าคุณพี่เปี๊ยก (ท่านอนุญาตให้เรียกค่ะ) ฝีปากเยี่ยมพอสมควร เลยชักชวนมาเขียนบทความร่วมกัน  อาจจะแนวเดียวกับนายมะเดี่ยวสายลม สมาชิกอีกท่านนึงของเราก็เป็นได้

ทราบมาจากพี่เปี๊ยกว่าบอบช้ำและผิดหวังกับระบอบทักษิณมาเป็นอย่างมาก เชื่อว่าถ้าประชาชนทุกคนร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน สักวัน เราจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ในไม่ช้าค่ะ

ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร  เชียงกูล