RSS

Category Archives: บทกวี

บางตอนจาก “จดหมายถึงมิเกวลยา”


ฉันคิดถึงคุณ และเวเนซุเอลาที่ชื่นชมของคุณด้วย
หลายปีมาแล้ว ฉันได้พบรักศึกษาผู้หนึ่ง
ซึ่งมีรอยแผลเป็นที่หน้าแข็ง
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: ,

บทกวี : ชายห้าคน


มีคนมาพาพวกเขาออกไปเมื่อตอนพระอาทิตย์ขึ้น
ยังลานหิน
และจับพวกเขาเข้าแถวชิดกำแพง
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: ,

คำลาในยามที่จะจากกัน


แม่ของฉัน
(โอ  แม่ผิวดำทั้งหลายผู้ที่ลูกของท่านต้องจากไป)
แม่ได้สอนให้ฉันคอยและหวัง
เหมือนกับที่แม่ได้ทำมาตลอดช่วงเวลาอันร้ายอาจนั้น
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: ,

จะอยู่ไยเยี่ยงคนขลาด


จำได้ครั้งเป็นเด็กตัวเล็กจ้อย
โดนเพื่อนต่อยร้องจ้าวิ่งมาบ้าน
เรียกหาแม่วุ่นไปใส่เล่ห์พาล
แต่ป่วยการแม่กลับสอนสั่งย้อนมา

“จะอยู่เยี่ยงคนขลาดหวาดเขาหรือ
เรามีมือมีเท้าเท่าเขาหนา
หากเจ้าไม่คิดสู้ผู้บีฑา
จะมีค่าใดให้เห็นว่าเป็นคน”
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ:

วิทยากร เชียงกูล ผู้สร้างอุดมการณ์แห่งการต่อสู้


วิทยากร

วิทยากร เชียงกูล ผู้สร้างอุดมการณ์แห่งการต่อสู้

เหตุเกิดจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับสายลมผู้โชคดี  โชคดีแบบที่ไม่เคยคิดฝันมาก่อนในชีวิตของสายลม
ผมได้มีโอกาสได้เข้าเยี่ยมคารวะท่านผู้อาวุโส ที่เก่งและมากด้วยความรู้และความสามารถของท่าน ท่านผู้นี้คือ  อ.วิทยากร เชียงกูล  ครับ
ความประทับใจและไมตรีของท่านอาจารย์ สายลมจะไม่มีวันลืมครับ
และที่สำคัญ มีคำพูดประโยคหนึ่งที่สายลมได้บอกความในใจกับท่านอาจารย์ว่า ” บทกวีของท่านอาจารย์ มีอิทธิพลกับชีวิตของสายลมอย่างมากมายมหาศาล “ และที่กล่าวมานั่นคือความจริงจากหัวใจของนายสายลมผู้นี้ครับ
………………………..เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน   บทกวีบทนี้สายลมเชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้สัมผัสถึงความรู้สึกบางอย่าง เมื่อได้อ่านบทกวีบทนี้ สายลมก็เช่นกันครับ                               ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
                               ฉันจึง มาหา ความหมาย
                               ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย
                               สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
ในห้วงของการต่อสู้ทั้งกับความรู้สึกภายในตัวเองและกระแสสังคมอันเชี่ยวกราก การถาโถมของกระแสสังคมความคิดที่มุ่งมองแต่ตัวเองเป็นหลัก การเสียสละเป็นเรื่องไกลตัว  ในช่วงที่สายลมเป็นนักศึกษา และเรียกตัวเองว่า นักกิจกรรม ถือได้ว่าบทกวีบทนี้มีผลต่อชีวิต ตั้งแต่วันแรกที่ได้อ่านจากปกหลังของสมุดค่ายจนถึงทุกวันนี้ยังคงจดจำได้ขึ้นใจ เป็นการเริ่มต้นความคิดที่จะสร้างสรรค์สังคม ให้อุดมและงดงาม ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา…………………….

มีหลากหลายสิ่งอยากจะสื่อสารให้ผู้คนได้รับรู้
มีมากมายหลายอย่างอยากจะบอกกับคนทุกคน
………………………
เรายังหวัง  จะทำดี
สร้างสรรค์สังคม ให้อุดม และงดงาม
                           เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง………หรือจึงมุ่งมาศึกษา 
                     เพียงเพื่อปริญญา  …………เอาตัวรอดเท่านั้นฤๅ
                     แท้ควรสหายคิด     …………และตั้งจิตร่วมยึดถือ
                     รับใช้ประชาคือ    …………….ปลายทางเราที่เล่าเรียน

………………………..

และอีกมากมายในความรู้สึกครับ
โอกาสดีดี สายลมเย็น ๆ จะมาบรรยายความรู้สึกอุ่น ๆ ให้อิ่มเอมกันนะครับ
ขอบคุณพี่หนูนิดครับที่ทำให้ สายลมได้มาเยี่ยมคารวะท่านอาจารย์วิทยากร เชียงกูล ในดวงใจของสายลม

 

ทางแก้ไขความขัดแย้ง ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ใช้เหตุผล และสันติวิธี


ทางแก้ไขความขัดแย้ง ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ใช้เหตุผล และสันติวิธี      ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองแบบแบ่งเป็น 2 ขั้วมีต้นเหตุมาจาก การคอรัปชั่นแบบผลประโยชน์ทับซ้อน  ของรัฐบาลทักษิณ ที่ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธา รัฐบาลขาดความชอบธรรม ประชาชนกลุ่มที่รู้เท่าทันออกมาคัดค้าน แต่รัฐบาลใช้วิธียุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม จ้างพรรคเล็ก แทรกแซงกกต.ชุดเก่า จัดตั้งกลุ่มสนับสนุนมาเล่นงานกลุ่มคัดค้าน ซึ่งทำให้ความขัดแย้งยิ่งขยายตัว       ทางแก้ไขความขัดแย้งคือต้องเปิดเวทีให้คนทั้ง 2 กลุ่มได้อภิปรายกันโดยใช้เหตุผล มากกว่าอารมณต้องเน้นประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่มากกว่านักการเมือง / พรรคการเมือง และต้องสันติวิธี      การตั้งกกต.ใหม่ และเลือกตั้งใหม่ยังไม่อาจแก้วิกฤติทางการเมืองได้อย่างแท้จริง เพราะความชอบธรรมของรัฐบาลไม่ได้อยู่แค่การได้รับเลือกได้คะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่ง แต่อยู่ที่การยอมรับการนับถือของประชาชนทุกวงการ อยู่ที่การแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็น เช่น การสอบสวน และลงโทษผู้คอรัปชั่น แสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน และใช้อำนาจในทางที่ผิด การยอมรับสิทธิเสรีภาพประชาชนในการคัดค้านระบอบทักษิณทำให้เกิดปัญหาทางโครงสร้างและเสี่ยงต่อวิกฤติครั้งใหญ่ที่รุนแรงกว่าเก่า      ที่นักวิชาการต้องขนานนามนโยบาย มาตรการ และพฤติกรรมของรัฐบาลชุดนี้ว่า ระบอบทักษิณ”  เพราะมีลักษณะเฉพาะ เช่นการรวบอำนาจผูกขาดและแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้นโยบายพัฒนาประเทศแบบเกินพอหรือแบบกอบโกยล้างผลาญ เปิดเสรีให้ทุนต่างชาติและทุนขนาดใหญ่มากเกินไป เร็วเกินไป ถลุงใช้ทรัพยากรรวมทั้งเอาเงินอนาคตมาใช้เพื่อหาเสียง และครอบงำหลอกลวงประชาชนชนบทให้มีความหวังแบบไม่สมจริง บริโภคและเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น       ระบอบทักษิณทำให้คนรวยส่วนน้อยรวยขึ้น คนส่วนใหญ่เป็นหนี้มากขึ้น เศรษฐกิจเติบโตแบบฉาบฉวยในระยะสั้น แต่ประชาชนและชุมชนอ่อนแอ เกิดความไม่สมดุล ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงเพิ่มขึ้น และจะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ ซึ่งจะรุนแรงกว้างขวางยิ่งกว่าวิกฤติเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 เพราะ1.    เศรษฐกิจไทยยิ่งผูกพันกับต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐ มากขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเป็นขาลง ฟองสบู่จะแตกภายในไม่กี่ปีนี้ จะดึงให้ไทยมีปัญหาตาม 2.    เศรษฐกิจไทยผูกพันกับการใช้น้ำมันซึ่งราคาสูงอย่างไม่มีทางลดลง มากเกินไป (การสั่งเข้าน้ำมันเพิ่มจากปีละ สองแสนล้านบาทเป็นเจ็ดแสนล้านบาท ในรอบ 5 ปี) 3.    ทรัพยากร และงบประมาณถูกรัฐบาลนี้ถลุงเพื่อหาเสียง และกระตุ้นธุรกิจการค้า รวมทั้งรัฐบาลก็ขายรัฐวิสาหกิจดีๆ เช่น ปตท. ให้เอกชนเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้ทรัพย์สินดี ๆ ลดลง ทั้งรัฐบาลเป็นหนี้จากการกู้ และออกพันธบัตรมากยิ่งกว่ารัฐบาลใดที่ผ่านมา 4.    ภาคธุรกิจเอกชน ประชาชนระดับกลาง และระดับล่างเป็นหนี้สินกันอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเมื่อปี พ.ศ. 2540       ดังนั้นถึงคุณทักษิณจะเว้นวรรค ให้คนอื่นในไทยรักไทยขึ้นมาเป็นนายกฯ แทน ระบอบทักษิณก็ยังเป็นอันตราย ถึงพรรคประชาธิปัตย์ จะชนะเลือกตั้งได้ขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นโยบายหลักที่สนับสนุนเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯไม่ต่างไปจากรัฐบาลทักษิณก็ยังเป็นปัญหา นโยบายการพัฒนาประเทศ ตามกระแสทุนนิยมโลก จะทำคนรวย คนชั้นกลางได้รับประโยชน์ แต่คนจน และประเทศเสียประโยชน์ เป็นนโยบายที่ตรงข้ามกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง / การพัฒนาอย่างยั่งยืน       ดังนั้นประชาชนจะต้องพัฒนาแนวคิดใหม่ พรรคใหม่ที่มีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมที่ก้าวหน้ากว่านโยบายแบบตลาดเสรีนิยม เช่น ต้องเน้นความเป็นชาตินิยม ประชาธิปไตยสังคม สหกรณ์ และเศรษฐกิจพอเพียงในระดับประเทศ ที่ต้องผ่าตัดทั้งระบบโครงสร้าง เช่นต้องปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร ปฏิรูประบบภาษี การคลัง และปฏิรูปรัฐวิสาหกิจแทนการแปรรูป ปฏิรูปการเจรจาการค้าเสรี แบบคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนมากกว่าภาคธุรกิจเอกชน ฯลฯผ่าตัดปฏิรูปโครงสร้างทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม      การจะแก้ไขวิกฤติทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ต้องคิดถึงนโยบายทางเลือกที่มุ่งเศรษฐกิจพอเพียง การกระจายที่เป็นธรรม และยั่งยืน นโยบายนี้จะเป็นไปได้ ต้องการการผ่าตัดปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมครั้งใหญ่      นั่นก็คือ ทางเศรษฐกิจ จะต้องปฏิรูประบบภาษี และงบประมาณ เพื่อกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา และการมีงานทำไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงเป็นธรรม ส่งเสริมระบบสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และบริษัทมหาชน แทนธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ และเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาแบบเน้นความเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เป็นการเน้นการพัฒนาคน เศรษฐกิจและตลาดภายในประเทศแบบคำนึงถึงคุณภาพชีวิต และความสุขของคนส่วนใหญ่ การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงหรือเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองในระดับประเทศ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาทางเลือก แทนการพัฒนาตามกระแสทุน และเทคโนโลยีแบบมุ่งหากำไรสูงสุดของเอกชน       ในทางการเมือง จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบให้ประชาชนมีส่วนร่วมและถอดถอนเจ้าหน้าที่รัฐได้ง่ายขึ้น ปฏิรูปปปช. และองค์กรอิสระอื่น ๆ เพิ่มความเข้มแข็งของมาตรการที่จะใช้เพื่อป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น/ผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างได้ผลแบบที่ เช่นสิงคโปร์ ฮ่องกง ฯลฯ ทำสำเร็จมาแล้ว ควรมีการกำหนดให้รัฐต้องให้ทั้งสิทธิเสรีภาพ แก่สื่อมวลชน และประชาชน และงบอุดหนุน เพื่อพัฒนาองค์กรอิสระ พรรคการเมืองใหม่ สหภาพแรงงาน สมาคมชาวนาชาวไร่ กลุ่มองค์กรต่างๆของประชาชน       ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน โดยสะดวก และสื่อมวลชน นักวิชาการ องค์กรประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ เพื่อที่องค์กรเหล่านี้จะได้มาช่วยกันตรวจสอบคานอำนาจ การเมืองภาครัฐได้เพิ่มขึ้น นี่คือประชาธิปไตยประชาชนอย่างแท้จริง ประชาะปไตยที่ส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบคัดค้านนักการเมือง / เจ้าหน้าที่รัฐตลอดเวลา ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เลือกตั้งผู้แทนสี่ปีครั้งอย่างเดียว ไม่ใช่เผด็จการของพรรคการเมืองที่มีผู้แทนเกินครึ่งหนึ่งของสภา      ในทางสังคม ต้องปฏิรูปการจัดการศึกษาทุกระดับชั้น ทุกรูปแบบให้มีคุณภาพสอดคล้องกับการทำงานของสมอง และเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ปฏิรูปวิธีการสอนใหม่ ให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น ทำวิจัย เพื่อสร้างภูมิปัญญาใหม่ ที่เหมาะกับสังคมไทย ปฏิรูปสื่อสารมวลชน จัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ให้มีรายการข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพลเมือง และยกระดับการพัฒนาทางสังคม ปฏิรูปกิจกรรมด้านศาสนาศิลปะวัฒนธรรม  และการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชน และประชาชน มีค่านิยมที่ดีงาม เช่น ความซื่อสัตย์ ความเป็นธรรม ความเอื้ออาทร เห็นแก่ส่วนรวมรู้จักอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อส่วนรวมประชาชนต้องขยายแนวคิด และการจัดตั้งองค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างใช้ปัญญา      การวิพากษ์คัดค้านระบอบทักษิณ คือการแก้ไขปัญหาสถานะการณ์เฉพาะหน้าที่จำเป็น แต่ประชาชนต้องคิดเผื่อไปถึงการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองของประเทศไทย ไม่ว่าไทยรักไทย หรือพรรคไหนจะได้มาเป็นรัฐบาลด้วย      ภาคประชาชนต้องจัดตั้งองค์กรของตนเอง รวมทั้งตั้งพรรคการเมืองแนวใหม่ เพื่อศึกษาเผยแพร่ผลักดันให้เกิดความรู้ที่เท่าทันระบอบทักษิณ และระบอบโลกาภิวัฒน์ เข้าใจสภาพสาเหตุ และทางแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งต้องมุ่งไปสู่การปฏิรูปเชิงโครงสร้างทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมไปในแนวทางชาตินิยม ประชาธิปไตยสังคม สหกรณ์ และเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีโอกาสได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม มีชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเพียง เป็นธรรม เป็นประชาธิปไตย มีคุณธรรม และจิตสำนึกเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน มากกว่าแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมอย่างที่ทุกรัฐบาล และทุกพรรคใหญ่ยึดเป็นแนวทางอยู่ในปัจจุบันวิทยากร เชียงกูลคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

 


เพลงเถื่ภ??

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทำไมฉันจึงมาหาความหมาย


กลภ??3

 

บทกวีถึง วิทยากร เชียงกูล


กลภ??1

 

กลอน ผู้นำแห่งการหาความหมาย


กลภ??

 

คำสาปแช่ง : บทกวี


ฟังนี่
พวกเวียดกงหกคนเดินผ่านหมู่บ้านของฉันเมื่อวาน
ด้วยเหตุนี้ หมู่บ้านของฉันจึงถูกระเบิดเสียเรียบราบ
ทุกคนเสียชีวิตหมด

เมื่อฉันกลับมาที่หมู่บ้านในวันนั้น
ไม่มีอะไรเหลือให้เห็น นอกจากหมอกฝุ่น และแม่น้ำ ซึ่งยังคงไหลอยู่
เจดีย์ไม่เหลือ แม้แต่ยอดหรือฐาน
มีแต่เสาบ้านเท่านั้นที่ยังเหลืออยู่ คงไม่ถูกไฟเผาผลาญจนหมดสิ้น

ณ ที่นี้ภายใต้ดวงดาวซึ่งสงบอยู่
ต่อหน้าคนทุกคนซึ่งยังมีชีวิตอยู่บนพื้นพิภพ
ขอให้ฉันได้เปล่งเสียงประฌามสงครามที่สกปรก
การฆาตกรรมระหว่างพี่ชายและน้องชายครั้งนี้ !
ฉันมีคำถามอยู่ข้อหนึ่ง
ใครกันเล่าที่ผลักดันให้เราต้องเข่นฆ่ากัน ?

ใครที่ฟังอยู่ โปรดเป็นพยานให้ฉันด้วย
ฉันยอมรับสงครามนี้ไม่ได้
ฉันไม่เคยยอมรับได้ และจะไม่มีวันยอมรับ
ฉันจะพูดประโยคนี้เป็นพันครั้ง ก่อนที่ฉันจะถูกฆ่าตาย
ฉันรู้สึกเหมือนดั่งนกซึ่งตายเพื่อพวกพ้องของมัน
เลือดไหลหยดจากจะงอยปากที่แตกหัก และร้องออกมาว่า
จงระวัง ! หันไปเผชิญหน้ากับศัตรูที่แท้จริงของเธอ

ความทะเยอทะยาน ความรุนแรง ความเกลียดชัง และความโลภ
คนไม่อาจเป็นศัตรูของเราได้ แม้แต่คนที่ถูกเรียกว่า

เวียดกง”

เพราะถ้าเราฆ่าคนจะมีพี่น้องที่ไหนเหลือ
เราจะมีชีวิตอยู่กับใคร

ติช นัท ฮัน
(กวี เวียดนามภาคใต้ เป็นทั้งนักวิชาการและนักบวชในพุทธศาสนา)

วิทยากร เชียงกูล แปล
รวบรวมไว้ในหนังสือ “ฝันของเด็กชายชาวนา – รวมเรื่องสั้น บทละคร บทกวี หลังยุค ฉันจึงมาหาความหมาย
พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2522

 

ฉันไม่ได้ร้องเพลง….


เมื่อราตรีมืดสนิทและลึกซึ้ง
ฉันไม่ได้ร้องเพลงแห่งความรัก
ฉันไม่ได้ร้องเพลงแห่งความรัก
เพื่อดอกไม้ในหัวใจของฉัน
แม้ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ฉันจะร้องเพลงแล้ว เพลงเล่าสลับกันไป
ป่วยการ ที่จะเรียกฉันว่า คนไม่มีหัวใจ
ถ้าท่านรู้จักหัวใจฉันดีแล้ว
คนที่รักฉันต้องรัก มนุษยชาติด้วย
และเป็นความรักที่มากกว่า อารมณ์รุนแรงอันลึกลับ
เรากำลังอยู่ในศตวรรษแห่งสงคราม
ช่วงเวลาซึ่งฉันให้คุณค่ายิ่งกว่าชีวิต, ยิ่งกว่าทองคำ
ความรักคือ ความเย็นฉ่ำแห่งฤดูใบไม้ผลิ
สงครามคือ เถ้าถ่านจากภูเขาไฟซึ่งปลิวกระจายไปในท้องฟ้า
ฉันปัดเพลงรักของฉันไปทางหนึ่ง
จนกว่าอรุโณทัยจะสาดส่องแมกไม้
เมื่อมันกระทบใบหน้า และดวงตาของฉัน
เพลงเหล่านั้น จะไม่มีวันสิ้นสุดประดุจเดียวกับน้ำตา
คืนนี้
ขอให้เรามาร้องเพลงมาร์ชกัน

ชินชิ (สิงคโปร์)
วิทยากร เชียงกูล (แปล)

จากหนังสือ ฝันของเด็กชายชาวนา
รวมเรื่องสั้น บทละคร บทกวี หลังยุค “ฉันจึงมาหาความหมาย”
พิมพ์ครั้งแรก กรกฏาคม พ.ศ. 2522