RSS

Category Archives: รัฐธรรมนูญ

ทางออกของปัญหา:กกต. ควรเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในบัตรลงประชามติได้


ทางออกของปัญหา:กกต. ควรเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในบัตรลงประชามติได้
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 สิงหาคม 2550 12:33 น.
       การลงประชามติที่ดี ควรผ่านการประชาพิจารณ์ หรือการประชุมอภิปรายข้อดีข้อเสียของเรื่องที่จะลงประชามติอย่างกว้างขวางรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล เพราะการลงประชามติ เปิดให้ประชาชนเลือกได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ในประชาพิจารณ์ เราอาจจะช่วยกันสร้างทางเลือกที่ 3 ที่ 4 ที่ดีกว่าทางเลือกแค่ 2 ทางได้
       
       การลงประชามติเรื่องเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหา 2 ด้าน คือ 1. การลงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นเรื่องที่ใหญ่โต
       
       ซับซ้อนมากเกินไป การลงประชามติในประเทศอื่นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องประเด็นเดียวที่เห็นชัดๆเช่น การลงประชามติของประเทศในยุโรปบางประเทศว่าจะเข้าร่วมสหภาพยุโรปหรือไม่ จะเปลี่ยนเงินตราของประเทศตนไปเป็นเงินยูโรของสหภาพยุโรปหรือไม่
       
       2. มีการทำประชาพิจารณ์อภิปรายข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติน้อยเกินไป ทั้งเรื่องมีเวลาจำกัด งบประมาณจำกัดและรัฐบาลไม่เข้าใจความสำคัญของเรื่องนี้
       
       ครม.ไปมีมติครม. ทำไมก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลต้องวางตัวเป็นกลาง ในขณะที่ฝ่ายอำนาจเก่าไทยรักไทยและนักวิชาการปัญญาชนประเภทคิดแบบสองขั้วสุดโต่งและประเภทนักเย้ยหยัน นักวิจารณ์ว่าทุกฝ่ายแย่กว่าตัวเองหมดเป็นฝ่าย รณรงค์ให้คนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอย่างแข็งขัน โดยพวกเขาเลือกใช้จุดอ่อนและจิตวิทยาง่ายๆแบบเร้าอารมณ์ มาโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นตามพวกเขา แต่ไม่ได้ให้ข้อมูล จุดแข็ง และจุดอ่อน ของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างรอบด้านและเป็นธรรม
       
        จากการที่คณะอำนวยการการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน ได้ออกไปรับฟังความคิดของประชาชนระดับรากหญ้าทั่วประเทศ เราได้พบว่า ประชาชนมีข้อเสนอดีๆ ที่จะทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นจำนวนมาก แต่น่าเสียดายที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ คือ สสร.ได้ยินหรือรับข้อเสนอไปพิจารณาเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นส่วนน้อย เพราะ สสร.ใช้ความคิดเห็นของตัวเองเป็นหลักมากกว่า โดยเฉพาะประเด็นให้อำนาจผู้พิพากษา/ข้าราชการในการเลือกสว.และองค์กรอิสระ และลดอำนาจประชาชนในเรื่องนี้ลง ทำให้ประชาชนส่วนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ค่อยพอใจร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ไม่น้อย
       
       ในหมู่องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชนที่ไม่ใช่พวกนิยมทักษิณก็เกิดความเห็นที่แตกกันเอง นักพัฒนาเอกชนจากกรุงเทพ เช่น จอน อึ๊งภากรณ์ คัดค้านและโน้มน้าวตัวแทนองค์กรพัฒนาที่มาประชุมเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ ให้โหวตคัดค้านรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของคนมาประชุม ซึ่งก็ไม่ใช่เสียงที่เป็นเอกฉันท์ แต่ภาพที่ออกมาประกาศต่อสาธารณชนเหมือนกับว่า องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งหมดนับร้อยองค์กร ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญความจริงก็คือ องค์กรพัฒนาเอกชนจากภูมิภาคต่างๆ ได้กลับไปประชุมร่วมกันในภูมิภาค และมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป บางภูมิภาคเห็นว่า ควรเห็นชอบไปก่อนแล้วไปผลักดันแก้ไขทีหลัง บางภูมิภาคที่ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนเห็นแตกต่างกัน ได้เสนอแบบประนีประนอมให้ฟรีโหวต คือไม่มีมติในเรื่องนี้ แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละคน ว่าใครจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
       
       ประชาชนจำนวนไม่น้อยคิดว่าคงเห็นชอบแบบมีเงื่อนไขว่าอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปได้ ซึ่งทำให้ผมเกิดแนวคิดที่อยากเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ผู้ทำหน้าที่จัดการลงประชามติครั้งนี้ ว่าถ้าจะให้ดีแล้ว กกต.ควรเปิดใจกว้าง เปิดโอกาสให้ประชาชนเขียนความเห็นแสดงเหตุผลของตนเองเพิ่มเติมด้านหลังของบัตรลงประชามติได้ โดยไม่ถือเป็นบัตรเสียถ้ากกต.เห็นด้วยก็ควรแถลงเรื่องนี้และประชาสัมพันธ์ออกไป และกกต.ควรจัดตั้งทีมงานหรือของบประมาณจากรัฐมาให้นักวิชาการที่เป็นกลางรวบรวมสรุปความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลเสนอแนะต่อรัฐสภาใหม่และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในโอกาสต่อไป
       
       ประเทศต้องเสียเงินเสียกำลังคนในการจัดการให้ประชาชนลงประชามติทั้งทีนับพันล้านบาท น่าจะใช้เป็นโอกาสในการรับฟัง รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนไปด้วย จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กว่าแค่การกาและนับคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ถ้า กกต. ใจกว้างและยืดหยุ่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมกว่าแค่ทำงานให้เสร็จไปวันๆ ให้ประกาศออกมาเลย ประชาชนจะรู้สึกอยากไปลงประชามติมากขึ้น รู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมออกความเห็น ไม่รู้สึกอึดอัดว่าถูกมัดมือชก ให้กาแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
       
       ไม่ว่าการลงประชามติจะออกมาอย่างไร คมช.และรัฐบาลควรเดินหน้าประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งและจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้การเมืองเดินหน้าต่อ ข้อบกพร่องทั้งหลายเป็นเรื่องธรรมดา ถึงคนที่ออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่บริสุทธิ์ใจไม่ใช่ฝ่ายทักษิณก็ไม่มีกำลังมากพอที่จะบันดาลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ การเมืองที่เป็นจริงคือประชาชนต้องต่อสู้ต่อไปอีกหลายยก รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อการปฏิรูปการเมืองเท่านั้น
       
       ประชาชนยังต้องต่อสู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองให้ก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ภาคประชาชนกว่านี้ในโอกาสต่อไปอีก เช่น ผลักดันการพัฒนาระบบสหกรณ์ สังคมนิยมประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ ชุมชนสวัสดิการ เศรษฐกิจพอเพียง มาแทนที่ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาด เป็นต้น
       
       ทำอย่างไรจึงจะผลักดันให้เกิดพรรคการเมืองที่แนวนโยบายที่ก้าวหน้า ที่กล้าปฏิรูปเพื่อทำให้ประชาชนเข้มแข็งอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีแค่พรรคแนวส่งเสริมตลาดเสรี ที่ใช้นโยบายประชานิยม และสวัสดิการแบบลอยๆ มาหาเสียงแบบให้ประชาชนอยู่ภายใต้ระบอบอุปถัมภ์ต่อไป ซึ่งไม่ได้ต่างจากไทยรักไทย
 

ทางออกของปัญหา:คิดให้ดีรับ-ไม่รับ “ร่างรัฐธรรมณูญ”


ทางออกของปัญหา:คิดให้ดีรับ-ไม่รับ “ร่างรัฐธรรมณูญ”
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 กรกฎาคม 2550 12:52 น.
        การที่กลุ่มอดีตพรรคไทยรักไทยและกลุ่มแนวร่วม ออกมารณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง รัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากคณะรัฐประหาร และเป็นรัฐธรรมนูญแบบ อำมาตยาธิปไตย เป็นวิธีการเล่นการเมืองและการทำตัวเป็นผู้รู้ดีกว่าประชาชนแบบเก่าๆ ที่ไม่ช่วยให้ประชาชนได้ข้อมูลที่ดี ฉลาดและเข้มแข็งขึ้น
       
       เพราะพวกเขาไม่ได้ให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าร่าง รัฐธรรมนูญ 2550 มีจุดแข็งจุดอ่อนต่างจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 อย่างไร
       
        การอ้างว่ารัฐบาลทักษิณมาจากการเลือกตั้งจึงเป็นประชาธิปไตย ส่วนรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารเป็นเผด็จการ เป็นการมอง 2 ขั้วสุดโต่งอย่างง่ายๆมากไปหน่อย
       จริงๆแล้วเราควรมองอย่างจำแนกว่า รัฐบาลนั้นๆมาจากการเลือกตั้งที่โปร่งใส ชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน รัฐบาลนั้นๆแทรกแซงองค์กรอิสระ ใช้อำนาจคดโกงหาผลประโยชน์ ปราบปรามลิดรอนเสรีภาพของประชาชนหรือไม่เพียงใด
       
       ถ้าไม่มีองค์ประกอบความเป็นประชาธิปไตยในหลายๆด้าน ถึงจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบซื้อเสียงใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์รัฐบาล เช่น รัฐบาลทักษิณ ก็ไม่ควรถือเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย คำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกรณีพรรคไทยรักไทยไปจ้างวานพรรคอื่นว่าทำผิดจริง ให้ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี อธิบายให้เห็นชัดว่าพรรคไทยรักไทยทำลายประชาธิปไตยอย่างไร
       
        รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ก็ไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นกัน แต่ การรัฐประหารในแต่ละประเทศ ในแต่ละครั้ง มีฐานะในสังคมที่ต่างกัน ต้องวิเคราะห์เป็นกรณีๆไป
       
       การมองตามตำราตะวันตกอย่างง่ายๆ ว่ารัฐประหารทุกครั้งเป็นเผด็จการไม่อาจใช้อธิบายการเมืองไทยได้ลึกพอ การรัฐประหารในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คือการใช้กำลังยึดอำนาจจากระบอบราชาธิปไตยเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
       
       การรัฐประหารปี 2520 โดยกลุ่มพลเอกเกรียงศักดิ์ คือการโค่นล้มรัฐบาลจารีตนิยมขวาจัดที่มาจากเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชน 6 ตุลาคม 2519 และเป็นการนำระบบประชาธิปไตยครึ่งใบมาใช้ใหม่ แม้รัฐบาลเกรียงศักดิ์และรัฐบาลหลังจากนั้นจะเป็นกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำมาตยาธิปไตย ก็เป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลช่วง 6 ตุลาคม 2519 – 2520
       
        รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือการโค่นล้มระบอบทักษิณ และการหาทางออกจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีโอกาสนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านทักษิณ การเมืองในขณะนั้นถึงทางตัน จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ก็แก้ไม่ได้ เพราะรัฐบาลทักษิณคุมเสียงข้างมาก คุมองค์กรอิสระที่สำคัญๆและมีพฤติกรรมเป็นเผด็จการชนิดไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น
       
       แม้การรัฐประหารจะเป็นวิธีการที่ล้าหลัง แต่เราน่าจะมองอย่างจำแนกได้ว่า ในบริบทการเมืองยุคใหม่ที่ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งคนชั้นกลางและพึ่งต่างประเทศค่อนข้างสูงนั้น การรัฐประหารปี 2549 แตกต่างไปจากการรัฐประหาร 2490 หรือ 2501 ที่คณะรัฐประหารเป็นรัฐบาลแบบเผด็จการอยู่ได้ยาวนาน
       
       เพราะประเทศไทยในระบบเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์นั้น ถึงทหารจะยึดอำนาจได้ แต่จะปกครองแบบเผด็จการระยะยาวไม่ได้เหมือนในยุคก่อนอีกต่อไป รัฐประหาร ปี 2534 ต้องตั้งรัฐบาลพลเรือน อานันท์ ปันยารชุน เพื่อให้ทั้งสังคมไทยและนานาชาติยอมรับ และเมื่อพลเอกสุจินดาหัวหน้าคณะรัฐประหารพยายามจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2535 โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เขาก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชนจนอยู่ในตำแหน่งนายกฯไม่ได้มาแล้ว
       
        รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเป็นภาวะเผด็จการชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และการเลือกตั้งใหม่ แม้รัฐธรรมนูญใหม่จะร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร แต่ สสร. ชุดนี้ก็มาจากนักกฎหมาย นักวิชาการ และชนชั้นนำอื่นๆ ที่มีความคิดอ่านของตัวเองและเป็นนักประชาธิปไตย (แบบชนชั้นกลาง) พอสมควร พวกเขาพยายามที่จะปรับแก้รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ดีขึ้น แม้จะมีแนวคิดแบบชนชั้นนำ เช่น สว.บางส่วนมาจากการสรรหาหรือแต่งตั้งบ้าง ให้อำนาจข้าราชการ ผู้พิพากษา มากกว่าที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมบ้าง
       
       ยกเว้น 2 – 3 ประเด็นนี้แล้วรัฐธรรมนูญ 2550 โดยภาพรวมก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 (บางอย่างดีขึ้น บางอย่างแย่ลง) ไม่ถึงกับเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนและแนวร่วมยุคทักษิณอ้าง
       
        นักวิชาการกลุ่มที่ใช้เงินนักการเมืองลงโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ว่า การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญคือการคว่ำบาตรคณะรัฐประหาร เป็นการเล่นโวหารมากกว่ามองการเมืองที่เป็นจริง
       
       การเมืองไทยตามความเป็นจริงคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาและการจัดตั้งที่เข้มแข็งพอที่จะไปขับไล่คณะรัฐประหารและเลือกตัวแทนมาร่างรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้ากว่านี้ได้ การเสนอให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 คือการถอยหลังกลับไปให้ตัวแทนทักษิณกลับเข้ามามีอำนาจ รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เขียนไว้สวยนั้นมีจุดอ่อนให้ระบอบทักษิณที่เป็นเผด็จการนายทุนและคดโกงดำรงอยู่ได้
       
       ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550 พยายามปิดช่องโหว่รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้นักการเมืองมีโอกาสรวบอำนาจได้ลดลง รวมทั้งการตอกย้ำว่ากรรมการบริหารพรรคที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคต้องเสียสิทธิเลือกตั้งไป 5 ปี นี่คือเรื่องใหม่ที่ไทยรักไทยต้องคัดค้าน เพราะถึงพวกเขาพวกเขาจะตั้งพรรคใหม่และได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก พวกเขาก็หมดโอกาสที่จะเสนอกกฎหมายนิรโทษกรรมพรรคพวกได้ นี่คือเหตุผลที่พวกเขาต้องการให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540
       
        นักวิชาการที่ร่วมคัดค้านรัฐธรรมนูญ 2550 กับกลุ่มไทยรักไทยบางคนอาจไม่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์โดยตรง แต่พวกเขามองปัญหาแบบแยกส่วน เป็นสูตรสำเร็จตามรัฐศาสตร์ตะวันตกมากไป หรือไม่ก็เป็นพวกมีวิธีคิดเป็นแบบ 2 ขั้ว สุดโต่งอย่างง่ายๆมากกว่าที่จะมองการเมืองตามความเป็นจริงว่า
       
       ในสถานการณ์การเมืองไทยที่มีปัญหาและข้อจำกัดจำนวนมากโดยที่ประชาชนไม่ได้เข้มแข็งมากพอที่จะเลือกสิ่งที่ฝ่ายประชาชนต้องการมากที่สุดได้นั้น การมีรัฐธรรมนูญใหม่และมีการเลือกตั้งใหม่ น่าจะดีกว่าไม่มี
       
       แม้จะมีรัฐธรรมนูญที่มีข้อบกพร่องบ้างและถึงเลือกตั้งไปแล้ว ก็ยังคงมีนักการเมืองประเภทเก่ากลับมาได้อีกอยู่ดี แต่ประชาชนน่าจะมีอำนาจต่อรองได้เพิ่มขึ้นบ้าง แม้จะได้ไม่มาก แต่ได้บางส่วนก็ดีกว่า
       
       รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งประชาชนยังจะต้องต่อสู้ในขั้นตอนต่อไปอีกยาวไกล ประชาชนที่ตื่นตัวต้องช่วงชิงโอกาสในการที่ขยายความรู้และจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนเช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ สมาคม ฯลฯ ให้ประชาชนมีความฉลาดรู้เท่าทันนักการเมือง รู้เท่าทันทหาร ขุนนาง อย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่งแบบถาวร
       
       ความจริงของการเมืองไทยคือกลุ่มชนชั้นสูง 2 – 3 กลุ่ม เช่นกลุ่มทุนทักษิณ กลุ่มขุนนาง/ทหาร กลุ่มทุนอื่นๆกำลังเล่นการเมืองยื้อแย่งอำนาจกันและพยายามดึงประชาชนเป็นพวก ประชาชนถ้ายังไม่เข้มแข็งมากพอจะได้อะไรมาง่ายๆแบบขาวกับดำ ประเภทคว่ำบาตรรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วจะได้อะไรที่ดีกว่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝัน เพราะการได้พวกตัวแทนนายหน้าของทักษิณกลับเข้ามา ยิ่งจะเลวร้ายมากขึ้น ถึงรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ มีการเลือกตั้งใหม่ ได้ชนชั้นสูงกลุ่มอื่นมาเป็นรัฐบาล ประชาชนก็ยังต้องคิดหาทางต่อสู้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไปอีกหลายยก
       
       ประชาชนควรมองการเมืองอย่างจำแนกแยกแยะและอย่างมีจังหวะก้าว เพราะถึงสมมติว่ามีการลงประชามติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญได้จริง คณะรัฐประหารก็ยังอยู่ และเขาจะจับมือกับรัฐบาลสุรยุทธ์นำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาปรับใช้ใหม่ได้อยู่ดี
       
       ประชาชนควรศึกษาประชาธิปไตยของภาคประชาชนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ควรตกเป็นเครื่องมือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประชาชนสามารถวิจารณ์ข้อบกพร่องของคมช,รัฐบาลสุรยุทธ์ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กฎหมายความมั่นคงและกฎหมายอื่นๆ ได้ โดยควรใช้เวทีอื่น ใช้เงินของตัวเอง (เงินของรัฐ ก็คือ เงินจากภาษีประชาชนเพียงแต่ต้องรู้จักใช้อย่างระมัดระวัง) อย่าไปใช้เวทีและเงินของพวกทักษิณ ในสถานการณ์ที่มีตัวเลือก 2 ตัวแค่จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 การลงประชามติรับ อาจจะถือเป็นเพียงยุทธวิธีหนึ่งในการต่อสู้อย่างมีจังหวะก้าว การรับไม่ได้แปลว่าเราเห็นด้วยกับคมช,รัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญทั้งหมด
       
       จริงๆแล้วประชาชนยังต้องต่อสู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองให้ก้าวหน้า อิงประโยชน์ภาคประชาชนมากกว่านี้ในโอกาสต่อไปอีก แต่ประชาชนคงต้องใช้เวลาสะสมกำลังและพัฒนาความเข้มแข็งไปอีกระยะหนึ่ง จึงจะมีความพร้อมพอที่จะสู้กับระบอบเผด็จการ ไม่ว่าเผด็จการทหาร/ขุนนาง หรือเผด็จการนายทุนกลุ่มใดในโอกาสต่อไปได้

วิทยากร เชียงกูล

 

เศรฐกิจพอเพียง ต้องเน้นความเป็นธรรม ความยั่งยืนที่ต่างจากระบอบทักษิณ


เศรฐกิจพอเพียง ต้องเน้นความเป็นธรรม ความยั่งยืนที่ต่างจากระบอบทักษิณ

รศ.วิทยากร เชียงกูล

      คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

      ถ้าทักษิณผิดพลาด ก็ไม่ควรเดินทางเดียวกับเขา

ความผิดพลาดของระบอบทักษิณไม่ได้อยู่เพียงแค่ 4 ข้อ(โกง, แทรกแซงองค์กรอิสระ,ทำให้คน    ในชาติแตกแยก, จาบจ้วงเบื้องบน) ที่คณะปฏิรูปฯ ใช้อ้างเป็นเหตุผลในการล้มระบอบทักษิณ แต่ยังอยู่ที่นโยบายพัฒนาประเทศแบบกอบโกยล้างผลาญ ภายใต้โครงสร้างทุนนิยมผูกขาดที่เป็นบริวารทุนต่างชาติ เช่น การเปิดเสรีทางการลงทุนการค้า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ให้กับต่างชาติและนายทุนใหญ่อย่างสุดโต่ง แปรทุกอย่างเป็นสินค้า และเป็นหนี้ ทำให้ประชาชนและเยาวชนบูชาเงินและหลงใหลลัทธิบริโภคนิยม มีค่านิยมเห็นแก่ตัว ฉ้อฉล ฯลฯ นโยบายทักษิณที่ดูผิวเผินเหมือนทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจเติบโต แต่จริงๆ แล้ว  ทำให้เศรษฐกิจพัฒนาอย่างไม่สมดุล สร้างหนี้ ความแตกแยกและปัญหาอื่นๆ มากมาย เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มขึ้น ส่วนทางด้านการเมืองและสังคมก็เล่นพรรคเล่นพวก หาประโยชน์ส่วนตัวจนปั่นป่วนไปหมด

      แต่นโยบายหลักของรัฐบาลกลับสานต่อนโยบายตลาดเสรีของทักษิณมากกว่าจะมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง อาจจะใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเบรคชลอพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสุดโต่งให้ช้าลงมาบ้าง สอบสวนเอาผิดคนโกงบางคน และอาจร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้ดีขึ้นนิดหน่อย แต่รัฐบาลชุดนี้ยังขาดความเข้าใจและความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปแบบเปลี่ยนแปลงการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมครั้งใหญ่ โดยเฉพาะด้านการสนับสนุนเพิ่มความรู้ ความคิด อ่าน และการจัดตั้งองค์กรของประชาชน เพื่อให้รู้เท่าทัน และมีอำนาจต่อรองกับนักธุรกิจการเมืองได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญยิ่งกว่าร่างรัฐธรรมนูญใหม่

      รมต.เศรษฐกิจรัฐบาลชุดนี้ตีความคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงแบบประนีประนอมกับระบบตลาดเสรีซึ่งที่จริงแล้วก็คือระบบทุนผูกขาด เช่น กล่าวว่าเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ขัดกับการเปิดการลงทุนและการค้าเสรี ไม่ขัดกับการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ไม่ขัดกับการตลาดหลักทรัพย์ สรุปแล้วก็ดูเหมือนไม่มีอะไรขัดกับนโยบายการพัฒนาแบบที่รัฐบาลทักษิณทำมามากนัก นอกจากรัฐบาลทักษิณจะโกงและเปิดเสรีสุดโต่งไปหน่อย แต่ความจริง นโยบายแบบทักษิณ เป็นนโยบายพัฒนาทุนนิยมผูกขาดแบบกอบโกยล้างผลาญ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง เศรษฐกิจยั่งยืน โดยหลักการขั้นพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง ต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่พอเพียง ไม่ใช่ปล่อยให้ทุนใหญ่คงหากำไรแบบมือยาวสาวได้สาวเอา พร้อมกับพูดว่าผมก็พอเพียง

      นโยบายที่สำคัญ เช่น การตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคีกับประเทศต่างๆ และเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลนี้ก็ไม่กล้าทำอะไรที่ต่างไปจากระบอบทักษิณ หากรัฐบาลยังไม่กล้าเปลี่ยนแปลง 2 เรื่องนี้ ก็ควรจะจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลาง เพื่อวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย แล้วเสนอข้อมูลให้ประชาชนรัฐบาลรับรู้ และอภิปราย ถกเถียงกันอย่างมีข้อมูล มีเหตุผล เพราะเท่าที่ผ่านมา รัฐบาลทักษิณเสนอแต่ข้อมูลด้านดีด้านเดียวว่า 2 โครงการนี้ เป็นประโยชน์ต่อประเทศ แต่จริงๆ แล้วเป็นผลดีกับทุนต่างชาติ และกลุ่มนายทุนใหญ่ แต่เป็นผลเสียกับประชาชน

ต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ จึงจะสร้างเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ได้

      การจะช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนมีปัจจัยที่จำเป็น เช่น อาหารที่อยู่อาศัย บริการสาธารณสุข เครื่องใช้ไม้สอย การศึกษา การมีงานทำที่พอเพียงได้ ต้องเปลี่ยนแปลงใหญ่แบบกล้าผ่าตัดด้วยการปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร ปฏิรูประบบสหกรณ์ และธนาคาร ธุรกิจขนาดย่อม ปฏิรูปด้านการคลัง เช่น การเก็บภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า เพื่อจัดสรรทรัพยากรใหม่ให้เป็นธรรม แก้ปัญหาคนจนเชิงโครงสร้างให้ได้ จำกัดขอบเขตของทุนต่างชาติและทุนขนาดใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขนาดย่อมแข่งขันได้ ปฏิรูปการพัฒนาชนบท ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปสื่อมวลชน ทำให้ประชาชนฉลาด รู้เท่าทันและมีจิตสำนึกเพิ่มขึ้น จัดตั้งองค์กร สร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ให้สิทธิเสรีภาพ งบประมาณสนับสนุนองค์กรประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ต้องรวมทั้งประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ และสังคม

      การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะปฏิรูปการเมือง แต่รัฐธรรมนูญจะดีแค่ไหน ก็ไม่สำคัญเท่ากับการต้องหาทางช่วยเพิ่มความรู้และอำนาจต่อรองของประชาชน เพราะปัญหาความด้อยพัฒนาของการเมืองของไทย (รวมเศรษฐกิจและสังคมด้วย) อยู่ที่โครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยมผูกขาดที่เจ้าที่ดิน นักธุรกิจนายทุน คนชั้นกลางมีอำนาจสูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่อย่างเหลื่อมล้ำต่ำสูงห่างกันมาก ดังนั้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติจึงไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ต้องปฏิรูปการกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา ข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นธรรม จึงจะช่วยให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ตามเจตนารมณ์ได้ดีขึ้น

การที่คณะรัฐบาลเป็นข้าราชการและเทคโนแครตผู้ถนัดทำงานแบบราชการ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและรักษาสถานะเดิมให้พออยู่กันได้ไปวันๆ ทำให้ภาคประชาชนห่วงว่ารัฐบาลชุดนี้จะสู้กลุ่มทักษิณหรือนักการเมืองประเภททักษิณที่มีเหลี่ยมสาระพัดและยังครอบงำความนิยมในหมู่ชนชั้นกลางบางส่วนและชนชั้นล่างจำนวนมากอยู่ได้ยาก รัฐบาลในยุคปฏิรูปน่าจะต้องระดมคนที่ฉลาดรู้เท่าทันระบอบทักษิณมาช่วยงาน และต้องกล้าฟันธงปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองมากกว่านี้

ต้องทำให้ประชาชนฉลาดรู้เท่าทันและมีการจัดตั้งองค์กรเพิ่มขึ้น

      นักวิชาการ สื่อมวลชน นักพัฒนา ประชาชนที่ตื่นตัว จะต้องไปช่วยอธิบายและจัดตั้ง ให้ประชาชนส่วนใหญ่รู้เท่าทันระบอบทักษิณ และทุนนิยมโลก รวมทั้งปัญหาการเมืองและสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น เพราะในยุคที่ฝ่ายนายทุนใหญ่เป็นคนที่มีทั้งอำนาจและฉลาดในการเอาเปรียบและทำงานด้านรุกตลอดเวลา ถ้าฝ่ายที่อ้างว่าปฏิรูปการเมืองทำเพื่อประชาชนไม่รู้จักเป็นฝ่ายรุก ได้แต่ทำงานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและประคับประคองตัวเองไปวันๆ ก็จะสู้ฝ่ายนายทุนใหญ่ไม่ได้

      ถ้ารัฐบาลชุดนี้ไม่มุ่งแก้ปัญหา 4 ข้อที่ใช้เป็นเหตุผลในการยึดอำนาจแบบกล้าฟันธง ไม่กล้าเดินหน้าปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาดที่เป็นบริวารอย่างจริงจังก็เท่ากับปฏิวัติ(ยึดอำนาจ) มาแบบไม่มีเหตุผลที่คุ้มค่า เพราะเพียงแค่เปลี่ยนตัวกลุ่มผู้บริหารและชลอสถานะการณ์ ทำให้ระบอบทักษิณมีเวลาหยุดพัก เพื่อจะสะสมกำลังหาทางกลับมาใหม่อย่างแนบเนียบกว่าเก่าเท่านั้น

      ถ้าไม่มีการปฏิรูป การเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่ก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่ นักธุรกิจการเมืองแบบเก่าก็จะกลับมาในการเลือกตั้งปีต่อไปได้ เราจะต้องช่วยทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าแนวทางพัฒนาประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่ควรเน้นการพึ่งตนเองระดับประเทศ เน้นการกระจายที่เป็นธรรม ประสิทธิภาพ และประโยชน์ของส่วนรวมนั้นเป็นทางเลือกที่ต่างไปจาก และดีกว่าระบอบการพัฒนาแนวตลาดทุนนิยมเสรีแบบผูกขาด มือใครยาวสาวได้สาวเอา และเป็นบริวารทุนต่างชาติแบบที่ทำกันอยู่ แต่การจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อประชาชนส่วนใหญ่ได้ จะต้องปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ปฏิรูปสื่อสารมวลชนข่าวสารอย่างจริงจัง ประชาชนจึงจะมีความรู้และภูมิคุ้มกันมากพอที่จะต่อรองกับนักธุรกิจการเมืองรวมทั้งพวกขุนนางได้ดีขึ้น

 

จะปฏิรูปการเมืองได้ต้องปฏิรูปการศึกษาและวิทยุโทรทัศน์อย่างเร่งด่วน


บทความ 

จะปฏิรูปการเมืองได้ต้องปฏิรูปการศึกษาและวิทยุโทรทัศน์อย่างเร่งด่วน 

วิทยากร เชียงกูล วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต 

      เราควรมองการปฏิรูปเมือง ในความหมายกว้างว่า ต้องเพิ่มอำนาจต่อรองและการบริหารจัดการของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในเรื่องทางเศรษฐกิจ และสังคมด้วย ไม่ใช้แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการจัดการเลือกตั้งใหม่เท่านั้น 

      การเลือกตั้งเป็นเพียงวิธีการ เลือกผู้แทนมาบริหารจัดการประเทศ ประชาธิปไตยจะต้องรวมถึงประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น มีการกระจายทรัพย์สินรายได้ การศึกษา และสถานะทางสังคม ที่ค่อนเป็นธรรมด้วย ถ้ามีการเลือกตั้งแต่ละประเทศยังประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม ก็จะเป็นแค่ประชาธิปไตยจอมปลอม เป็นเผด็จการทางรัฐสภา(และสถาบันการเมืองส่วนประกอบอื่นๆ ) ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีบทบาทแท้จริง  

      ดังนั้นรัฐบาลและประชาชนอย่าไปเสียเวลากับการคิดร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว รัฐบาลไม่ควรคิดว่าจะบริหารประเทศเพื่อความสมานฉันท์เท่านั้น ต้องคิดใหม่ว่าจะต้องปฎิรูปการเมืองหรือสังคมทั้งหมดอย่างไร จึงจะป้องกันระบอบทักษิณหรืออะไรที่คล้ายกันกลับมาได้อีก รัฐบาลไม่ควรคิดว่าการอยู่แค่1ปี คงเป็นแค่รักษาการ ทำอะไรไม่ได้มาก ต้องคิดใหม่ว่า นี่เป็นรัฐบาลพิเศษที่เกิดในสถานะการณ์ที่มีปัญหาวิกฤติ รัฐบาลต้องรีบทำงานแบบผ่าตัดปฏิรูปประเทศให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อย่าแค่ทำให้เสร็จไปวันๆแบบเก่า 

      ในวาระที่ควรถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างเร่งด่วนคือ การปฎิรูปการศึกษาและสื่อมวลชนในเชิงคุณภาพอย่างขนานใหญ่ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ ฉลาด มีจิตสำนึก รู้เท่าทันระบอบทุนนิยม ระบอบขุนนาง และทุกระบอบที่ครอบงำเอาเปรียบประชาชน 
 
 
 
 

      การปฏิรูปหมายถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด ไม่ใช่การทำงานแบบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือใส่อะไรเข้ามาใหม่แบบเล็กๆ น้อยๆ การปฎิรูปการศึกษาที่พูดกันมา 6 ปี แล้วไม่ก้าวไปไหน เพราะ เปลี่ยนแค่โครงสร้างองค์การบริหาร กระทรวงศึกษา แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงนโยบาย การบริหาร แนวคิดและพฤติกรรม ผู้บริหารและครูอาจารย์ ไม่ได้เปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนจากการบรรยายแบบท่องจำให้เป็นการสัมนาที่จะช่วยให้ผู้เรียนรักการอ่าน คิดวิเคราะห์สังเคราะห์เป็น (สกศ.รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2547 /2548 รากเหง้าของปัญหาและทางแก้ไข)

      ต้องปฏิรูปครูอาจารย์ก่อนอื่น

      การจะปฏิรูปการศึกษาได้ ต้องกล้าลงมือผ่าตัดปฏิรูป แนวคิดและพฤติกรรมของบุคคลากร ตั้งแต่ผู้บริหารในกระทรวง ไปถึงครูอาจารย์ทั้งประเทศอย่างจริงจัง เพราะคนเหล่านี้ยังเป็นอุปสรรคในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ทันสมัย ประเด็นสำคัญคือต้องเปลี่ยนแปลงตัวครูอาจารย์ให้มีปัญญาและความรักในวิชาการที่จะสามารถพัฒนากระบวนการเรียนการสอน จากการบรรยายให้ผู้เรียนจดท่องจำ เป็นการชี้แนะแบบให้ผู้เรียนรักการอ่านการเรียนรู้ วิเคราะห์ ทดลอง พิสูจน์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้เป็น เราจึงจะปฎิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพได้ 

      เราจะต้องทำให้ครูอาจารย์รักการอ่าน การเรียนรู้ คิดวิเคราะห์เป็นให้ได้เสียก่อน ถ้าครูเก่าบางคนทำไม่ได้ ก็ต้องหาครูใหม่มาทดแทน ต้องมีการประเมินครูอาจารย์ อย่างตรงกับความเป็นจริงและอย่างมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น ประเมินจากการซักถาม ผู้เรียน ผู้ปกครอง ดูผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เพื่อนร่วมงาน การซักถามครูอาจารย์ การทดสอบประเมินความรู้ของครูอาจารย์ และหลังจากนั้นต้องมีการจัดการศึกษาเชิงสัมนาปฎิบัติการให้กับ ครูอาจารย์ที่ล้าหลังอย่างเข้มข้น รวมทั้งการคัดเลือกส่งครูอาจารย์ไปเรียน หลักสูตรใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดความรู้และแนวคิดใหม่จริงๆ  ไม่ใช่สักแต่ประเมินครูอาจารย์จากตัวรายงาน ไม่ใช่แค่การจัดฝึกอบรมแบบให้ครูมานั่งฟังบรรยาย แต่จะต้องหาวิธีทำให้ครูอาจารย์ต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดและพฤติกรรมให้เป็นครูอาจารย์ที่รักวิชาการมากขึ้นและสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 

      ส่วนหนึ่งก็ควรให้ครูอาจารย์ที่ไม่ผ่านการประเมิน เกษียนก่อนอายุครบ60ไป และรับครูอาจารย์ใหม่ๆที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีคุณภาพ ปรับโครงสร้างเงินเดือนค่าตอบแทนครูอาจารย์ทั้งระบบ และชักชวนผู้มีความรู้สาขาต่างๆที่มีแนวคิดทันสมัยสมัครเข้ามาเป็นครูอาจารย์ทั้งประจำและพิเศษ โดยเปลี่ยนระบบการจ้างให้ยืดหยุ่นและให้ค่าตอบแทนสูงมากขึ้น เพื่อที่จะจูงใจให้คนเก่งๆเข้ามาช่วยสอนเพิ่มขึ้นปัญหางบประมาณควรแก้ด้วยการออกพันธบัตรเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เพราะเป็นการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนได้แน่ในระยะยาว

      ปฏิรูปสื่อและการศึกษานอกระบบ

      ควรทุ่มเทงบประมาณและกำลังคนที่เก่งๆเข้าไปปฎิรูปการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างขนานใหญ่ เพื่อทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีโอกาสได้เรียนรู้ ฉลาด มีจิตสำนึก รู้เท่าทันระบอบทักษิณ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลก และปัญหาอื่นๆ ที่พลเมืองสมัยใหม่ควรจะได้รู้ รณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศตื่นตัวว่าประเทศเรามีวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจก็ เพราะประชาชนยังได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารที่ต่ำกว่าเปรียบเทียบกับพลเมืองของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมาก การศึกษาไม่ไช่แค่การเรียนในห้องเพื่อสอบเอาประกาศนียบัตร แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ของคนทั้งประเทศ และประชาชนต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอด้วย คนถึงจะพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพ และประเทศเข้มแข็ง  

      ปัจจุบันองค์กรธุรกิจสมัยใหม่เริ่มตระหนักว่า จะแข่งขันกับคนอื่นได้ ต้องทำให้คนทั้งองค์กรได้เรียนรู้ร่วมกัน เป็นองค์กรที่เรียนรู้อยู่เสมอ (Learning Organization ) ประเทศชาติก็เช่นเดียวกัน ต้องเป็นประเทศชาติที่เรียนรู้ (Learning Nation ) ด้วย ไม่อย่างนั้น นอกจากประเทศไทยจะแข่งขันสู้ใครเขาไม่ได้ แค่จะแก้ปัญหาอยู่ให้รอดก็ทำได้ยาก 

      สิ่งสำคัญที่ต้องปฏิรูปคู่กันคือสื่อมวลชน(วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้ของประชาชนมากเช่นกัน บางทีจะมีอิทธิพลมากกว่าโรงเรียนเสียอีก เรามักไปคิดว่าสื่อมวลชนเป็นเรื่องของการขายสินค้าข่าวสาร ความบันเทิง ที่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของธุรกิจเอกชน ตามกลไกตลาด แต่สื่อมวลชนเป็นสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ที่มีผลกระทบต่อความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ความคิดความเชื่อของประชาชนสูง ที่ภาครัฐควรต้องดูแลส่งเสริมให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและประชาชนเข้าถึงได้ทั่วกันโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำ  

      การปล่อยให้การผลิตและการบริโภคสื่อขึ้นอยู่กลไกตลาด ทำให้วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือของระบบทุนนิยมโลก ที่มุ่งการโฆษณาสินค้าและความบันเทิงแบบมอมเมา เพื่อจูงใจให้คนแก่งแย่งแข่งขัน มีค่านิยมเห็นแก่เงิน และการบริโภค มุ่งหากำไรเอกชนให้ได้มาก ไม่ได้สนใจจะให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างพลเมืองดี การร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา และพัฒนาประเทศชาติ แถมยังมอมเมาเด็กและเยาวชนให้ชอบความรุนแรง หมกหมุ่นเรื่องเพศ การสูบบุหรี่ดื่มเหล้า และค่านิยมเลวร้ายอื่นๆ ที่สร้างความเสียหายร้ายแรงอย่างมาก 
 
 
 

      รัฐบาลควรรีบดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์(กสช)โดยคัดเลือกคนที่มีความรู้ มีความคิดเชิงปฏิรูป ที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน มาทำงานปฏิรูปจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่และส่งเสริมการปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์อย่างจริงจัง สื่อภาครัฐหรือที่รัฐที่ถือหุ้นใหญ่อย่าง อสมท. ก็ควรจะปฏิรูปใหม่ โดยเน้นการเสนอรายการที่มีคุณภาพ ยกระดับความรู้ ศิลปวัฒนธรรมของประชาชน มากกว่าเน้นกำไรทางธุรกิจ ซึ่งได้แค่ตัวเงินไม่เท่าไร แต่การทำสื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อช่วยการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของประชาชนทั้งประเทศเป็นประโยชน์สูงกว่าเงินกำไรและค่าสัมปทานที่เอกชนเช่าไปหลายพันเท่า 

      รัฐบาลใช้งบประมาณการศึกษาปีละราว 2 แสนล้านบาท แต่ยังพัฒนาคุณภาพประชาชนได้น้อย เราควรใช้วิทยุโทรทัศน์ที่เป็นสมบัติของส่วนรวม เพื่อช่วยให้ประชาชนฉลาดและมีรสนิยมทางศิลปวัฒนธรรมที่สูงขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้เอกชนเช่าผลิตรายการเพื่อความบันเทิงและเพื่อขายสินค้า ถ้ารัฐบาลไม่ฉลาดพอที่จะช่วงชิงโอกาสผ่าตัดปฏิรูปการศึกษาและสื่อให้ได้ในช่วงรัฐบาลชุดนี้ ถึงจะเขียนรัฐธรรมนูญให้ดีแค่ไหน ก็คงจะปฏิรูปการเมืองไม่สำเร็จ เพราะนักเรียน นักศึกษา ประชาชน ยังถูกมอมเมาอยู่ การเลือกตั้งคราวหน้า ระบอบทักษิณหรือ ระบอบอะไรคล้ายๆ กันก็คงกลับมาอีก.

 

กกต. ควรเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในบัตรลงประชามติได้


กกต. ควรเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในบัตรลงประชามติได้

วิทยากร  เชียงกูล 

      การลงประชามติที่ดี ควรผ่านการประชาพิจารณ์ หรือการประชุมอภิปรายข้อดีข้อเสียของเรื่องที่จะลงประชามติอย่างกว้างขวางรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล เพราะการลงประชามติ เปิดให้ประชาชนเลือกได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ในประชาพิจารณ์ เราอาจจะช่วยกันสร้างทางเลือกที่ 3 ที่ 4 ที่ดีกว่าทางเลือกแค่ 2 ทางได้

    การลงประชามติเรื่องเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีปัญหา 2 ด้าน คือ 1. การลงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นเรื่องที่ใหญ่โต

ซับซ้อนมากเกินไป การลงประชามติในประเทศอื่นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องประเด็นเดียวที่เห็นชัดๆเช่น การลงประชามติของประเทศในยุโรปบางประเทศว่าจะเข้าร่วมสหภาพยุโรปหรือไม่ จะเปลี่ยนเงินตราของประเทศตนไปเป็นเงินยูโรของสหภาพยุโรปหรือไม่

      2. มีการทำประชาพิจารณ์อภิปรายข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติน้อยเกินไป ทั้งเรื่องมีเวลาจำกัด งบประมาณจำกัดและรัฐบาลไม่เข้าใจความสำคัญของเรื่องนี้

      ครม.ไปมีมติครม. ทำไมก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลต้องวางตัวเป็นกลาง ในขณะที่ฝ่ายอำนาจเก่าไทยรักไทยและนักวิชาการปัญญาชนประเภทคิดแบบสองขั้วสุดโต่งและประเภทนักเย้ยหยัน นักวิจารณ์ว่าทุกฝ่ายแย่กว่าตัวเองหมดเป็นฝ่าย รณรงค์ให้คนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญอย่างแข็งขัน โดยพวกเขาเลือกใช้จุดอ่อนและจิตวิทยาง่ายๆแบบเร้าอารมณ์ มาโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นตามพวกเขา แต่ไม่ได้ให้ข้อมูล จุดแข็ง และจุดอ่อน ของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อย่างรอบด้านและเป็นธรรม

      จากการที่คณะอำนวยการการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน ได้ออกไปรับฟังความคิดของประชาชนระดับรากหญ้าทั่วประเทศ เราได้พบว่า ประชาชนมีข้อเสนอดีๆ ที่จะทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นจำนวนมาก แต่น่าเสียดายที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ คือ สสร.ได้ยินหรือรับข้อเสนอไปพิจารณาเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นส่วนน้อย เพราะ สสร.ใช้ความคิดเห็นของตัวเองเป็นหลักมากกว่า โดยเฉพาะประเด็นให้อำนาจผู้พิพากษา/ข้าราชการในการเลือกสว.และองค์กรอิสระ และลดอำนาจประชาชนในเรื่องนี้ลง ทำให้ประชาชนส่วนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ค่อยพอใจร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ไม่น้อย

      ในหมู่องค์กรพัฒนาเอกชนและประชาชนที่ไม่ใช่พวกนิยมทักษิณก็เกิดความเห็นที่แตกกันเอง นักพัฒนาเอกชนจากกรุงเทพ เช่น จอน อึ๊งภากรณ์ คัดค้านและโน้มน้าวตัวแทนองค์กรพัฒนาที่มาประชุมเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศ ให้โหวตคัดค้านรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยเสียงส่วนใหญ่ของคนมาประชุม ซึ่งก็ไม่ใช่เสียงที่เป็นเอกฉันท์ แต่ภาพที่ออกมาประกาศต่อสาธารณชนเหมือนกับว่า องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งหมดนับร้อยองค์กร ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญความจริงก็คือ องค์กรพัฒนาเอกชนจากภูมิภาคต่างๆ ได้กลับไปประชุมร่วมกันในภูมิภาค และมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป บางภูมิภาคเห็นว่า ควรเห็นชอบไปก่อนแล้วไปผลักดันแก้ไขทีหลัง บางภูมิภาคที่ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนเห็นแตกต่างกัน ได้เสนอแบบประนีประนอมให้ฟรีโหวต คือไม่มีมติในเรื่องนี้ แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละคน ว่าใครจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ

      ประชาชนจำนวนไม่น้อยคิดว่าคงเห็นชอบแบบมีเงื่อนไขว่าอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปได้ ซึ่งทำให้ผมเกิดแนวคิดที่อยากเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ผู้ทำหน้าที่จัดการลงประชามติครั้งนี้ ว่าถ้าจะให้ดีแล้ว กกต.ควรเปิดใจกว้าง เปิดโอกาสให้ประชาชนเขียนความเห็นแสดงเหตุผลของตนเองเพิ่มเติมด้านหลังของบัตรลงประชามติได้ โดยไม่ถือเป็นบัตรเสียถ้ากกต.เห็นด้วยก็ควรแถลงเรื่องนี้และประชาสัมพันธ์ออกไป และกกต.ควรจัดตั้งทีมงานหรือของบประมาณจากรัฐมาให้นักวิชาการที่เป็นกลางรวบรวมสรุปความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลเสนอแนะต่อรัฐสภาใหม่และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในโอกาสต่อไป

      ประเทศต้องเสียเงินเสียกำลังคนในการจัดการให้ประชาชนลงประชามติทั้งทีนับพันล้านบาท น่าจะใช้เป็นโอกาสในการรับฟัง รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนไปด้วย จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กว่าแค่การกาและนับคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ถ้า กกต. ใจกว้างและยืดหยุ่น  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมกว่าแค่ทำงานให้เสร็จไปวันๆ ให้ประกาศออกมาเลย ประชาชนจะรู้สึกอยากไปลงประชามติมากขึ้น รู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมออกความเห็น ไม่รู้สึกอึดอัดว่าถูกมัดมือชก ให้กาแค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ

      ไม่ว่าการลงประชามติจะออกมาอย่างไร คมช.และรัฐบาลควรเดินหน้าประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งและจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้การเมืองเดินหน้าต่อ ข้อบกพร่องทั้งหลายเป็นเรื่องธรรมดา ถึงคนที่ออกมารณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่บริสุทธิ์ใจไม่ใช่ฝ่ายทักษิณก็ไม่มีกำลังมากพอที่จะบันดาลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้ การเมืองที่เป็นจริงคือประชาชนต้องต่อสู้ต่อไปอีกหลายยก รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อการปฏิรูปการเมืองเท่านั้น

      ประชาชนยังต้องต่อสู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองให้ก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ภาคประชาชนกว่านี้ในโอกาสต่อไปอีก เช่น ผลักดันการพัฒนาระบบสหกรณ์ สังคมนิยมประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ ชุมชนสวัสดิการ เศรษฐกิจพอเพียง มาแทนที่ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาด เป็นต้น

      ทำอย่างไรจึงจะผลักดันให้เกิดพรรคการเมืองที่แนวนโยบายที่ก้าวหน้า ที่กล้าปฏิรูปเพื่อทำให้ประชาชนเข้มแข็งอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีแค่พรรคแนวส่งเสริมตลาดเสรี ที่ใช้นโยบายประชานิยม และสวัสดิการแบบลอยๆ มาหาเสียงแบบให้ประชาชนอยู่ภายใต้ระบอบอุปถัมภ์ต่อไป ซึ่งไม่ได้ต่างจากไทยรักไทย

 

ประชาชนควรพิจารณาเรื่องการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร


ประชาชนควรพิจารณาเรื่องการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร

วิทยากร  เชียงกูล              

                การอ้างแบบ 2 ขั้วสุดโต่งไม่ใช่ความจริงทางการเมืองไทย

                กลุ่มที่ออกมารณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มอดีตพรรคไทยรักไทยและกลุ่มแนวร่วม  กลุ่มที่ 2 คือ นักวิชาการและนักพัฒนาเอกชนที่อาจไม่ได้มีสายสัมพันธ์กับไทยรักไทยโดยตรง กลุ่มแรกเป็นพวกเสียงดังแต่มีเหตุผลน้อย พวกเขาให้เหตุผลว่า ที่ไม่รับร่างเป็นเพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะรัฐประหาร และเป็นรัฐธรรมนูญแบบอำมาตยาธิปไตย โดยไม่ได้ให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อดีข้อด้อยต่างจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 อย่างไร กลุ่มที่ 2 ให้เหตุผลมากขึ้น แต่เป็นการอ้างเฉพาะข้อด้อยบางข้อ โดยไม่ได้ชั่งน้ำหนักทั้งข้อดีและข้อด้อย                กลุ่มแรกที่อ้างว่ารัฐบาลทักษิณมาจากการเลือกตั้งจึงเป็นประชาธิปไตย ส่วนรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารเป็นเผด็จการ เป็นการมอง 2 ขั้วสุดโต่งอย่างง่ายๆมากไปหน่อย จริงๆแล้วเราควรมองอย่างจำแนกว่า รัฐบาลนั้นๆมาจากการเลือกตั้งที่โปร่งใส ชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน รัฐบาลนั้นๆแทรกแซงองค์กรอิสระ ใช้อำนาจคดโกงหาผลประโยชน์ ปราบปรามลิดรอนเสรีภาพของประชาชนหรือไม่เพียงใด ถ้าไม่มีองค์ประกอบความเป็นประชาธิปไตยในหลายๆด้าน ถึงจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบซื้อเสียงใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์รัฐบาล เช่น รัฐบาลทักษิณก็ไม่ควรถือเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย คำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกรณีพรรคไทยรักไทยไปจ้างวานพรรคอื่นว่าทำผิดจริง ให้ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี อธิบายให้เห็นชัดว่าพรรคไทยรักไทยทำลายประชาธิปไตยอย่างไร                รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ก็ไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นกัน แต่ การรัฐประหารในแต่ละประเทศ ในแต่ละครั้ง มีฐานะในสังคมที่ต่างกัน ต้องวิเคราะห์เป็นกรณีๆไป การมองตามตำราตะวันตกอย่างง่ายๆว่ารัฐประหารทุกครั้งเป็นเผด็จการไม่อาจใช้อธิบายการเมืองไทยได้ลึกพอ การรัฐประหารในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คือการใช้กำลังยึดอำนาจจากระบอบราชาธิปไตยเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา การรัฐประหารปี 2520 โดยกลุ่มพลเอกเกรียงศักดิ์ คือการโค่นล้มรัฐบาลจารีตนิยมขวาจัดที่มาจากเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชน 6 ตุลาคม 2519 และเป็นการนำระบบประชาธิปไตยครึ่งใบมาใช้ใหม่ แม้รัฐบาลเกรียงศักดิ์และรัฐบาลหลังจากนั้นจะเป็นกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำมาตยาธิปไตย ก็เป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลช่วง 6 ตุลาคม 2519 – 2520                  รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือการโค่นล้มระบอบทักษิณ และการหาทางออกจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีโอกาสนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านทักษิณ การเมืองในขณะนั้นถึงทางตัน จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ก็แก้ไม่ได้ เพราะรัฐบาลทักษิณคุมเสียงข้างมาก คุมองค์กรอิสระที่สำคัญๆและมีพฤติกรรมเป็นเผด็จการชนิดไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น แม้การรัฐประหารจะเป็นวิธีการที่ล้าหลัง แต่เราน่าจะมองอย่างจำแนกได้ว่า ในบริบทการเมืองยุคใหม่ที่ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งคนชั้นกลางและพึ่งต่างประเทศค่อนข้างสูงนั้น ถึงทหารจะยึดอำนาจได้ แต่จะปกครองแบบเผด็จการระยะยาวไม่ได้เหมือนในยุครัฐประหาร 2490 หรือยุค 2501 อีกต่อไป    รัฐประหาร ปี 2534 ต้องตั้งรัฐบาลพลเรือน อานันท์  ปันยารชุน เพื่อให้ทั้งสังคมไทยและนานาชาติยอมรับ และเมื่อพลเอกสุจินดาหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2534 พยายามจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้งในปี 2535  เขาก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชนจนอยู่ในตำแหน่งนายกฯไม่ได้มาแล้ว คณะรัฐประหาร 2549 ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะอยู่ในอำนาจได้ยาวนานเช่นกัน 

                การเรียกร้องให้ถอยกลับไปหารัฐธรรมนูญ 2540 มีผลประโยชน์เบื้องหลัง

                เราอาจจะมองรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นภาวะเผด็จการชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และการเลือกตั้งใหม่ แม้รัฐธรรมนูญใหม่จะร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร แต่ สสร. ชุดนี้ก็มาจากนักกฎหมาย นักวิชาการ และชนชั้นนำอื่นๆ ที่มีความคิดอ่านของตัวเองและเป็นนักประชาธิปไตย (แบบชนชั้นกลาง) พอสมควร พวกเขาส่วนหนึ่งก็คือคนกลุ่มที่ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 มาแล้วนั่นเอง  และหลังจาก 10 ปีผ่านไป พวกเขาก็รับฟังประชาชนและพยายามที่จะปรับแก้รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ดีขึ้น แม้รัฐธรรมนูญ 2550 จะออกมาแบบมีแนวคิดแบบชนชั้นนำ เช่น สว.บางส่วนมาจากการสรรหาหรือแต่งตั้งบ้าง ให้อำนาจข้าราชการ ผู้พิพากษา มากกว่าที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมบ้าง แต่ยกเว้น 2 – 3 ประเด็นนี้แล้วรัฐธรรมนูญ 2550 โดยภาพรวมก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 (บางอย่างดีขึ้น บางอย่างแย่ลง) ไม่ถึงกับเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนและแนวร่วมยุคทักษิณอ้าง                นักวิชาการกลุ่มที่ใช้เงินนักการเมืองลงโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ (วันละ 2.5 แสนบาท)ว่า การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญคือการคว่ำบาตรคณะรัฐประหาร เป็นการเล่นโวหารมากกว่ามองการเมืองที่เป็นจริง การเมืองไทยตามความเป็นจริงคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาและการจัดตั้งที่เข้มแข็งพอที่จะไปขับไล่คณะรัฐประหารและเลือกตัวแทนมาร่างรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้ากว่านี้ได้ การเสนอให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 คือการถอยหลังกลับไปให้ตัวแทนทักษิณกลับเข้ามามีอำนาจ รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เขียนไว้สวยนั้นมีจุดอ่อนให้ระบอบทักษิณที่เป็นเผด็จการนายทุนและคดโกงดำรงอยู่ได้ ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550 พยายามปิดช่องโหว่รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้นักการเมืองมีโอกาสรวบอำนาจได้ลดลง รวมทั้งการตอกย้ำว่ากรรมการบริหารพรรคที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคต้องเสียสิทธิเลือกตั้งไป 5 ปี นี่คือประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่พวกไทยรักไทยต้องออกมาคัดค้าน เพราะถึงพวกเขาจะตั้งพรรคใหม่และได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก พวกเขาก็หมดโอกาสที่จะเสนอกกฎหมายนิรโทษกรรมพรรคพวกได้ รวมทั้งถ้ากลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 พวกเขาก็อาจหวังว่าบทบาทของ คตส.ในการอายัดทรัพย์และยื่นฟ้องเอาผิดทักษิณและคณะกรณีคอรัปชั่นไม่เสียภาษีจะเป็นโมฆะได้ นี่คือเหตุผลลึกๆที่พวกเขาต้องการให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540  

                ปัญหานักวิชาการเสรีนิยมที่เชื่อมั่นตัวเองสูง

                ส่วนกลุ่มคัดค้านรัฐธรรมนูญ 2550 กลุ่มที่ 2 โดยนักวิชาการและนักพัฒนาองค์กรเอกชนบางคนที่คงไม่ได้สัมพันธ์กับกลุ่มไทยรักไทยโดยตรงนั้น ให้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มีข้อด้อยเรื่องให้อำนาจข้าราชการและผู้พิพากษามากไป และให้สิทธิอำนาจประชาชนน้อยเกินไป ซึ่งก็มีเหตุผล แต่ไม่เป็นธรรมตรงที่ไม่ได้บวกลบคูณหารเนื้อหารัฐธรรมนูญ 2550 โดยรวม ที่มีข้อดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆอยู่ไม่น้อย การมองเช่นนี้  อาจเกิดจากการที่พวกเขามองปัญหาการเมืองแบบแยกส่วน เป็นสูตรสำเร็จตามรัฐศาสตร์ตะวันตกมากไป หรือไม่ก็เป็นพวกที่มีวิธีคิดเป็นแบบ 2 ขั้วสุดโต่งอย่างง่ายๆมากกว่าที่จะมองการเมืองไทยอย่างจำแนกแยกแยะตามความเป็นจริงที่ซับซ้อน ในสถานการณ์การเมืองไทยที่มีปัญหาทั้งทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแบบเจ้าขุนมูลนายและมีโครงสร้างการเมืองแบบรวบอำนาจโดยชนชั้นนำ ที่ฝ่ายประชาชน (ที่เป็นกลุ่มที่ 3 ที่ต่างจากกลุ่มทักษิณและกลุ่มทหาร/ขุนนาง)ไม่ได้เข้มแข็งมากพอที่จะเลือกสิ่งที่ฝ่ายประชาชนต้องการมากที่สุดได้นั้น หากมองในเชิงจังหวะก้าวทางยุทธวิธีแล้ว การมีรัฐธรรมนูญใหม่และมีการเลือกตั้งใหม่ น่าจะดีกว่าไม่มี  รวมทั้งรัฐธรรมนูญ 2550 น่าจะดีกว่าฉบับที่ คมช. จับมือกับรัฐบาลปัดฝุ่นหยิบเอาฉบับไหนมาปรับใช้ก็ได้ ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ผ่านประชามติ แม้รัฐธรรมนูญ 2550 จะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง และถึงเลือกตั้งไปแล้ว ก็ยังคงมีนักการเมืองประเภทเก่ากลับมาได้อีกอยู่ดี แต่ประชาชนน่าจะมีอำนาจต่อรองได้เพิ่มขึ้น นักการเมืองจะต้องถูกตรวจสอบ ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น ดังนั้น แม้ประชาชนจะได้สิทธิและอำนาจต่อรองไม่มาก แต่ได้บางส่วนก็น่าจะดีกว่าในยุครัฐบาลทักษิณ ที่รัฐบาลมีอำนาจมากเกินไปข้อสำคัญ คือ ประชาชนต้องทำความเข้าใจว่า รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง ไม่ใช่มีแค่นี้แล้วจบ ประชาชนยังจะต้องต่อสู้ทางการเมืองอีกยาวไกล เช่น การเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้ช่องทางในรัฐธรรมนูญในการสร้างอำนาจต่อรองของภาคประชาชนเพิ่มขึ้น ประชาชนที่ตื่นตัวต้องช่วงชิงโอกาสในการที่จะขยายความรู้และจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนเช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ สมาคม ฯลฯ เพื่อช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความฉลาดรู้เท่าทันนักการเมือง รู้เท่าทันทหาร ขุนนาง อย่างเป็นตัวของตัวเอง ประชาชนไม่ต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่งแบบถาวร เช่น อาจจะเลือกเป็นพันธมิตรกับกลุ่มทหาร/ขุนนางในช่วงนี้ เท่าที่ประชาชนจะหาประโยชน์ได้ แต่ก็จะต้องใช้ความระมัดระวังที่จะไม่ส่งเสริมให้พวกทหาร/ขุนนาง มีอำนาจมากเกินไปจนประชาชนตรวจสอบไม่ได้ เช่น ประชาชนต้องคัดค้านกฎหมายความมั่นคง คัดค้านนโยบายที่ลิดรอนสิทธิประโยชน์ของประชาชนในเรื่องต่างๆความจริงของการเมืองไทยคือ  กลุ่มชนชั้นสูง 3 4 กลุ่ม เช่นกลุ่มทุนทักษิณ กลุ่มขุนนาง/ทหาร กลุ่มทุนอื่นๆกำลังเล่นการเมืองยื้อแย่งอำนาจกันและพยายามดึงประชาชนเป็นพวก ขณะที่ประชาชนยังไม่เข้มแข็งมากพอจะได้อะไรมาง่ายๆแบบขาวกับดำ ประเภทถ้าคว่ำบาตรไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วจะได้อะไรที่ดีกว่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝันของนักวิชาการบนหอคอยงาช้าง ในสภาพที่ฝ่ายทักษิณต้องการคว่ำรัฐธรรมนูญ 2550 การลงประชามติไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2550 ก็จะกลายเป็นแนวร่วมของพวกทักษิณไปไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และการได้พวกตัวแทนนายหน้าของทักษิณกลับเข้ามาใหม่ จะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นกว่าสถานการณ์ขณะนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ถึงรัฐธรรมนูญ 2550 จะผ่านการลงประชามติ มีการเลือกตั้งใหม่ ได้ชนชั้นสูงกลุ่มอื่นมาเป็นรัฐบาล ซึ่งคงดำเนินนโยบายเสรีนิยมแบบเปิดตลาดเสรีพอๆกับยุคทักษิณ สถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองสำหรับประชาชนอาจจะไม่ดีขึ้นมากนัก แต่อย่างน้อยรัฐบาลใหม่ไม่น่าจะมีอำนาจเผด็จการมากเท่าและไม่อาจจะโกงได้เท่าระบอบทักษิณ และประชาชนน่าจะมีหนทางต่อสู้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและเพื่อการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมได้มากกว่าในยุคทักษิณ เต้องมองการเมืองอย่างเป็นจริงว่าสถานการณ์แบบนี้ ประชาชนยังไม่อาจได้อะไรดีๆมาง่ายนัก การจะปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้จริงๆ ประชาชนต้องเข้าร่วมการต่อสู้กัน ไปอีกหลายยก ประชาชนควรมองการเมืองอย่างจำแนกแยกแยะและอย่างมีจังหวะก้าว เพราะถึงสมมติว่ามีการลงประชามติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญได้จริง คณะรัฐประหารก็ยังอยู่ และเขาจะจับมือกับรัฐบาล สุรยุทธ์นำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาปรับใช้ใหม่ได้อยู่ดี อาจเป็นตัวเลือกที่แย่กว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ก็ได้ประชาชนควรศึกษาว่าเราจะช่วยกันสร้างประชาธิปไตยของภาคประชาชนให้เข้มแข็งในระยะยาวได้อย่างไร การเลือกข้างในทางยุทธวิธี ๆไม่ได้แปลว่าจะต้องเห็นด้วยกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในทุกเรื่อง ประชาชนสามารถวิจารณ์ข้อบกพร่องของคมช,รัฐบาลสุรยุทธ์ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กฎหมายความมั่นคงและกฎหมายอื่นๆ ได้ โดยควรใช้เวทีอื่น ใช้เงินของตัวเอง (เงินของรัฐ ก็คือ เงินจากภาษีประชาชนเพียงแต่ต้องรู้จักใช้อย่างระมัดระวัง) อย่าไปใช้เวทีและเงินของพวกทักษิณ อย่าไปเป็นแนวร่วมของพวกทักษิณ ในสถานการณ์ที่ประชาชนมีตัวเลือก 2 ตัว ไปออกเสียงประชามติ วันที่ 19 สิงหาคม ศกนี้ แค่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550  การลงประชามติเห็นชอบ อาจจะถือเป็นเพียงยุทธวิธีหนึ่งในการต่อสู้อย่างมีจังหวะก้าว การเห็นชอบไม่ได้แปลว่าเราเห็นด้วยกับคมช,รัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญทั้งหมด ประชาชนอาจเห็นชอบแบบมีเงื่อนไขว่าอยากให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปได้ ซึ่งถ้าจะให้ดีแล้ว กกต.ควรใจกว้างเปิดโอกาสให้ประชาชนเขียนความเห็นเพิ่มเติมด้านหลังของบัตรลงประชามติได้ โดยไม่ถือเป็นบัตรเสีย และกกต. ควรจัดตั้งทีมงานรวบรวมสรุปความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเสนอแนะต่อรัฐสภาใหม่ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในโอกาสต่อไป  ประเทศต้องเสียเงินเสียกำลังคนในการจัดการให้ประชาชนลงประชามติทั้งที น่าจะใช้เป็นโอกาสในการรับฟัง รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนไปด้วย จะเป็นประโยชน์กว่าแค่การกาและนับคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบประชาชนต้องยึดหลักประชาธิปไตยทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของประชาชนไว้ให้มั่น และต้องต่อสู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองให้ก้าวหน้า อิงประโยชน์ภาคประชาชนกว่านี้ในโอกาสต่อไปอีก เช่น ผลักดันการพัฒนาระบบสหกรณ์ สังคมนิยมประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ ชุมชนสวัสดิการ มาแทนที่ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาด เป็นต้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนคงต้องใช้เวลาขยายความรู้และการจัดตั้งองค์กร  สะสมกำลังและพัฒนาความเข้มแข็งไปอีกระยะหนึ่ง ประชาชนจึงจะมีความพร้อมพอที่จะต่อสู้กับระบอบเผด็จการ ไม่ว่าเผด็จการทหาร/ขุนนาง หรือเผด็จการนายทุนกลุ่มใดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่ายุคปัจจุบันได้ 

 

ทางออกที่แท้จริงคือต้องปฎิรูปเศรษฐกิจการเมืองในแนวทางสหกรณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย และเศรษฐกิจพอเพียง


ทางออกที่แท้จริงคือต้องปฎิรูปเศรษฐกิจการเมืองในแนวทางสหกรณ์สังคมนิยมประชาธิปไตย และเศรษฐกิจพอเพียง

      ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยในปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาการเลือกตั้ง คือ ปัญหาวิกฤติศรัทธาใหม่ในแต่รัฐบาลทักษิณประชาชนที่มีการศึกษารับรู้ข้อมูลข่าวสารมากหรือรู้ทันรัฐบาลออกมาประท้วงว่ารัฐบาลใช้อำนาจในทางที่ผิดแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างมากมาย และเรียกร้องนานยกฯทักษิณลาออกและแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฎิรูปการเมืองก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่รัฐบาลทำให้ปัญหายุ่งเหยิงมากขึ้นเมื่อเลือกใช้วิธียุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่อย่างรีบเร่ง หลังจะใช้คะแนนเสียงจากประชาชนที่รู้ไม่เท่าทันรัฐบาล และอำนาจอิทธิพลต่างๆ เอาชนะเลือกตั้ง เพื่อฟอกข้อกล่าวหาเรื่องการคอรัปชั่นแต่การเลือกตั้งแบบไม่โปร่งใสไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะมีพรรคใหญ่พรรคเดียว การจ้างพรรคเล็กมาลงเพื่อแก้ปัญหาผู้สมัครสส.แบบแบ่งเขตได้รับคะแนนไม่ถึง 20 % และการโกงเลือกตั้งทำให้มีการเรียกร้องจนศาลตัดสินว่าการเลือกตั้งไม่ชอบธรรม ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง รัฐบาลก็ยังดันทุรังหนุนกกต.เดิม ซึ่งเอียงข้างรัฐบาลให้อยู่ต่อทั้งที่ศาลฎีกาสรุปความเห็นว่ากกต.ชุดนี้เหลือ 3 คนไม่เป็นกลางขาดความชอบธรรม       ทั้งนี้เท่ากับรัฐบาลปิดประเด็นให้คนไปสนใจเรื่องกกต.และการจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่รากของปัญหาคือ การคอรัปชั่นควรเลือกตั้งให้นายกฯทักษิณ ข้าราชการและคณะกรรมการสอบสวนที่เป็นอิสระ การใช้อำนาจหาผลประโยชน์ทับซ้อนของคุณทักษิณและการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด ทั้งเรื่องการเลี่ยงภาษีและขายทรัพย์สมบัติที่เป็นสิทธิเฉพาะของชาติไทย เช่น สถานีโทรทัศน์ ดาวเทียม สายการบิน ให้กับบริษัทต่างชาติ รวมทั้งการใช้อำนาจที่ผิดๆเช่น ยุบสภา จัดการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม การจ้างพรรคเล็ก การโกงการเลือกตั้ง ฯลฯ      ปัญหาหลัก คือ รัฐบาลทักษิณไม่เพียงแต่รวบอำนาจผูกขาดและแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อนเอาเปรียบประเทศอย่างมากมายเท่านั้น แต่ยังใช้นโยบายพัฒนาประเทศแบบกอบโกยล้างผลาญทั้งเปิดเสรีให้ทุนต่างชาติและทุนขนาดใหญ่มากเกินไป เร็วเกินไป ทำให้มีการถลุงใช้ทรัพยากรรวมทั้งเอาเงินอนาคตมาใช้มาก การพัฒนาขาดความสมดุล คนส่วนน้อยร่ำรวยขึ้น คนส่วนใหญ่ได้เป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น เพราะบริโภคมากกว่าผลิตหรือขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาแนวนี้ทำให้ตัวเลขเติบโตแบบฉาบฉวยในระยะสั้น แต่ประชาชนและชุมชนยังอ่อนแอ และจะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ ซึ่งจะรุนแรงกว้างขวางยิ่งกว่าปีพ.ศ. 2540 ส่วนหนึ่งเพราะเศรษฐกิจไทยยิ่งผูกพันกับต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐซึ่งเศรษฐกิจกำลังเป็นขาลง ฟองสบู่จะแตกภายในไม่กี่ปีนี้มากขึ้น ผูกพันกับการใช้น้ำมันซึ่งราคาสูงอย่างไม่มีทางลดลงรวมทั้งเงินคงคลังระดับกลางระดับล่างเป็นหนี้สินล้นตัวยิ่งกว่าปีพ.ศ. 2540 ทรัพยากรงบประมาณถูกถลุงไปมากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลก็ขายรัฐวิสาหกิจดีๆ เช่น ปตท.ออกไปเป็นหนี้จากการกู้ และออกพันธบัตรมากขึ้นยิ่งกว่ารัฐบาลใดที่ผ่านมา      ปัญหาต่อเนื่องมาจากข้อแรก คือ ชนชั้นนำไทยถูกครอบงำทางการศึกษาและความคิดเรื่องการพัฒนาประเทศจากประเทศทุนนิยมตะวันตกมาก พรรคประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ฯลฯ ไม่ได้มีแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหญ่ๆที่ต่างกันไปจากรัฐบาลทักษิณต่างเฉพาะรายละเอียด หากพวกเขาได้เข้ามาเป็นรัฐบาล พวกเขาก็จะยังคงพัฒนาเศรษฐกิจตามกระแสทุนนิยมโลกเพื่อคนรวย คนชั้นกลาง และไม่ยั่งยืน ที่ไม่สมดุลก็จะได้แต่ ถ้าพวกเขาไม่เข้าใจว่ารากเหง้าปัญหาอยู่ที่ไหนจะผ่าตัดได้อย่างไร พวกเขาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบให้ยาแก้ปวดหัวไปวันๆและสังคมไทยยังต้องวิกฤติต่อไปแม้ทักษิณจะไม่อยู่แล้วก็ตาม      การจะผ่าตัดเพื่อแก้ไขวิกฤติของสังคมไทยได้จะต้องปฎิรูปทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมครั้งใหญ่ นั่นก็คือทางเศรษฐกิจจะต้องปฎิรูปเชิงโครงสร้าง การกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา และการมีงานทำให้ทั่วถึงเป็นธรรม ส่งเสริมระบบสหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และบริษัทมหาชนแทนธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่โดยเฉพาะแบบผูกขาดและเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาแบบเน้นความเติบโตตามกระแสทุนนิยมแบบเสรี เป็นการเน้นการพัฒนาคน เศรษฐกิจและตลาดภายในประเทศแบบคำนึงถึงความสุขของคนส่วนใหญ่แทนการหากำไรสูงสุดจะพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงพรือเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองในระดับประเทศใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาทางเลือกแทนการพัฒนาตามทุนนิยมตะวันตก      ในทางการเมืองจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมและถอดถอนเจ้าหน้าที่รัฐได้ง่ายขึ้นมีแนวทางที่จะป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น/ผลประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างเป็นระบบ รัฐต้องให้ทั้งสิทธิเสรีจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อพัฒนาองค์กรอิสระ พรรคการเมืองใหม่ สหภาพแรงงาน สมาคมชาวนาชาวไร่ กลุ่มองค์กรต่างๆของประชาชนให้มีความหลากหลาย เข้มแข็ง ตรวจสอบคานอำนาจ การเมืองภาครัฐได้เพิ่มขึ้น ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐได้ สะดวกและให้สิทธิเสรีภาพ สื่อมวลชน นักวิชาการ องค์กรประชาชนต่างๆเพิ่มขึ้น      ในทางสังคม ต้องปฎิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพและคนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ให้คนใช้สองอย่างมีประสิทธิภาพ รักการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น ปฎิรูปสื่อสารมวลชน ให้มีเพื่อที่ที่มีข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงถึงเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคนและสังคมเพิ่มขึ้น ปฎิรูปหรือยกระดับการพัฒนาด้านศาสนาศิลปะวัฒนธรรม การปลูกจิตสำนึกให้รู้จักอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อส่วนรวม สร้างค่านิยมที่ดีงาม เช่น ความซื่อสัตย์ ความเป็นธรรม ความเอื้ออาทร เห็นแก่ส่วนรวม      ดังนั้นภาคประชาชนต้องสร้างองค์กร/พรรคการเมืองเพื่อเผยแพร่ผลักดันให้เกิดการปฎิรูปทั้ง 3 ด้านนี้ มาแทนที่ซึ่งต้องทำอย่างสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบองค์รวม นโยบายของพรรคการเมืองใหญ่ๆขณะนี้ที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจตามกระแสทุนนิยมโลก และทำให้เกิดปัญหาการแย่งเชิงผลประโยชน์เอาเปรียบทางการเมืองแบบด้านได้อายอดอย่างที่เป็นอยู่ เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ นอกจากจะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่แล้วที่ร้ายยิ่งกว่านั้นคือ การทำให้เกิดปัญหาทางสังคมวัฒนธรรมที่มอมเมาให้คนเห็นแก่ตัว เห็นแก่การหาเงินมาบริโภคและสร้างปัญหาสังคมตามมามากมายชนิดที่การเร่งรัดการใช้ทรัพยากรเพื่อเพิ่มความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เน้นความเติบโตของธุรกิจเอกชนแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาของพรรคไทยรักไทยและพรรคอื่นๆด้วยนี้เอง ที่เป็นตัวการสร้างปัญหาทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรม ดังนั้นจึงต้องศึกษาทำความเข้าใจความสัมพันธ์และผลกระทบที่เลวร้ายนี้และอย่างถึงรากถึงโคนและอย่างเป็นระบบองค์รวม จึงจะแก้ปัญหาวิกฤติและนำสังคมไทยไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

วิทยากร เชียงกูล

 

ระบอบทักษิณทำความเสียหายมากกว่าแค่เรื่องเลี่ยงภาษี


ระบอบทักษิณทำความเสียหายมากกว่าแค่เรื่องเลี่ยงภาษี

      ประชาชนไทยกำลังแบ่งเป็น 2 ขั้ว ระหว่างผู้ที่เรียกร้องให้คุณทักษิณลาออก และผู้ที่ชอบ/เชียร์คุณทักษิณ ถ้าสังคมใจกว้าง และใจเย็นพอที่จะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายโต้แย้งกันด้วยเหตุผล น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ประชาชนสนใจ และเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจการเมืองมากขึ้น แต่สังคมที่คุณยังใช้อารมณ์ความรู้สึกมากกว่าความคิดเป็น มีแนวโน้มจะนำไปสู่การ..ของกลุ่มคนที่เชื่อแบบ 2 ขั้ว สุดโต่งมากกว่าการจะเรียนรู้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษา และข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพต่ำ การศึกษามีแต่สอนให้ท่องจำ ไม่สอนให้คนคิดวิเคราะห์เป็นข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่ครอบงำโดยรัฐบาลได้แต่โฆษณา ให้คนเชื่อตามด้านเดียวว่า คุณทักษิณ และรัฐบาลนี้ เก่งทุกอย่าง ดีทุกอย่าง แม้แต่กรณีซุกหุ้น และถ่ายเทหุ้น 7.3 หมื่นล้านบาท เพื่อเลี่ยงภาษี 2 หมื่นล้านบาท ก็สามารถปกป้องได้ว่าเป็นความบกพร่องโดยสุจริตบ้าง , เป็นเรื่องที่ใครๆเขากำลังทำกัน โดยไม่ผิดกฎหมายบ้าง รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารที่เร้าอารมณ์มากกว่าเหตุผลว่าต้วโกงบ้าง แต่ทำงานเก่งก็ดีกว่าคนอื่นที่โกงเหมือนกัน แต่ทำงานไม่เป็น ประชาชนควรได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร 2 ด้านว่า นโยบายการบริหารแบบทักษิณในรอบ 5 ปีที่ว่าทำให้เศรษฐกิจฟื้นฟูได้ หรือว่าทำให้ประชาชนได้กู้ยืมมีเงินจับจ่ายใช้สอยกับคล่องมือในระยะสั้นๆนั้นมีข้อเสียอะไรบ้าง ทั้งในระยะกลางและระยะยาว ในฐานะ..เศรษฐศาสตร์และ..สังคมศาสตร์ที่ติดตามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยมาตลอดโดยไม่เคยเข้าไปร่วมกับพรรคการเมืองไหน ผมคิดว่าระบอบทักษิณทำให้เกิดผลเสียหายต่อการพัฒนาประเทศมากกว่าที่คนส่วนใหญ่เข้าใจนัก คือ ไม่ใช่แค่เรื่องการซุกหุ้น เลี่ยงภาษี ขาดคุณธรรม จริยธรรม ในฐานะผู้นำเท่านั้น แต่จะทำให้ประเทศเสียหายอย่างน้อย 7 ประเด็น คือ       1. การปกปิดโดยย้ายถ่ายเท และหาวิธีการขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป 73000 ล้านบาท เพื่อเลี่ยงการเสียภาษีส่อเจตนาการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม ไม่คำนึงถึงจริยธรรม และความรับผิดชอบในฐานะผู้นำประเทศ แม้แต่กับธุรกิจทั่วไปก็ควรรับผิดชอบเรื่อง..ในฐานะพลเมืองดี ยิ่งเป็นผู้นำประเทศ ยิ่งควรมีมาตรฐานทางจริยธรรมสูงกว่านักธุรกิจทั่วไปไม่ใช่อ้างว่าใครๆเขาก็ทำกัน      2. การขายกิจการทั้งบริการดาวเทียม และสถานีโทรทัศน์ให้กับต่างชาติทั้งๆที่เป็นกิจการเกี่ยวกับสาธาณสมบัติที่สงวนไว้สำหรับคนไทย เพราะเกี่ยวพันกับทั้งความมั่นคง และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ของประเทศ ส่อให้เป็นการมุ่งหากำไรส่วนตัวจนลืมคิดประเด็นว่านี่เป็นการทำลายผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งผู้นำไม่ควรทำเช่นนั้น แม้แต่นักธุรกิจทั่วไปก็ควรทำ      3. ใช้อำนาจหน้าที่การเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้รักษาผลประโยชน์ส่วนร่วมไปเอื้ออำนวยผลประโยชน์ส่วนตัวของตนทุกวิถีทาง เช่น ลดค่าใช้จ่ายให้บริษัทเอไอเอส ที่รับสัมปทานคลื่นโทรศัพท์ด้วยการออกกฎหมายให้เปลี่ยนจากการจ่ายสัมปทานตามส่วนแบ่งกำไรเป็นการจ่ายภาษีสรรพสามิต (ซึ่งเป็นการกีดกันคู่แข่งรายใหม่ไปในตัว) ลดภาษีอุปกรณ์ดาวเทียม ลดค่าสัมปทาน และปรับผังรายการไอทีวี  ปรับสายการบินให้ขาดทุนเพื่อเปิดทางให้สายการบินแอร์เอเซียทำกำไรเพิ่มขึ้น ให้สินเชื่อแก่รัฐบาลพม่าเพื่อให้มาซื้อบริการของชินแซทเทลไลน์ รับเปิดเจรจาการค้าเสรีกับบางประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจโทรคมนาคม รถยนต์ และกิจการอื่นๆของบริษัทตนเอง และพรรคพวก      4. ใช้อำนาจหน้าที่การเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์ การเงิน การธนาคาร การซื้อขายที่ดิน การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ด้วยวิธการใช้อภิสิทธิฉ้อฉลหาคอมมิชชัน และกำไรเกินควร ทำให้ไม่ส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพ และการแข่งขันที่เป็นธรรม ทำให้เกิดตัวอย่างที่เลวต่อภาคธุรกิจเอกชน ดึงให้นักธุรกิจต้องวิ่งเข้าหาอำนาจรัฐ และกลั่นแกล้งธุรกิจที่ไม่ยอมสยบให้ หรือแบ่งผลประโยชน์ให้น้อย ก่อให้เกิดความปั่นป่วน  ความไม่มีหลักเกณฑ์ที่โปร่งใส      5. ดำเนินนโยบายโครงการประชานิยมแบบสร้างภาพ หาเสียงให้กับตัวเอง ทั้งที่เป็น..ประมาณจากภาษีของประชาชน และการกู้ยืมออกพันธบัตรเอาเงินอนาคตมาใช้ แต่วิธีการจ่าย และประชาสัมพันธ์ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นไร้บุญคุณคุณทักษิณ และของเขา และโครงการส่วนใหญ่ เป็นโครงการกระตุ้นการใช้เงินเพื่อการบริโภค และการลงทุนแบบเร่งผลิตสินค้ามาขาย เพื่อให้เงินหมุนเวียนกลับมาสู่ธุรกิจค้าขายของตน และพรรคพวก (เช่นโทรทัศน์มือถือ รถยนต์ ฯลฯ) และเพิ่มการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมแบบฉาบฉวยไม่ได้มุ่งพัฒนาคน และชุมชน ให้มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการมีการรวมกลุ่มขึ้น มีความเข้มแข็งอำนาจต่อรอง เป็นระบบพ่อค้าผูกขาดได้อย่างแท้จริง ทำให้ประชาชนบริโภคเพิ่มขึ้น เป็นหนี้เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าการเพิ่มของรายได้ที่แท้จริง      6. การอ้างว่ารัฐบาลดำเนินนโยบายแบบ 2 ทางไปพร้อมกัน คือ ทั้งส่งเสริมการลงทุน และการค้ากับต่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว หรือไม่ถึงครึ่ง จริงๆแล้วส่งเสริมการลงทุน และการค้ากับต่างประเทศเป็นด้านหลัก ทำให้ต่างชาติทั้งสิงคโปร์และประเทศอื่นเข้ามายึดครองกิจการในไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงแต่ 5 ปี การค้าระหว่างประเทศก็เริ่มขาดดุลการค้าเพราะนโยบายและโครงสร้างการสั่งออกสินค้าอุตสาหกรรมแบบต้องสั่งเข้า เครื่องจักร วัตถุดิบ น้ำมัน เข้ามามาก คือเงื่อนไขที่ยิ่งทำให้ส่งออกมากก็ต้องสั่งเข้ามากอยู่แล้ว และยิ่งการลงทุนเป็นของต่างชาติมากขึ้นพวกเขาก็จะสั่งซื้อจากบริษัทเครือข่ายของเขามากขึ้น เงินไหลออกมากขึ้นทรัพยากรในประเทศถูกทำลาย แรงงานถูกเอาเปรียบ ประชาชนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น      7. นโยบายการบริหารประเทศทั้งหมดของรัฐบาล เป็นการพัฒนาที่เป็นความเติบโตของสินค้าแบบกอบโกย (ผลประโยชน์ส่วนตัว) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับการพัฒนาแบบพอเพียงโดยสิ้นเชิง นโยบายที่มุ่งแปลงทุกอย่างเป็นสินค้าทำลายทรัพยากรส่วนรวมอย่างมหาศาล รวมทั้งการขายทรัพย์สมบัติสาธารณะ เช่น รัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชนทั้งต่างชาติและนายทุนในชาตินโยบายส่งเสริมแต่เรื่องการค้า การลงทุน การบริโภค และใช้สื่อโหมเรื่องนี้มาก ทำให้ประชาชน และโดยเฉพาะเยาวชนถูกครอบงำเรื่องการบริโภค การเป็นหนี้ การแสวงหาเงินทองทุกวิถีทาง จนเกิดปัญหาสังคม และความเสื่อมเสียทางด้านจริยธรรม ศีลธรรมไปทั่วประเทศ เป็นความเสียหายร้ายแรงทั้งด้านทรัพยากร และจิตใจของผู้คน ซึ่งไม่อาจแก้ปัญหาแบบแยกส่วน เช่น เพิ่มงบประมาณให้พระ หรือ โรงงเรียนอบรมศีลธรรมเพิ่มขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ      ความเสียหายอย่างน้อย 7 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นที่ไม่ได้เกิดจากตัวคุณทักษิณเท่านั้น แต่เกิดจากนโยบายการพัฒนาแบบทักษิณ ซึ่งจะต้องช่วยกันอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่าต้องเปลี่ยนแปลงด้วย จึงจะแก้ปัญหาความเสียหายร้ายแรงครั้งนี้ได้ ถึงจะมีการระบุสภาวะ หรือการเปลี่ยนตัวนายกฯ แต่ถ้ายังไม่เปลี่ยนนโยบายการพัฒนาแบบทักษิณเป็นนโยบายทางเลือกอื่น เช่น เศรษฐกิจพอเพียง ระบบสหกรณ์ ทุนนิยมมีการแข่งขันเป็นธรรมและรัฐสวัสดิการแล้ว ประเทศไทยก็ยังมีโอกาสตกต่ำไปเป็นประเทศเมืองขึ้น มีความขัดแย้งและปัญหาสังคมมากแบบประเทศในละตินอเมริกาได้วิทยากร เชียงกูล

วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

 

ทางแก้ไขความขัดแย้ง ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ใช้เหตุผล และสันติวิธี


ทางแก้ไขความขัดแย้ง ต้องทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ใช้เหตุผล และสันติวิธี      ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองแบบแบ่งเป็น 2 ขั้วมีต้นเหตุมาจาก การคอรัปชั่นแบบผลประโยชน์ทับซ้อน  ของรัฐบาลทักษิณ ที่ทำให้เกิดวิกฤติศรัทธา รัฐบาลขาดความชอบธรรม ประชาชนกลุ่มที่รู้เท่าทันออกมาคัดค้าน แต่รัฐบาลใช้วิธียุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม จ้างพรรคเล็ก แทรกแซงกกต.ชุดเก่า จัดตั้งกลุ่มสนับสนุนมาเล่นงานกลุ่มคัดค้าน ซึ่งทำให้ความขัดแย้งยิ่งขยายตัว       ทางแก้ไขความขัดแย้งคือต้องเปิดเวทีให้คนทั้ง 2 กลุ่มได้อภิปรายกันโดยใช้เหตุผล มากกว่าอารมณต้องเน้นประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่มากกว่านักการเมือง / พรรคการเมือง และต้องสันติวิธี      การตั้งกกต.ใหม่ และเลือกตั้งใหม่ยังไม่อาจแก้วิกฤติทางการเมืองได้อย่างแท้จริง เพราะความชอบธรรมของรัฐบาลไม่ได้อยู่แค่การได้รับเลือกได้คะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่ง แต่อยู่ที่การยอมรับการนับถือของประชาชนทุกวงการ อยู่ที่การแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็น เช่น การสอบสวน และลงโทษผู้คอรัปชั่น แสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน และใช้อำนาจในทางที่ผิด การยอมรับสิทธิเสรีภาพประชาชนในการคัดค้านระบอบทักษิณทำให้เกิดปัญหาทางโครงสร้างและเสี่ยงต่อวิกฤติครั้งใหญ่ที่รุนแรงกว่าเก่า      ที่นักวิชาการต้องขนานนามนโยบาย มาตรการ และพฤติกรรมของรัฐบาลชุดนี้ว่า ระบอบทักษิณ”  เพราะมีลักษณะเฉพาะ เช่นการรวบอำนาจผูกขาดและแสวงหาผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้นโยบายพัฒนาประเทศแบบเกินพอหรือแบบกอบโกยล้างผลาญ เปิดเสรีให้ทุนต่างชาติและทุนขนาดใหญ่มากเกินไป เร็วเกินไป ถลุงใช้ทรัพยากรรวมทั้งเอาเงินอนาคตมาใช้เพื่อหาเสียง และครอบงำหลอกลวงประชาชนชนบทให้มีความหวังแบบไม่สมจริง บริโภคและเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น       ระบอบทักษิณทำให้คนรวยส่วนน้อยรวยขึ้น คนส่วนใหญ่เป็นหนี้มากขึ้น เศรษฐกิจเติบโตแบบฉาบฉวยในระยะสั้น แต่ประชาชนและชุมชนอ่อนแอ เกิดความไม่สมดุล ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงเพิ่มขึ้น และจะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ ซึ่งจะรุนแรงกว้างขวางยิ่งกว่าวิกฤติเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 เพราะ1.    เศรษฐกิจไทยยิ่งผูกพันกับต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐ มากขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเป็นขาลง ฟองสบู่จะแตกภายในไม่กี่ปีนี้ จะดึงให้ไทยมีปัญหาตาม 2.    เศรษฐกิจไทยผูกพันกับการใช้น้ำมันซึ่งราคาสูงอย่างไม่มีทางลดลง มากเกินไป (การสั่งเข้าน้ำมันเพิ่มจากปีละ สองแสนล้านบาทเป็นเจ็ดแสนล้านบาท ในรอบ 5 ปี) 3.    ทรัพยากร และงบประมาณถูกรัฐบาลนี้ถลุงเพื่อหาเสียง และกระตุ้นธุรกิจการค้า รวมทั้งรัฐบาลก็ขายรัฐวิสาหกิจดีๆ เช่น ปตท. ให้เอกชนเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้ทรัพย์สินดี ๆ ลดลง ทั้งรัฐบาลเป็นหนี้จากการกู้ และออกพันธบัตรมากยิ่งกว่ารัฐบาลใดที่ผ่านมา 4.    ภาคธุรกิจเอกชน ประชาชนระดับกลาง และระดับล่างเป็นหนี้สินกันอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าเมื่อปี พ.ศ. 2540       ดังนั้นถึงคุณทักษิณจะเว้นวรรค ให้คนอื่นในไทยรักไทยขึ้นมาเป็นนายกฯ แทน ระบอบทักษิณก็ยังเป็นอันตราย ถึงพรรคประชาธิปัตย์ จะชนะเลือกตั้งได้ขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นโยบายหลักที่สนับสนุนเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ฯลฯไม่ต่างไปจากรัฐบาลทักษิณก็ยังเป็นปัญหา นโยบายการพัฒนาประเทศ ตามกระแสทุนนิยมโลก จะทำคนรวย คนชั้นกลางได้รับประโยชน์ แต่คนจน และประเทศเสียประโยชน์ เป็นนโยบายที่ตรงข้ามกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง / การพัฒนาอย่างยั่งยืน       ดังนั้นประชาชนจะต้องพัฒนาแนวคิดใหม่ พรรคใหม่ที่มีนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมที่ก้าวหน้ากว่านโยบายแบบตลาดเสรีนิยม เช่น ต้องเน้นความเป็นชาตินิยม ประชาธิปไตยสังคม สหกรณ์ และเศรษฐกิจพอเพียงในระดับประเทศ ที่ต้องผ่าตัดทั้งระบบโครงสร้าง เช่นต้องปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร ปฏิรูประบบภาษี การคลัง และปฏิรูปรัฐวิสาหกิจแทนการแปรรูป ปฏิรูปการเจรจาการค้าเสรี แบบคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนมากกว่าภาคธุรกิจเอกชน ฯลฯผ่าตัดปฏิรูปโครงสร้างทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม      การจะแก้ไขวิกฤติทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ต้องคิดถึงนโยบายทางเลือกที่มุ่งเศรษฐกิจพอเพียง การกระจายที่เป็นธรรม และยั่งยืน นโยบายนี้จะเป็นไปได้ ต้องการการผ่าตัดปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมครั้งใหญ่      นั่นก็คือ ทางเศรษฐกิจ จะต้องปฏิรูประบบภาษี และงบประมาณ เพื่อกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา และการมีงานทำไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงเป็นธรรม ส่งเสริมระบบสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และบริษัทมหาชน แทนธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ และเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาแบบเน้นความเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ เป็นการเน้นการพัฒนาคน เศรษฐกิจและตลาดภายในประเทศแบบคำนึงถึงคุณภาพชีวิต และความสุขของคนส่วนใหญ่ การพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงหรือเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองในระดับประเทศ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาทางเลือก แทนการพัฒนาตามกระแสทุน และเทคโนโลยีแบบมุ่งหากำไรสูงสุดของเอกชน       ในทางการเมือง จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบให้ประชาชนมีส่วนร่วมและถอดถอนเจ้าหน้าที่รัฐได้ง่ายขึ้น ปฏิรูปปปช. และองค์กรอิสระอื่น ๆ เพิ่มความเข้มแข็งของมาตรการที่จะใช้เพื่อป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น/ผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างได้ผลแบบที่ เช่นสิงคโปร์ ฮ่องกง ฯลฯ ทำสำเร็จมาแล้ว ควรมีการกำหนดให้รัฐต้องให้ทั้งสิทธิเสรีภาพ แก่สื่อมวลชน และประชาชน และงบอุดหนุน เพื่อพัฒนาองค์กรอิสระ พรรคการเมืองใหม่ สหภาพแรงงาน สมาคมชาวนาชาวไร่ กลุ่มองค์กรต่างๆของประชาชน       ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน โดยสะดวก และสื่อมวลชน นักวิชาการ องค์กรประชาชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ เพื่อที่องค์กรเหล่านี้จะได้มาช่วยกันตรวจสอบคานอำนาจ การเมืองภาครัฐได้เพิ่มขึ้น นี่คือประชาธิปไตยประชาชนอย่างแท้จริง ประชาะปไตยที่ส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบคัดค้านนักการเมือง / เจ้าหน้าที่รัฐตลอดเวลา ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เลือกตั้งผู้แทนสี่ปีครั้งอย่างเดียว ไม่ใช่เผด็จการของพรรคการเมืองที่มีผู้แทนเกินครึ่งหนึ่งของสภา      ในทางสังคม ต้องปฏิรูปการจัดการศึกษาทุกระดับชั้น ทุกรูปแบบให้มีคุณภาพสอดคล้องกับการทำงานของสมอง และเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ปฏิรูปวิธีการสอนใหม่ ให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น ทำวิจัย เพื่อสร้างภูมิปัญญาใหม่ ที่เหมาะกับสังคมไทย ปฏิรูปสื่อสารมวลชน จัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ให้มีรายการข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพลเมือง และยกระดับการพัฒนาทางสังคม ปฏิรูปกิจกรรมด้านศาสนาศิลปะวัฒนธรรม  และการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชน และประชาชน มีค่านิยมที่ดีงาม เช่น ความซื่อสัตย์ ความเป็นธรรม ความเอื้ออาทร เห็นแก่ส่วนรวมรู้จักอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมเพื่อส่วนรวมประชาชนต้องขยายแนวคิด และการจัดตั้งองค์กร เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างใช้ปัญญา      การวิพากษ์คัดค้านระบอบทักษิณ คือการแก้ไขปัญหาสถานะการณ์เฉพาะหน้าที่จำเป็น แต่ประชาชนต้องคิดเผื่อไปถึงการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองของประเทศไทย ไม่ว่าไทยรักไทย หรือพรรคไหนจะได้มาเป็นรัฐบาลด้วย      ภาคประชาชนต้องจัดตั้งองค์กรของตนเอง รวมทั้งตั้งพรรคการเมืองแนวใหม่ เพื่อศึกษาเผยแพร่ผลักดันให้เกิดความรู้ที่เท่าทันระบอบทักษิณ และระบอบโลกาภิวัฒน์ เข้าใจสภาพสาเหตุ และทางแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งต้องมุ่งไปสู่การปฏิรูปเชิงโครงสร้างทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมไปในแนวทางชาตินิยม ประชาธิปไตยสังคม สหกรณ์ และเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีโอกาสได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม มีชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเพียง เป็นธรรม เป็นประชาธิปไตย มีคุณธรรม และจิตสำนึกเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน มากกว่าแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมอย่างที่ทุกรัฐบาล และทุกพรรคใหญ่ยึดเป็นแนวทางอยู่ในปัจจุบันวิทยากร เชียงกูลคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

 

ประชาชนควรมองการเมืองอย่างจำแนกและต่อสู้อย่างมีจังหวะก้าว


วิทยากร เชียงกูล

การที่กลุ่มอดีตพรรคไทยรักไทยและกลุ่มแนวร่วม ออกมารณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง รัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากคณะรัฐประหาร และเป็นรัฐธรรมนูญแบบ อำมาตยาธิปไตย เป็นวิธีการเล่นการเมืองและการทำตัวเป็นผู้รู้ดีกว่าประชาชนแบบเก่าๆ ที่ไม่ช่วยให้ประชาชนได้ข้อมูลที่ดี ฉลาดและเข้มแข็งขึ้น เพราะพวกเขาไม่ได้ให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าร่าง รัฐธรรมนูญ 2550 มีจุดแข็งจุดอ่อนต่างจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 อย่างไร การอ้างว่ารัฐบาลทักษิณมาจากการเลือกตั้งจึงเป็นประชาธิปไตย ส่วนรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหารเป็นเผด็จการ เป็นการมอง 2 ขั้วสุดโต่งอย่างง่ายๆมากไปหน่อย จริงๆแล้วเราควรมองอย่างจำแนกว่า รัฐบาลนั้นๆมาจากการเลือกตั้งที่โปร่งใส ชอบธรรมมากน้อยแค่ไหน รัฐบาลนั้นๆแทรกแซงองค์กรอิสระ ใช้อำนาจคดโกงหาผลประโยชน์ ปราบปรามลิดรอนเสรีภาพของประชาชนหรือไม่เพียงใด ถ้าไม่มีองค์ประกอบความเป็นประชาธิปไตยในหลายๆด้าน ถึงจะเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแบบซื้อเสียงใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์รัฐบาล เช่น

รัฐบาลทักษิณ ก็ไม่ควรถือเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย คำตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญกรณีพรรคไทยรักไทยไปจ้างวานพรรคอื่นว่าทำผิดจริง ให้ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี อธิบายให้เห็นชัดว่าพรรคไทยรักไทยทำลายประชาธิปไตยอย่างไร

รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ก็ไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นกัน แต่ การรัฐประหารในแต่ละประเทศ ในแต่ละครั้ง มีฐานะในสังคมที่ต่างกัน ต้องวิเคราะห์เป็นกรณีๆไป การมองตามตำราตะวันตกอย่างง่ายๆ ว่ารัฐประหารทุกครั้งเป็นเผด็จการไม่อาจใช้อธิบายการเมืองไทยได้ลึกพอ การรัฐประหารในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คือการใช้กำลังยึดอำนาจจากระบอบราชาธิปไตยเพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา การรัฐประหารปี 2520 โดยกลุ่มพลเอกเกรียงศักดิ์ คือการโค่นล้มรัฐบาลจารีตนิยมขวาจัดที่มาจากเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชน 6 ตุลาคม 2519 และเป็นการนำระบบประชาธิปไตยครึ่งใบมาใช้ใหม่ แม้รัฐบาลเกรียงศักดิ์และรัฐบาลหลังจากนั้นจะเป็นกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำมาตยาธิปไตย ก็เป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลช่วง 6 ตุลาคม 2519 – 2520 รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือการโค่นล้มระบอบทักษิณ และการหาทางออกจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีโอกาสนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้านทักษิณ การเมืองในขณะนั้นถึงทางตัน จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ก็แก้ไม่ได้ เพราะรัฐบาลทักษิณคุมเสียงข้างมาก คุมองค์กรอิสระที่สำคัญๆและมีพฤติกรรมเป็นเผด็จการชนิดไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น แม้การรัฐประหารจะเป็นวิธีการที่ล้าหลัง แต่เราน่าจะมองอย่างจำแนกได้ว่า ในบริบทการเมืองยุคใหม่ที่ประเทศไทยมีการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งคนชั้นกลางและพึ่งต่างประเทศค่อนข้างสูงนั้น การรัฐประหารปี 2549 แตกต่างไปจากการรัฐประหาร 2490 หรือ 2501 ที่คณะรัฐประหารเป็นรัฐบาลแบบเผด็จการอยู่ได้ยาวนาน เพราะประเทศไทยใน

ระบบเศรษฐกิจยุคโลกาภิวัตน์นั้น ถึงทหารจะยึดอำนาจได้ แต่จะปกครองแบบเผด็จการระยะยาวไม่ได้เหมือนในยุคก่อนอีกต่อไป รัฐประหาร ปี 2534 ต้องตั้งรัฐบาลพลเรือน อานันท์ ปันยารชุน เพื่อให้ทั้งสังคมไทยและนานาชาติยอมรับ และเมื่อพลเอกสุจินดาหัวหน้าคณะรัฐประหารพยายามจะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2535 โดยไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เขาก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชนจนอยู่ในตำแหน่งนายกฯไม่ได้มาแล้ว รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเป็นภาวะเผด็จการชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และการเลือกตั้งใหม่ แม้รัฐธรรมนูญใหม่จะร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร แต่ สสร. ชุดนี้ก็มาจากนักกฎหมาย นักวิชาการ และชนชั้นนำอื่นๆ ที่มีความคิดอ่านของตัวเองและเป็นนักประชาธิปไตย (แบบชนชั้นกลาง) พอสมควร พวกเขาพยายามที่จะปรับแก้รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ดีขึ้น แม้จะมีแนวคิดแบบชนชั้นนำ เช่น สว.บางส่วนมาจากการสรรหาหรือแต่งตั้งบ้าง ให้อำนาจข้าราชการ ผู้พิพากษา มากกว่าที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมบ้าง แต่ยกเว้น 2 – 3 ประเด็นนี้แล้วรัฐธรรมนูญ 2550 โดยภาพรวมก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ารัฐธรรมนูญ 2540 (บางอย่างดีขึ้น บางอย่างแย่ลง) ไม่ถึงกับเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนและแนวร่วมยุคทักษิณอ้าง นักวิชาการกลุ่มที่ใช้เงินนักการเมืองลงโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ว่า การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญคือการคว่ำบาตรคณะรัฐประหาร เป็นการเล่นโวหารมากกว่ามองการเมืองที่เป็นจริง หากการเมืองไทยตามความเป็นจริงคือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาและการจัดตั้งที่เข้มแข็งพอที่จะไปขับไล่คณะรัฐประหารและเลือกตัวแทนมาร่างรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้ากว่านี้ได้ การเสนอให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 คือการถอยหลังกลับไปให้ตัวแทนทักษิณกลับเข้ามามีอำนาจ รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เขียนไว้สวยนั้นมีจุดอ่อนให้ระบอบทักษิณที่เป็นเผด็จการนายทุนและคดโกงดำรงอยู่ได้ ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550 พยายามปิดช่องโหว่รัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้นักการเมืองมีโอกาสรวบอำนาจได้ลดลง รวมทั้งการตอกย้ำว่า

กรรมการบริหารพรรคที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคต้องเสียสิทธิเลือกตั้งไป 5 ปี นี่คือเรื่องใหม่ที่ไทยรักไทยต้องคัดค้าน เพราะถึงพวกเขาพวกเขาจะตั้งพรรคใหม่และได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมาก พวกเขาก็หมดโอกาสที่จะเสนอกกฎหมายนิรโทษกรรมพรรคพวกได้ นี่คือเหตุผลที่พวกเขาต้องการให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2540 นักวิชาการที่ร่วมคัดค้านรัฐธรรมนูญ 2550 กับกลุ่มไทยรักไทยบางคนอาจไม่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์โดยตรง แต่พวกเขามองปัญหาแบบแยกส่วน เป็นสูตรสำเร็จตามรัฐศาสตร์ตะวันตกมากไป หรือไม่ก็เป็นพวกมีวิธีคิดเป็นแบบ 2 ขั้ว สุดโต่งอย่างง่ายๆมากกว่าที่จะมองการเมืองตามความเป็นจริงว่า ในสถานการณ์การเมืองไทยที่มีปัญหาและข้อจำกัดจำนวนมากโดยที่ประชาชนไม่ได้เข้มแข็งมากพอที่จะเลือกสิ่งที่ฝ่ายประชาชนต้องการมากที่สุดได้นั้น

การมีรัฐธรรมนูญใหม่และมีการเลือกตั้งใหม่ น่าจะดีกว่าไม่มี แม้จะมีรัฐธรรมนูญที่มีข้อบกพร่องบ้างและถึงเลือกตั้งไปแล้ว ก็ยังคงมีนักการเมืองประเภทเก่ากลับมาได้อีกอยู่ดี แต่ประชาชนน่าจะมีอำนาจต่อรองได้เพิ่มขึ้นบ้าง แม้จะได้ไม่มาก แต่ได้บางส่วนก็ดีกว่า รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งประชาชนยังจะต้องต่อสู้ในขั้นตอนต่อไปอีกยาวไกล ประชาชนที่ตื่นตัวต้องช่วงชิงโอกาสในการที่ขยายความรู้และจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนเช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ สมาคม ฯลฯ ให้ประชาชนมีความฉลาดรู้เท่าทันนักการเมือง รู้เท่าทันทหาร ขุนนาง อย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่งแบบถาวร ความจริงของการเมืองไทยคือกลุ่มชนชั้นสูง 2 3 กลุ่ม เช่นกลุ่มทุนทักษิณ กลุ่มขุนนาง/ทหาร กลุ่มทุนอื่นๆกำลังเล่นการเมืองยื้อแย่งอำนาจกันและพยายามดึงประชาชนเป็นพวก ประชาชนถ้ายังไม่เข้มแข็งมากพอจะได้อะไรมาง่ายๆแบบขาวกับดำ ประเภทคว่ำบาตรรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วจะได้อะไรที่ดีกว่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝัน เพราะการได้พวกตัวแทนนายหน้าของทักษิณกลับเข้ามา ยิ่งจะเลวร้ายมากขึ้น ถึงรัฐธรรมนูญผ่าน มีการเลือกตั้งใหม่ ได้

ชนชั้นสูงกลุ่มอื่นมาเป็นรัฐบาล ประชาชนก็ยังต้องคิดหาทางต่อสู้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไปอีกหลายยก ประชาชนควรมองการเมืองอย่างจำแนกแยกแยะและอย่างมีจังหวะก้าว เพราะถึงสมมติว่ามีการลงประชามติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญได้จริง คณะรัฐประหารก็ยังอยู่ และเขาจะจับมือกับรัฐบาลสุรยุทธ์นำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาปรับใช้ใหม่ได้อยู่ดี ประชาชนควรศึกษาประชาธิปไตยของภาคประชาชนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ควรตกเป็นเครื่องมือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประชาชนสามารถวิจารณ์ข้อบกพร่องของคมช,รัฐบาลสุรยุทธ์ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กฎหมายความมั่นคงและกฎหมายอื่นๆ ได้

โดยควรใช้เวทีอื่น ใช้เงินของตัวเอง (เงินของรัฐ ก็คือ เงินจากภาษีประชาชนเพียงแต่ต้องรู้จักใช้อย่างระมัดระวัง) อย่าไปใช้เวทีและเงินของพวกทักษิณ ในสถานการณ์ที่มีตัวเลือก 2 ตัวแค่จะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 การลงประชามติรับ อาจจะถือเป็นเพียงยุทธวิธีหนึ่งในการต่อสู้อย่างมีจังหวะก้าว การรับไม่ได้แปลว่าเราเห็นด้วยกับคมช,รัฐบาลหรือรัฐธรรมนูญทั้งหมด จริงๆแล้วประชาชนยังต้องต่อสู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองให้ก้าวหน้า อิงประโยชน์ภาคประชาชนกว่านี้ในโอกาสต่อไปอีก แต่ประชาชนคงต้องใช้เวลาสะสมกำลังและพัฒนาความเข้มแข็งไปอีกระยะหนึ่ง จึงจะมีความพร้อมพอที่จะสู้กับระบอบเผด็จการ ไม่ว่าเผด็จการทหาร/ขุนนาง หรือเผด็จการนายทุนกลุ่มใดในโอกาสต่อไปได้