RSS

ปัญหาการขาดภาวะผู้นำของประเทศไทย

02 ก.ย.

ผู้นำเท่าที่ปรากฎอยู่

ประเทศไทยกำลังมีวิกฤติภาวะผู้นำทางการเมือง ผู้นำฝ่ายรัฐบาลขาดแคลนทั้งคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์เพื่อประเทศชาติ ทำตัวเป็นผู้จัดการผลประโยชน์ของระบอบทักษิณ และหาประโยชน์ให้ตัวเองและพรรคพวก มากกว่าจะทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการประเทศอย่างโปร่งใสมีประสิทธิภาพ และมองการณ์ไกลเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนไทยทั้งประเทศอย่างแท้จริง

ผู้นำฝ่ายค้านท ำหน้าที่ฝ่ายค้านได้ดีระดับหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นผู้นำรัฐบาลได้ดีกว่ารัฐบาลปัจจุบันสักแค่ไหน พวกเขาส่วนใหญ่เป็นนักเลือกตั้งอาชีพผู้มีแนวคิดนโยบายในการพัฒนาประเทศไม่ไ ด้ต่างไปจากพรรคอื่นมากนัก คือเป็นพรรคแนวจารีตนิยม เสรีนิยมแบบรวมนักการเมืองที่อยากเป็น ส.ส. และเป็นรัฐบาล ยังไม่ใช่พรรคของคนที่มีแนวคิดนโยบายที่ก้าวหน้าเป็นตัวแทนของประชาชนส่วนให ญ่ และยังไม่ใช่พรรคที่มีฐานมวลชน คือมีสาขาพรรคที่ให้การศึกษาสมาชิกที่เข้มแข็งและเป็นประชาธิปไตยจากล่างขึ้ นบน ถ้ามองในแง่เปรียบเทียบกับพรรคพลังประชาชน หากพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลก็อาจจะฉ้อโกงหาผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็นเผด็จการรวบอำนาจน้อยกว่า แต่ยังไม่ถึงขึ้นที่จะเป็นผู้นำในการปฎิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาวิก ฤติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แบบกระจายประโยชน์ให้ประชาชนและทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้นได้อย่างจริงจัง

กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือกลุ่มที่มีแกนนำเป็นนักสื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม และปัญญาชนคนชั้นกลางที่เป็นฝ่ายค้านที่เปิดโปงความเลวร้ายของรัฐบาลระบอบทั กษิณได้เก่ง พวกเขามีมวลชนที่เป็นชนชั้นกลางผู้มีการศึกษาและรู้ข้อมูลทางการเมืองสนับสน ุนอยู่มากพอสมควร แต่คำว่าพันธมิตร ก็เหมือนกับคำว่า แนวร่วมหรือเครือข่าย คือเป็นการมาร่วมมือกันของคนหลายกลุ่ม หลายฝ่าย ที่มีเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลระบอบทักษิณเหมือนกัน แต่แนวคิดอุดมการณ์ ผลประโยชน์ของสมาชิกในการที่จะสร้างสังคมใหม่ หรือที่แกนนำเสนอว่าคือ การเมืองใหม่น ั้น อาจจะแตกต่างกัน บางคนเน้นแนวโรยัลลิสต์ (กษัตริย์นิยม) บางคนเน้นแนวชาตินิยม บางคนเน้นรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมให้กับคนงานและเกษตรกร บางคนเน้นแนวศีลธรรมหรือการเป็นคนดี ไม่โกง ฯลฯ

กลุ่มพันธมิตรฯ ยังเป็นกลุ่มหลวมๆ เหมือนเป็นกลุ่มเฉพาะกิจ ยังไม่ได้มีแนวคิดนโยบายที่เป็นเอกภาพ ยังไม่ได้มีการจัดตั้งสมาชิกอย่างถาวร แม้คำว่าการเมืองใหม่ท ี่ทางแกนนำกลุ่มเสนอก็ยังเป็นแนวคิดแบบหลวมๆ เสนอเป็นเป้าหมายเชิงอุดมคติ ในเชิงภาพฝันถึงการเมืองที่ดีกว่าเดิม บางคนก็เสนอแนวคิดของตนเองแบบหวือหวาสุดโต่ง กลุ่มพันธมิตรยังไม่มีนโยบายโครงการที่เป็นระบบชัดเจน ถ้าเทียบกับผู้นำหรือพรรคการเมืองที่เคยปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมมาแล้วในประ วัติศาสตร์ของโลก และยังไม่ได้เป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการบริหารมากพอ พวกเขาเหมาะที่เป็นกลุ่มผลักดันหรือเป็นสื่อเป็นยามเฝ้าแผ่นดินคอยตรวจสอบคว บคุมรัฐบาล เช่น ถ้าประเทศไทยได้พวกเขาบางคนไปเป็น ปปช.และองค์กรอิสระอื่นๆ จะเหมาะมาก

ผู้นำที่ประชาชนต้องช่วยกันสร้าง

การสร้างผู้นำที่ดีในยุคของการขัดแย้งเป็น 2 ขั้ว จะต้องสร้างผู้ตามที่ดี คือช่วยทำให้ประชาชนมีความรู้ข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจการเมือง อย่างกว้างขว้างลึกเพิ่มขึ้น ประชาชนจะได้เลือกตั้งผลักดันควบคุม ตวรจสอบนักการเมืองให้ต้องทำเพื่อประโยชน์ประชาชนได้มากขึ้นป ัญหาสำคัญคือ ประชาชนไทยส่วนใหญ่ยังรักการอ่าน การใฝ่การเรียนรู้น้อย มีการศึกษาแบบคิดวิเคราะห์เป็นน้อย รู้เรื่องระบบเศรษฐกิจการเมืองและมีการจัดตั้งองค์กร เช่น สมาคม กลุ่มเกษตรกร สหภาพแรงงาน สหกรณ์ ฯลฯ น้อย ประชาชนมักคาดหวังผู้นำที่เก่งทุกอย่างหรือเกือบทุกอย่าง หรือคนที่ตนจะพึ่งพาได้ เช่นกล้าหาญ เป็นคนดี ความรู้ดี มีวิสัยทัศน์ บริหารเก่ง ฯลฯ ซึ่งเป็นการคาดหมายแบบอุดมคติเพ้อฝัน ถ้าไม่ปฎิรูปจากล่างขึ้นบนทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งก็จะสร้างผู้นำที่ดีที่จะ ไม่ถูกระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาดกลืนกินไปเสียก่อนได้ยาก

ในยุคของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาดที่เป็นบริวารของบรรษัทข้า มชาติ ที่คนส่วนใหญ่ต่างต้องดิ้นรนทำมาหากินในอาชีพสาขาใดสาขาหนึ่ง ทำให้คนที่พอจะอยู่ในข่ายขึ้นมาเป็นผู้นำไม่ว่าจะอยู่หรือเคยอยู่ในภาคราชกา ร ธุรกิจเอกชน มหาวิทยาลัย องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้นำท้องถิ่นฯลฯ ต่างก็มีจุดแข็งจุดอ่อนให้วิจารณ์ได้ ไม่มีใครมีชื่อเสียงหรือบารมีมากพอ ที่คนอื่นๆจะยอมรับได้เต็มที่ โดยเฉพาะปัญญาชนหรือคนมีการศึกษา มักเชื่อตัวเองมากกว่าจะยอมรับฟังหรือมองคนอื่นในแง่ยอมรับอย่างจำแนกแยกแยะ เราต้องส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์ การอภิปรายที่มีเหตุผลมีข้อมูลมากกว่าการใช้อารมณ์ความคิดส่วนตัว เรียนรู้ที่จะยอมรับและทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้จักแสวงจุดร่วมสงวนจุดที่ต่าง กันกับกลุ่มคนที่มีหลากหลาย เราจึงจะสร้างภาวะการนำรวมหมู่ที่ดีได้มากกว่าแค่การโจมตีโคนล้มกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ปัญหาสำคัญ คือ ระบบการเมืองของไทยเป็นการแข่งขันภายใต้ระบบผูกขาดโดยกลุ่มนักธุรกิจการเมือ งอาชีพกลุ่มหนึ่ง การตั้งพรรคใหม่นักการเมืองหน้าใหม่เกิดขึ้นได้ยากมาก สภาพเศรษฐกิจการเมืองโดยรวมยังไม่เปิดโอกาสให้เกิดผู้นำที่มีทุกอย่างพร้อมห รือเกือบพร้อม แบบที่ประชาชนไทยคาดหมาย ทางออกคือต้องส่งเสริมให้ภาคประชาชนมีการจัดองค์กรที่เข้มแข็งขึ้นและมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายการเลือกตั้งไปในทางที่ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์ประชาชนมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น ปฎิรูป กกต. ปปช. และองค์กรอิสระอื่นให้เป็นกลางและเข้มแข็งขึ้น ให้มีการเลือก สส.ทางอ้อมจากกลุ่มอาชีพ การเลือกสส.แบบสัดส่วนให้มีจำนวนสูงขึ้น การเลือกสส.แบบแบ่งเขตต้องให้ได้ 50% หรือเลือกรอบ 2 ถ้าไม่ถึง 50% ฯลฯ กติกาเหล่านี้อาจจะช่วยพัฒนาระบบเลือกตั้งของประชาชนได้บางส่วน รวมทั้งต้องพัฒนาประชาธิปไตยทางตรง และประชาธิปไตยแบบที่ประชาชนมีส่วนกำหนด เช่น ปฎิรูปการปกครองท้องถิ่นให้เป็นสภาชุมขนาดเล็กที่ประชาชนเข้าร่วมได้โดยตรง

ประชาชนที่เป็นชาวบ้านทั่วไปอาจจะหลงไหลในผู้นำบางคน เช่น ชวน หลีกภัย ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงใดช่วงหนึ่ง และก็มักจะผิดหวังกับคนนี้คนนั้นไปเรื่อยๆ เพราะประชาชนมักคาดหมายในสิ่งที่ไม่สมจริง และไม่เข้าใจว่า ในโลกสมัยใหม่ซึ่งมีปัญหาความขัดแย้งและการต้องหาทางออกกันอย่างซับซ้อนนั้น ประชาชนในฐานะพลเมืองผู้รู้ตัวเองเป็นผู้เสียภาษีและเป็นเจ้าของประ เทศมีบทบาทที่สำคัญในการ สร้าง คัดเลือก กำกับผู้นำที่เหมาะสม และต้องคอยตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง

การนำในโลกยุคใหม่จะต้องคำนึงถึงผู้นำแบบรวมหมู่ที่มีการกระจายอำนาจกันอย่างเป็นประชาธิปไตย ผู้นำที่สามารถสร้างทีมงาน จูงใจและทำงานร่วมกับทีมงานและประชาชนได้อย่างดี และจะต้องมีแนวคิดอุดมการณ์ นโยบาย หลักการ ที่มีเหตุผล มีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบชัดเจน เช่น นโยบายเพื่อสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม ระบบสหกรณ์ สังคมนิยมประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ ชุมชนสวัสดิการ ที่จะนำพาคนทั้งสังคมไปสู่การเมืองหรือสังคมใหม่ท ี่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ได้จริง ไม่ใช่การหวังพึ่งผู้นำที่มีคุณสมบัติพิเศษคนใดคนหนึ่ง หรือหวังพึ่งแนวคิดแบบอุดมคติเพ้อฝันแนวใดแนวหนึ่งแบบง่ายๆ

การนำที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมใหม่ ไม่ใช่เรื่องของการแสวงหาอำนาจและหนทางในการเอาชนะและครอบงำผู้อื่น หรือการเอาชนะการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการนำหรือการเมืองแบบเก่า การนำแบบใหม่คือการที่คนบางคนบางกลุ่ม สามารถเข้าใจปัญหาได้ดีกว่า และหาทางออกให้กับองค์กร ชุมชน และประเทศได้ดีกว่าคนอื่นๆ แต่ข้อจำกัด คือ จะเข้าถึงและอธิบายให้ประชาชนเข้าใจปัญหาและหาทางออกที่ดีกว่าปัจจุบันได้อย่างงไร

เราอาจจะมีนักวิชาการปัญญาชน นักพัฒนาเอกชน ผู้นำชุมชนที่มีปัญญารู้ว่าสังคมไทยมีปัญหาอย่างไร ควรจะแก้อย่างไรอยู่บ้าง หรือมีกลุ่มที่มีแนวคิดเรื่องทางออกที่มีลักษณะก้าวหน้าสร้างสรรค์อยู่ แต่ประชาชนที่ไม่ค่อยอ่านหนังสือ ไม่ติดตามข่าวสารข้อมูลมักจะไม่รู้จักเขา เพราะสังคมไม่ได้สนใจติดตามศึกษาแสวงหาทางออกอย่างเป็นระบบ ไม่มีเวทีที่จะอภิปรายปัญหาและทางออกอย่างมีเหตุผล อย่างมองการณ์ไกล การที่กลุ่มคนมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างคนรวยกับคนจน คนมีการศึกษาและรู้ข่าวสารกับคนที่ไม่รู้เรื่องราวมาก ปัญหาเศรษฐกิจสังคมใหญ่โตซับซ้อนขึ้น และระบบการศึกษา และการกล่อมเกลาทางสังคมของเราเป็นแบบจารีตนิยมอำนาจนิยมที่ฝังล้าหลัง ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีวุฒิภาวะ คิดและต่อสู้กันแบบ 2 ขั้ว สนใจแต่ผลประโยชน์ระยะสั้น และแนวคิดของตนเองโดยที่ไม่รู้จักฟังคนอื่น ไม่รู้จักแยกแยะสิ่งที่มีเหตุผลและมีปัญญาออกจากการเชื่อและการตัดสินใจด้วย อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัว จึงมีโอกาสที่กลุ่มนิยมทักษิณ และกลุ่มพันธมิตรต้านระบอบทักษิณจะต่อสู้กันแบบต้องเอาชนะอย่างเด็ดขาด มากกว่าที่กลุ่มอื่นๆ หรือประชาชนทั่วไปจะเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขด้วยปัญญา และจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพื่อให้ประเทศพัฒนาไปได้แบบเป็นประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายในระยะยาว

นี่คือปัญหาอุปสรรคที่ประชาชนไทยจะต้องวิจารณ์ตัวเอง วิจารณ์กันและกัน จัดตั้งกลุ่มศึกษาช่วยกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ เพื่อหาทางก้าวข้ามความล้าหลังทางการเมืองและความขาดแคลนภาวะผู้นำที่ดีนี้ไ ปให้ได้ ผ ู้นำและภาวะการนำที่ดีซึ่งจะต้องเป็นแบบรวมหมู่แต่กระจายอำนาจอย่างเป็นประช าธิปไตยด้วย คือสิ่งที่พวกเรา ประชาชนพลเมืองจะต้องช่วยกันศึกษา ค้นคว้า ช่วยกันสร้างขึ้นมา ถ้าไม่ต้องการให้ประเทศไทยตกต่ำกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลวในการบริหารจัดการแก้ป ัญหา หรือกลายเป็นสังคมแบบอนาธิปไตยที่คน 2 กลุ่ม ขัดแย้งกันอย่างยืดเยื้อจนไม่เห็นทางออกที่สร้างสรรค์ เป็นธรรม และยั่งยืนสำหรับคนส่วนใหญ่

 

ป้ายกำกับ: , ,

3 responses to “ปัญหาการขาดภาวะผู้นำของประเทศไทย

  1. ต้นแพร

    กันยายน 3, 2008 at 6:45 am

    น่าใจหายจริงๆ

    ประเทศไทยหนอ

     
  2. lek

    กันยายน 8, 2008 at 4:07 am

    very good article krub.

     
  3. stemis

    มิถุนายน 22, 2009 at 5:47 pm

    ผมชอบเรื่องราวของประเทศไทยมากเลยครับ

     

ใส่ความเห็น