RSS

Category Archives: รศ.วิทยากร เชียงกูล

มนุษย์จะเจริญขึ้นหรือจะเจอหายนะกันแน่?


มนุษย์จะเจริญขึ้นหรือจะเจอหายนะกันแน่?

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล
คนไทยในยุคของความขัดแย้งแบบ 2 ขั้วสุดโต่งที่มีการชุมนุมเดินขบวน ลอบยิงกัน ทำร้ายกัน ฯลฯ อย่างยืดเยื้อ ไม่รู้ว่าจะจบหรือหาทางออกกันได้อย่างไร

เมื่อไหร่ ควรจะได้มีความรู้เรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์เพื่อจะได้แง่คิดในการมองปัญหาปัจจุบันและอนาคตของมนุษย์ในสังคมได้ดีขึ้น

การจัดการศึกษาของไทยยังมีคุณภาพต่ำ เพราะทำให้คนสนใจการเรียนรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์น้อย เน้นการท่องจำและฝึกทักษะเฉพาะทาง ทำให้คนไทยชอบคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวระยะสั้นๆ และชอบเชื่อแบบเลือกเข้าข้างกลุ่มที่คิดแบบสุดโต่งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยใช้อารมณ์ความรู้สึก ศรัทธามากกว่าการใช้เหตุผลและการพิสูจน์ ทดลองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (อย่างเป็นวิชาการ) สังคมแบบนี้ทำให้เกิดความขัดแย้ง, ความรุนแรงและความตกต่ำ ชนชั้นนำไทยยังขาดสติปัญญา, การมองการณ์ไกล มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีความรู้ความสามารถที่แก้ปัญหาของประเทศในเชิงปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านทรัพย์สิน รายได้ และการศึกษาสำหรับคนส่วนใหญ่
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ:

การศึกษาไทยใช้งบสูง แต่ประสิทธิภาพ/คุณภาพต่ำ


การศึกษาไทยใช้งบสูง แต่ประสิทธิภาพ/คุณภาพต่ำ

จากสถิติการศึกษาของประเทศไทยรวบรวมโดยสำนักงานเลขาธิการการศึกษา (สกศ.) (www.onec.go.th) จำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งในภาครัฐและเอกชน

ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ยอดรวมแต่ละปีอยู่ในราว 15 ล้านคน โดยไม่ได้เพิ่ม (ปี 2553 อยู่ในสถาบันศึกษาเอกชน 18.3%) เป็นสัดส่วนค่อนข้างต่ำ แต่งบประมาณการศึกษาภาครัฐนั้นเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก จาก 2.9 แสนล้านบาท ในปีงบประมาณ 2549 เป็น 4.2 แสนล้านบาทในปีงบประมาณ 2554 (คิดเป็น 24% ของงบทั้งประเทศหรือ 4.1% ของ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ประชากรวัยเรียน มีโอกาสได้เรียนเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเล็กน้อยในรอบ 5 ปี ยกเว้นเด็กวัย 2-3 ปี ที่ไม่ได้เข้าเรียนชั้นก่อนประถมวัย และเด็กที่ออกกลางคันหลังจากจบชั้นประถมแล้ว ที่ยังคงได้เรียนเป็นสัดส่วนต่ำ เมื่อเทียบกับประชากรวัยเดียวกันทั้งประเทศ

Read the rest of this entry »

 

คุณทักษิณและเราควรเรียนรู้อะไร


คุณทักษิณและเราควรเรียนรู้อะไร  โดย : วิทยากร เชียงกูล

คุณทักษิณกำลังทุกข์ ทั้งที่เขาร่ำรวยมหาศาล เขาทำให้คนไทยเป็นทุกข์ไปกับความขัดแย้งแบบ 2 ขั้วสุดโต่ง ที่รุนแรงและยืดเยื้อ

และไม่เห็นทางออกในแง่ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ ปัญหา คือ เขาจะฉลาดพอที่จะเรียนรู้สาเหตุที่แท้จริง และหาทางดับทุกข์ทั้งของตัวเขาและคนไทยอื่นๆ ได้หรือไม่
เขาเป็นคนเอาการเอางาน ฉลาด เก่ง แต่เขาทะเยอทะยาน และยึดติดอยู่กับตัวเองมากเกินไป เขารู้หลายอย่าง แต่ไม่รู้จักวิเคราะห์ตัวเอง (โดยเฉพาะเรื่องข้อจำกัด) และธรรมชาติของสรรพสิ่งอย่างแท้จริง เขาทำคนไทยจำนวนมากหลงเชื่อ ศรัทธาในตัวเขาและแนวคิดความลุ่มหลงในการแสวงหาอำนาจและความมั่งคั่งทางวัตถุ ว่านั้นคือความสำเร็จ คือ ความสุขที่ทุกคนอยากได้ แต่เขามองไม่เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวก่อปัญหาความแตกแยก ความยากจน ปัญหาสังคม และวิกฤติสิ่งแวดล้อมให้สังคมไทยมากขนาดไหน
เมื่อคุณทักษิณพูดเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ต่อให้ผมตายไป ผมก็จะไม่มีวันเรียนรู้คำว่าแพ้เป็นอันขาด คนหลายคนยกย่องว่าเขาเป็นนักสู้ใจเด็ดที่ไม่มีวันยอมแพ้ใคร แต่เขาจะเอาชนะใคร เอาชนะอะไร เขาจะเอาสิ่งที่เขาเรียกชนะไปทำอะไร คนรุ่นหกสิบกว่าอย่างคุณทักษิณและพวกเราหลายคน อย่างเก่งก็คงอยู่ได้อีกไม่เกิน 20-30 ปี เมื่อเราจากไป ทุกสิ่งก็ไม่ได้มีความหมายสำหรับเราแต่ละคนอีกต่อไป แต่ผลกระทบต่อคนอื่นยังไม่จบ
คุณทักษิณเชื่อมั่นว่าเขาจะทำให้ประเทศไทยและคนไทยร่ำรวย มั่งคั่งขึ้นได้ด้วยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตามกลไกตลาดของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งคงเพราะเขาประสบความสำเร็จในการสร้างความมั่งคั่งส่วนตัวได้ แต่เขามองแต่ด้านบวกของความมั่งคั่งทางวัตถุ หรือเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เขามองไม่เห็นว่าลัทธิบูชาเงินเหมือนพระเจ้านั้น นำไปสู่ความเสื่อมลง การทำลายล้างธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ของเราทั้งหมด การทำลายล้างความเข้มแข็งความอบอุ่นของครอบครัว ชุมชน สังคม รวมทั้งการบ่อนทำลายวัฒนธรรมความคิดความเชื่อแบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คิดถึงชุมชนหรือส่วนรวมมากกว่าผลกำไรส่วนตน
คุณทักษิณมองไม่เห็น ความโลภ โกรธ หลง ความเคร่งเครียด และความทุกข์ ที่เพิ่มขึ้น เพราะผลของนโยบายการพัฒนาที่มุ่งพัฒนาความเติบโตทางวัตถุแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ที่คนมือยาวมีโอกาสชนะได้มากกว่าเสมอ อย่างไม่เป็นธรรม เมื่อเขาหลงผิดข้อแรก ว่าเงินคือความสำเร็จก็นำไปสู่การหลงผิดข้อสอง ว่าใช้วิธีอะไรก็ได้ขอให้รวยขอให้ชนะเป็นใช้ได้ ผลลัพธ์ คือ ความถูกต้อง วิธีการไม่สำคัญ เขาจึงมองเรื่องการใช้การเอาเปรียบ การโกง การหาผลประโยชน์ทับซ้อนเพื่อเอาชนะทั้งทางธุรกิจและการเมือง ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ ก็ทำกัน แต่เขาทำได้เก่งกว่าคนอื่น เขาจึงชนะ และเขาอ้างต่อไปว่าการชนะคือความถูกต้องชอบธรรม
นี่คือ การมองปรากฏการณ์ระยะสั้นๆ อย่างหลงผิด จริง  แล้วเศรษฐกิจไทยโตแบบกลวงๆ และจะมีปัญหามากขึ้นในขั้นต่อไป ที่มนุษย์วิวัฒนาการได้สูงกว่าสัตว์อื่น สังคมมนุษย์บางแห่งเจริญงอกงามได้กว่าบางแห่ง เพราะพวกเขาเคารพหลักจริยธรรม และการร่วมมือกันเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่การแข่งขันเพื่อประโยชน์ตนเองสุดโต่งอย่างที่คุณทักษิณเข้าใจ
เมื่อมีคนชนะ ก็จะมีคนส่วนหนึ่งแพ้ ที่คุณทักษิณอ้างว่าเขาจะทำให้คนไทยทุกคนชนะหรือรวยร่วมกันได้ เป็นเพียงโวหารคำโฆษณาชวนเชื่อ ขนาด สหรัฐและยุโรปใต้ ที่ร่ำรวยยังมีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจถดถอย คนว่างงานมาก มีคนจนที่เดือดร้อนมาก นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาเทคนิคในการบริหารจัดการธนาคารการเรื่องการเงินผิดพลาด แต่เป็น ปัญหาจากโครงสร้างระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาด ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุล สร้างความขัดแย้งภายในตัวระบบเอง ผลผลิตล้นเกินเพราะนายทุนต้องการกำไรมาก แต่แรงงานขาดอำนาจซื้อ เพราะนายทุนกดค่าแรงไว้ ผลผลิตจึงขายไม่ออก
การที่รัฐบาลและกองเงินทุนระหว่างประเทศระดมอุดหนุนเงินทุนเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรปใต้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาระยะสั้นแบบให้ออกซิเจนเพื่อให้คนป่วยมีอายุยาวไปอีกหน่อยเท่านั้น ทางแก้ไขที่แท้จริงของวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ คือ ต้องผ่าตัดระบบทุนนิยม ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งระบบ รวมทั้งระบบธนาคารการเงินให้เป็นของส่วนรวมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าเพื่อนายทุนนายธนาคารส่วนน้อยอย่างที่ผ่านมา
โลกนี้มีทรัพยากรจำกัด และเสื่อมสลายร่อยหรอ การบริโภคที่ฟุ่มเฟือยและทำลายระบบนิเวศและสังคมวัฒนธรรม เป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่ต้องการแนวคิดและการ พัฒนาแบบใหม่ที่ต้องเน้นเรื่องการผลิตการบริโภคอย่างพอเพียงที่จำเป็น การกระจายอย่างเป็นธรรม และการพัฒนาที่ลดการทำให้โลกร้อน ไม่ใช่การเพิ่มการเติบโตและการบริโภคทางวัตถุ ซึ่งเป็นตัวสร้างปัญหาทั้งวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติสิ่งแวดล้อม
แต่คนที่ประสบความสำเร็จส่วนตัวและเชื่อมั่นในตัวเองสูงอย่างคุณทักษิณ จะสามารถมองเห็นทางเลือกอื่น มองเห็นคนอื่น นอกจาก ตัวกู ของกู ความเชื่อมั่นและแนวทางของกู ได้ละหรือ คนเราจะต้องฉลาดมาก มีวุฒิภาวะมาก จึงจะ วิเคราะห์ตัวเองทั้งด้านบวกและด้านลบ มองเห็นทั้งความสำเร็จและข้อจำกัดของตัวเองได้ คนส่วนใหญ่จะหลงยึดติดว่าตัวเองถูกแล้ว ดีแล้ว คนอื่นผิด และมักมองไปในทางเดียว เห็นแต่เส้นทางเดียว จนไม่อาจมองเห็นทางเลือกอื่นๆ ในชีวิตและสังคมได้
ถ้าคุณทักษิณเก่งจริง ฉลาดจริง เขาควรเอาชนะสิ่งที่ยากที่สุด คือ ตัวเขาเอง ให้ได้ก่อน เลิกหลงใหลความมั่งคั่ง ร่ำรวย เลิกเชื่อว่าใช้วิธีการอะไรก็ได้ขอให้ร่ำรวยเป็นถูกต้อง เพราะที่จริงแล้ว ความมั่งคั่งร่ำรวย อำนาจ การมีคนยกย่องทั้งหลาย ล้วนเป็นเรื่องจอมปลอมฉาบฉวย เป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ และย่อมเสื่อมสลายไป ถ้าคุณทักษิณรู้จักปล่อยวาง และคิดใหม่ได้ว่า ความร่ำรวยทางวัตถุก็ดี อำนาจก็ดี ไม่ได้ทำให้ชีวิตคนเรามีความสุขสงบขึ้นอย่างแท้จริงเลย ทั้งคุณทักษิณ ยังทำให้ประเทศไทยทั้งประเทศปั่นป่วน ผู้คนโกรธเกลียดกัน ฆ่าฟันกัน ทะเลาะกัน ทั้งการเมืองเศรษฐกิจ การบริหารล้มเหลว คนเป็นทุกข์ เพราะผลจากการที่คนกลุ่มหนึ่งถือข้างและต่อต้านคุณอีกด้วย
ถ้าคุณทักษิณฉลาดและคิดใหม่ได้จริง ปล่อยวางความเชื่อผิดๆ ของตัวเองเสียได้ เลิกเล่นการเมืองโดยสิ้นเชิง สละทรัพย์สินส่วนใหญ่ให้กับมูลนิธิเพื่อสังคมแบบบิล เกตส์ทำ คุณจะทำให้ตัวคุณเองและเพื่อนร่วมชาติมีโอกาสที่จะมีความสุขได้มากกว่านี้ คุณคงต้องเปลี่ยนจากการอ่านหนังสือประเภททำอย่างไรจะชนะหรือทำกำไรสูงสุด ไปอ่านหนังสือธรรมะ ปรัชญา ธรรมชาติ การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน คุณจึงจะคิดอะไรที่ใหม่ไปกว่าที่คุณคิดในเวลานี้ได้ (สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา พิมพ์รายงานสภาวะการศึกษาของไทย ปี  2552-2553 ออกมาแล้ว ผู้สนใจขอไปได้ที่สภาการศึกษา หรือเปิดดูจากเว็บไซต์ ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล http://witayakornclub.wordpress.com)

 

ป้ายกำกับ: ,

ทำให้เด็กไทยรักการอ่านหนังสือดีได้ จึงจะกู้ชาติ (ปฏิรูปประเทศ) ได้ โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล


ทำให้เด็กไทยรักการอ่านหนังสือดีได้ จึงจะกู้ชาติ (ปฏิรูปประเทศ) ได้

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล

การรักหรือไม่รักการอ่านหนังสือ คือ ความแตกต่างสำคัญที่ทำให้คนฉลาดหรือไม่ฉลาด ใฝ่การเรียนรู้ คิดอย่างมีเหตุผล แก้ไขปัญหา

พัฒนาตนเองและประเทศได้ดีหรือไม่ ประเทศที่คนรักการอ่านมาก มักประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ และพัฒนาเศรษฐกิจสังคมได้มากกว่า ประเทศที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรักการอ่าน เช่น ประเทศไทย
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ:

จะแก้ปัญหาผู้นำประสิทธิภาพต่ำ คอร์รัปชัน และความขัดแย้งรุนแรงได้อย่างไร


จะแก้ปัญหาผู้นำประสิทธิภาพต่ำ คอร์รัปชัน และความขัดแย้งรุนแรงได้อย่างไร

โดย : รศ.วิทยากร เชียงกูล

ปัญหาหลักของประเทศไทย ถูกกำหนดโดยระบบทางเศรษฐกิจการเมืองมากกว่า โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ

ปัญหาใหญ่ที่สุด คือ ปัญหาผู้นำประสิทธิภาพต่ำคอร์รัปชัน และประเทศมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงได้อีก เนื่องจากยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูง และการแบ่งแนวคิดทางการเมืองเป็น 2 ขั้วสุดโต่ง
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: ,

โครงการคัดเลือกหนังสืิอดี 100 เล่ม โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล


เรียน นักวิจัยทุกท่าน…

ถ้าทำให้คนไทยรักการอ่านได้ก็จะปฏิรูปประเทศไทยได้

ทางโครงการของเรามี blog เป็นของโครงการเอง หากนักวิจัยท่านใดมีบทความที่น่าสนใจ ก็สามารถลงเผยแพร่ทาง blog ได้เลยนะคะ คลิกอ่านตามลิงค์ข้างล่างนี้นะค่ะ
 

ป้ายกำกับ:

ฉันจึงมาหาความหมาย พิมพ์ครั้งที่ 18


This slideshow requires JavaScript.


        ฉันจึงมาหาความหมาย พิมพ์ครั้งที่18 (ปรับปรุงใหม่) กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งรศ.วิทยากร เชียงกูล ส่งมาให้ด้วยตัวท่านเอง “ฉันจึงมาหาความหมาย”หนังสือซึ่งเป็นที่มาของการพานพบกับท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ตัวเป็นๆ และหนังสือซึ่งเป็นที่มาของ “ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล”  

เริ่มเขียน blog และโพสต์เกี่ยวกับงานหนังสือที่ชื่นชอบ…จนกระทั่ง..ได้เจอกับท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ตัวจริง…และได้มีชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล..ซึ่งท่าน รศ.วิทยากร เชียงกูล ได้ให้เกียรติกรุณาตั้งชื่อของชมรมฯให้แก่ดิฉัีน,เพื่อน และน้องๆ ในชมรมฯ ที่ชืนชอบผลงานของท่าน…หนังสือเล่มนี้ และหนังสือทุกประเภทให้คุณค่าแก่ชีวิตมากมายเพียงใด…ถ้าท่านสมาชิกสงสัย รึอยากอ่านและศึกษางานเขียนเล่มนี้อย่าลืมหาซื้ออ่านได้ที่แผงหนังสือใกล้บ้านท่านนะค่ะ …และท่านจะรู้ทำไม…ฉันจึงมาหาความหมาย..

 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/82598

https://witayakornclub.wordpress.com/ 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/82598

 

ป้ายกำกับ: , ,

ประชาสัมพันธ์งานสัมมนาวันที่ 8 เมษายน 55


 

ป้ายกำกับ:

บทที่ 6 เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล:รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 6 

เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล

 

การปฏิรูปการศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและให้มีความเป็นธรรมอย่างก้าวกระโดด นั่นก็คือ ผู้นำต้องกล้าผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระสำคัญ และการมองเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นแค่การมีโครงการเพิ่มเติมจากการจัดการศึกษาปกติ ทำให้ประเทศไทยไม่ได้เข้าใจและไม่ได้ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างแท้จริง

  Read the rest of this entry »

 

บทที่ 5 กรณีศึกษา – การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาของไทย : รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 5

กรณีศึกษา – การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาของไท

 

การปฏิรูปการศึกษาของไทยในรอบทศวรรษแรก ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ฯ มาถึงปัจจุบันเน้นในเรื่องการแก้ไขกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ การแต่งตั้งคณะกรรมการ และการกำหนดนโยบายคำสั่งโครงการจากสำนักงานส่วนกลางใน(กระทรวงศึกษาฯ)ไปยังสถานศึกษาต่างๆ วิธีการปฏิรูปภายใต้ระบบราชการรวมศูนย์ดังกล่าวที่ใช้มาแล้วกว่า 10 ปี ไม่ปรากฏผลสำเร็จโดยรวมอย่างเด่นชัด นอกจากมีความก้าวหน้าเกิดขึ้นเป็นจุดๆ เช่นในบางสถาบัน หรือในกลุ่มนักเรียนที่เก่งที่สุดในสถาบันนั้นๆ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับนักเรียนทั่วทั้งประเทศ ปัญหาที่สำคัญ 2 เรื่องที่การศึกษาไทยแก้ไขได้ไม่ดีพอ คือเรื่องคุณภาพการศึกษาโดยเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำ และรัฐจัดให้บริการทางการศึกษาได้อย่างไม่ทั่วถึงและไม่เป็นธรรม ปัจจุบันสถาบันการศึกษามีคุณภาพแตกต่างกันมาก  คนจน คนด้อยโอกาส คนมีปัญหาต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาอันเนื่องจากสภาพชีวิตและสังคมที่อัตคัดขาดแคลนทำให้เด็กวัยเยาวชนไม่ได้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกันมาก

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 4 บทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น : รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53


บทที่ 4

บทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น

 

          บทนี้เสนอการวิเคราะห์และสรุปบทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น เปรียบเทียบกับสภาพปัญหาของไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลและแง่มุมที่คนไทยจะได้นำบทเรียนของประเทศอื่นมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยให้ได้ผลเพิ่มขึ้น โดยจะพิจารณาทั้งในประเด็นเรื่อง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและการบริหารจัดการทางการศึกษา การจัดหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษา,การบริหารจัดการ,การผลิตและการพัฒนาครูและผู้บริหาร,เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาฯลฯ

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 3 ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น :รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53


บทที่ 3

ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

 

ปัญหาการจัดการจัดการศึกษาของไทยมีหลายด้าน ทั้งที่เป็นปัญหาเห็นได้ชัดในตัวเองและโดยการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น บทนี้เป็นการเสนอสถิติข้อมูลในเชิงวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับประเทศอื่นเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้มุมมองที่กว้างขวางขึ้น

3.1 สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย[1]

ไทยมีประชากรราว 63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ใกล้เคียงกับฝรั่งเศส อังกฤษ และมียอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่คิดแบบถ่วงน้ำหนักด้วยค่าครองชีพ (PPP) อยู่ลำดับที่ 24 (สถิติของธนาคารโลก) แต่ GDP ต่อหัวของประชากรอยู่อันดับที่ 89 (สถิติ IMF)

ประชากร ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าวัยแรงงาน ทำให้ประชากรวัยแรงงานของไทยมีสัดส่วนการรับภาระประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานสูงขึ้น และสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบในเรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจข้อหนึ่ง

Read the rest of this entry »