RSS

Tag Archives: บทความ

บทบาทของผู้มีการศึกษาในยุคบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ครอบครองโลก


สถานการณ์โลก

โลกในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด หลังจากที่การทดลอง สร้างสังคมนิยมของหลายประเทศเช่น โซเวียตรุสเซีย ยุโรปตะวันออกล้มเหลว โลกได้ก้าวสู่ยุคหลังสงครามเย็นซึ่งเป็นโลกยุคเผด็จการทุนนิยมที่ซ่อนรูปและ หลอกลวงได้แนบเนียนยิ่งกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

โลกทุนนิยมสมัยใหม่เป็นเผด็จการในแง่ของการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ และทางสื่อสารมวลชนของบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ และประเทศทุนนิยมศูนย์กลางเพียงไม่กี่บรรษัท บรรษัทข้ามชาติหลายแห่งมียอดขายสินค้าและบริการสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทยด้วยซ้ำ

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , ,

ระบบสหกรณ์ ทางเลือกที่ดีกว่าทั้งทุนนิยม และสังคมนิยมแบบวางแผนจากส่วนกลาง


สหกรณ์ หมายถึง “สมาคมที่เป็นอิสระของกลุ่มคนที่สมัครใจเข้ามาเป็นสมาชิก เพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพวกเขา โดยการเป็นเจ้าของร่วมกันและดำเนินการบริการแบบประชาธิปไตย” คำว่า สหกรณ์จึงมีความหมายกว้างกว่า สหกรณ์เกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ ฯลฯ ที่จดทะเบียนภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรฯ คือ ยังหมายรวมถึง กลุ่มเหมืองปาย กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เครดิตยูเนียน ธนาคารข้าว ธนาคารควาย และชื่อของกลุ่มองค์กรทางเศรษฐกิจของประชาชนอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้คำว่า สหกรณ์นำหน้าด้วย

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

ระบบเศรษฐกิจแบบสหกรณ์มุ่งการพึ่งพาคน และทรัพยากรภายในประเทศเป็นด้านหลัก


จริงๆแล้วประชาชนไทยสามารถเลือกการพัฒนาแนวทางเลือกใหม่ เช่น ระบบสหกรณ์ การเน้นเศรษฐกิจพึ่งตนเองหรือพึ่งพาแรงงานทรัพยากรภายใน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาตลาดภายในประเทศเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นได้ ประชากร 65 ล้านคนนั้นมากกว่าประชากรของอังกฤษ หรือฝรั่งเศส แต่เศรษฐกิจเราเล็กกว่าเขา 10 เท่า เพราะนโยบายการพัฒนาแบบทุนนิยมผูกขาด ทำให้เกิดคนรวยกระจุก (ในมือนายทุน) จนกระจาย (ในหมู่ประชาชน) ประชาชนไทยส่วนใหญ่การศึกษาต่ำ ประสิทธิภาพต่ำ รายได้ต่ำ ขาดอำนาจซื้อ การผลิตและบริโภคสินค้าจำเป็นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ตลาดภายในประเทศเล็ก เพราะคนไทยส่วนใหญ่รายได้ต่ำ ขาดอำนาจซื้อ สินค้าที่ผลิตได้จึงขายคนในประเทศไม่ได้มาก ต้องไปเน้นการส่งออก
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , , ,

ประเทศไทยมีสิทธิ์เลือกระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ แต่ต้องปฏิรูปใหม่ทั้งระบบ


ชนชั้นนำและชนชั้นกลางถูกครอบงำให้พัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตกมาก และคิดว่าไทยเป็นประเทศเล็กๆที่ยากจน ที่ต้องพึ่งพาการลงทุนและการค้าจากต่างชาติจนไม่มีทางเลือกอื่น ทั้งๆที่จริงแล้วประเทศไทยมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก (มากกว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส) มีพื้นที่เป็นอันดับที่ 47 ของโลก และเป็นพื้นที่ที่ทำการเกษตรได้ราว 1 ใน 3 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าหลายประเทศที่มีพื้นที่เป็นภูเขา ทะเลทราย ฯลฯ ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาใน 10 ประเทศ ที่ผลิตอาหารเลี้ยงตนเองได้ และส่งออก  ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ร้อยกว่าประเทศต้องพึ่งพาการสั่งเข้าอาหาร
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

ระบบเศรษฐกิจใหม่ควรเป็นระบบสหกรณ์ผสมทุนนิยมที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม


การที่จะปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาแนวทางการพัฒนาทางเลือกใหม่ที่ต่างไปจากระบบทุนนิยมผูกขาด จะต้องคิดถึงเศรษฐกิจมหภาคทั้งระบบ ที่จะประยุกต์ใช้สำหรับคนทั้งประเทศ รวมทั้งประชาชนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการในเมือง ซึ่งปัจจุบันเป็นพนักงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยจำนวนมากได้ด้วย ระบบเศรษฐกิจใหม่ควรเป็นระบบผสมผสานระหว่างระบบสหกรณ์และทุนนิยมที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม วิสาหกิจชุมชน รัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนที่พนักงานและประชาชนถือหุ้นใหญ่ และมีตัวแทนเป็นฝ่ายบริหารด้วย ฯลฯ จึงจะช่วยให้เกิดเศรษฐกิจที่พอเพียงสำหรับคนจนส่วนใหญ่ได้
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ ถ้าตีความโดยยึดหลักเพื่อคนส่วนใหญ่ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน


นักวิชาการฝ่ายประชาชน นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน ปราชญ์ชาวบ้านจะเลือกตีความปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปในทางก้าวหน้ากว่าพวกข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ว่านี่คือแนวคิดพัฒนาทางเลือกใหม่ ที่ต่างจากทุนนิยมอุตสาหกรรมแบบตะวันตก ที่ส่งเสริมการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าเสรีกับประเทศมหาอำนาจแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ทำให้เกิดความเหลื่อมต่ำสูง และการทำลายสภาพแวดล้อมมาก
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

ความสุขเป็นกระบวนการมากกว่า จุดหมายปลายทาง


Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , ,

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญามากกว่าการเสนอระบบเศรษฐกิจใหม่


คำเต็ม คือ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ใช่ “เศรษฐกิจพอเพียง” เฉยๆ จึงเป็นปรัชญามากกว่าแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ แนวคิดหลักของปรัชญานี้คือการเสนอให้ประชาชนรู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพและดำเนินชีวิตแบบมีเหตุผล มีความพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันในตัว โดยอยู่บนเงื่อนไขของความรู้และคุณธรรม หรือจะอธิบายง่ายๆคือ การเดินทางสายกลาง ไม่เป็นหนี้มากไป ไม่เป็นทุนนิยมบริโภคสุดโต่ง
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

บันได 7 ขั้นไปสู่ความสุข (ความสามารถที่จะชื่นชมกับชีวิต)


Diane Swanbrow, The Paradox of Happiness, Psychology Today 7-8/1989.

1. ให้ความสำคัญอันดับแรกกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่คุณรัก เพราะนี่คือปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ชีวิตที่มีความสุข

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , ,

ต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ จึงจะสร้างเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ได้


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะพัฒนาจาปรัชญาแบบต่างคนต่างตีความเป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมชัดเจนได้ จะต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อกระจายทรัพย์สินรายได้และความรู้ให้เป็นธรรม ช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนมีปัจจัยที่จำเป็น เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย บริการสาธารณสุข เครื่องใช้ไม้สอย การศึกษา การมีงานทำ ที่พอเพียงได้ก่อน

การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงใหญ่แบบกล้าผ่าตัดด้วยการปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร ปฏิรูประบบสหกรณ์และธนาคาร ธุรกิจขนาดย่อม ปฏิรูปด้านการคลัง เช่น การเก็บภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า เพื่อจัดสรรทรัพยากรใหม่ให้เป็นธรรม แก้ปัญหาคนจนเชิงโครงสร้างให้ได้ จำกัดขอบเขตของทุนต่างชาติและทุนขนาดใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขนาดย่อมแข่งขันได้

นอกจากนี้รัฐบาลจะต้องพัฒนาชนบท ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปสื่อมวลชน ทำให้ประชาชนฉลาด รู้เท่าทันและมีจิตสำนึกเพิ่มขึ้น จัดตั้งองค์กร สร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น รัฐต้องให้สิทธิเสรีภาพ และงบประมาณสนับสนุนองค์กรประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ที่ต้องรวมทั้งประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม

การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะปฏิรูปการเมือง แต่รัฐธรรมนูญจะดีแค่ไหนก็ไม่สำคัญเท่ากับการต้องหาทางช่วยเพิ่มความรู้และอำนาจต่อรองของประชาชน เพราะปัญหาความด้อยพัฒนาของการเมืองไทย (รวมเศรษฐกิจและสังคมด้วย) อยู่ที่โครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยม ผูกขาดเจ้าของที่ดิน นักธุรกิจนายทุน คนชั้นกลางมีอำนาจสูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่อย่างเหลื่อมล้ำต่ำสูงห่างกันมาก ดังนั้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ต้องปฏิรูปการกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา ข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนอย่างแท้จริง เป็นธรรม จึงจะช่วยให้กฎหมาย มีผลบังคับใช้ตามเจตนารมณ์ได้ดีขึ้น

ทักษิณหรือนักการเมืองประเภททักษิณที่มีเหลี่ยมสารพัดยังไม่หมดเขี้ยวเล็บ พวกเขายังมีทั้งกำลังทางเศรษฐกิจและการเมือง และยังครอบงำความนิยมในหมู่ชนชั้นกลางบางส่วนและชนชั้นล่างจำนวนมากได้อยู่ การจะปฏิรูปการเมืองและก้าวข้ามพ้นระบอบทักษิณได้ ต้องมีผู้นำที่กล้าฟันธง ปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองมากกว่านี้ ประเด็นสำคัญคือ ต้องทำให้ประชาชนฉลาดรู้เท่าทัน และรู้จักการจัดตั้งอค์กรประชาชนรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้น

ในเมื่อรัฐบาลระบอบทหาร/ ขุนนางยังขาดความรู้ความสามารถที่จะก้าวข้ามระบอบทักษิณได้ จึงเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเฉพาะนักวิชาการ สื่อมวลชน นักพัฒนา ประชาชนที่ตื่นตัว จะต้องไปช่วยอธิบายและจัดตั้ง ให้ประชาชนส่วนใหญ่รู้เท่าทันระบอบทักษิณ และทุนนิยมโลก รวมทั้งปัญหาการเมืองและสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น เพราะในยุคที่ฝ่ายนายทุนใหญ่เป็นคนที่มีทั้งอำนาจและฉลาดในการเอาเปรียบและทำงานด้านรุกตลอดเวลา ถ้าฝ่ายที่อ้างว่าปฏิรูปการเมืองทำเพื่อประชาชนไม่รู้จักเป็นฝ่ายรุก ได้แต่ทำงานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและประคับประคองตัวเองไปวันๆ ก็จะสู้ฝ่ายนายทุนใหญ่ไม่ได้

การที่ คมช. รัฐบาลสุรยุทธ์ไม่มุ่งแก้ปัญหา 4 ข้อที่ใช้เป็นเหตุผลในการยึดอำนาจแบบกล้าฟันธง ไม่ได้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาดที่เป็นบริวารประเทศทุนนิยมศูนย์กลางอย่างจริงจัง ก็เท่ากับปฏิวัติ (ยึดอำนาจ) มาแบบไม่มีเหตุผลที่คุ้มค่า เพราะเพียงแค่เปลี่ยนตัวกลุ่มผู้บริหารและชะลอสถานการณ์ ทำให้ระบอบทักษิณมีเวลาหยุดพัก เพื่อจะสะสมกำลังหาทางกลับมาใหม่อย่างแนบเนียนกว่าเก่าเท่านั้น

ถ้าไม่มีการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้ก้าวหน้า คือ ทำให้ประชาชนเข้าแข็งกว่าที่เป็นอยู่ นักธุรกิจการเมืองแบบเก่าก็จะกลับมาในการเลือกตั้งปีต่อไปได้ เราจะต้องช่วยทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าแนวทางพัฒนาประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียงควรเน้นการพึ่งตนเองระดับประเทศ เน้นการกระจายที่เป็นธรรม ประสิทธิภาพ และประโยชน์ของส่วนรวมนั้น เป็นทางเลือกที่ต่างไปจาก และดีกว่าระบอบการพัฒนาแนวตลาดทุนนิยมเสรีแบบผูกขาด มือใครยาวสาวได้สาวเอา และเป็นบริวารทุนต่างชาติแบบที่ทำกันอยู่

แต่การจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ได้ จะต้องปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ปฏิรูปสื่อสารมวลชนข่าวสารอย่างจริงจัง ประชาชนจึงจะมีความรู้และภูมิคุ้มกันมากพอที่จะต่อรองกับนักธุรกิจการเมืองรวมทั้งพวกขุนนางได้ดีขึ้น

วิทยากร เชียงกูล
ก้าวข้ามระบอบทักษิณ สู่เส้นทางปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ. _ _ กรุงเทพฯ
บ้านพระอาทิตย์, 2550
ISBN 978-974-8003-90-0

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

เศรษฐศาสตร์ของความสุข The Economics of Happiness


Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , ,

รัฐธรรมนูญที่กินได้และประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ


รัฐธรรมนูญ คือ กติกาเพื่อจัดสรรอำนาจ ทรัพยากร สิทธิบทบาทหน้าที่ของประชาชน รัฐธรรมนูญมีผลต่อการเลือกตั้งและการได้มาซึ่งรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้นจึงมีบทบาทต่อการพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมือง สังคมของประชาชนอยู่มาก ถ้าหากเรามีรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบะวัฒนธรรมการเมืองไทย โดยการเน้นให้สิทธิเสรีภาพ โอกาสของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนจนและการศึกษาน้อยเพิ่มขึ้น และลดอำนาจและโอกาสหาผลประโยชน์เองของนักการเมืองลง เพิ่มการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร โดยฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ (ที่ต้องปฏิรูปให้เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารมากขึ้น) ฝ่ายองค์กรอิสระ สื่อมวลชน นักวิชาการ องค์กรประชาชน เราก็มีโอกาสจะได้รัฐบาลที่ต้องฟังเสียงประชาชนมากขึ้น ประชาชนอาจเรียกร้องพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง

แม้สภาพเศรษฐกิจ การเมืองที่เป็นจริง คนส่วนน้อยยังมีอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองสูงกว่าคนส่วนใหญ่มาก ทำให้การเขียนรัฐธรรมนูญให้เอื้อประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่ และมีผลบังคับใช้ได้จริงคงเป็นไปได้ยาก ประเด็นที่สำคัญคือ เราต้องไม่ฝากความหวังไว้ที่รัฐธรรมนูญที่เดียว ประชาชนที่ตื่นตัวก้าวหน้า ต้องพยายามผลักดันปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เกิดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น คือ มีการกระจายทรัพย์สิน รายได้ ความรู้ที่เป็นธรรม เราจึงจะมีทางแก้ปัญหาการซื้อเสียงขายเสียงและปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นได้

แนวทางการสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ต้องใช้นโยบายทางเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบสหกรณ์ มาแทนที่ธุรกิจเอกชนและรัฐวิสาหกิจอย่างกว้างขวาง ทั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารสหกรณ์ สหกรณ์ประกันภัย สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ผู้ผลิตหรือสหกรณ์ที่คนงานเป็นเจ้าของผู้ดำเนินงานเอง สหกรณ์ให้บริการ สหกรณ์สาธารณูปโภคต่างๆ ฯลฯ เหมือนประเทศอื่นที่ขบวนการสหกรณ์พัฒนาไปได้ไกลกว่าของไทยมาก ระบบสหกรณ์เป็นระบบการจัดการทางธุรกิจแบบประชาธิปไตยโดยสมัครใจที่ลดพ่อค้าคนกลางที่ไม่จำเป็น ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น เป็นระบบที่จะทำให้เกิดทั้งประสิทธิภาพและความเป็นธรรมได้ ถ้ามีการส่งเสริมพัฒนาให้ระบบสหกรณ์ก้าวข้ามพ้นระบบราชการและแข่งขันกับพ่อค้านายทุนได้เหมือนในประเทศอื่นๆ

สหกรณ์สามารถลดการค้ากำไรเกินควรของพ่อค้าคนกลาง ส่งเสริมการจ้างงาน และแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ได้ดีกว่าระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาด แต่ทั้งนี้ต้องปฏิรูปให้ระบบสหกรณ์เป็นอิสระจากระบบราชการ และส่งเสริมให้สหกรณ์มีต้นทุนต่ำ มีความสามารถแข่งขันกับธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ขนาดกลางได้เพิ่มขึ้นเหมือนในยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดา นิวซีแลนด์ ละตินอเมริกา ฯลฯ ที่ระบบสหกรณ์พัฒนาได้กว้างขวาง และมีสัดส่วนในระบบเศรษฐกิจของทั้งประเทศอย่างสำคัญ

เราอาจเลือกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม คือระหว่างทุนนิยมที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็กและสหกรณ์ และสังคมประชาธิปไตยที่เน้นการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แบบรวมหมู่ เช่น ระบบสหกรณ์ การประกันสังคม รัฐสวัสดิการ ชุมชนสวัสดิการและนโยบายปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ แบบพึ่งเศรษฐกิจและตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพาการลงทุน การค้าระหว่างประเทศลงเหลือเท่าที่จำเป็น เท่าที่เราได้ประโยชน์หรือไม่เสียเปรียบมากเกินไป เราจึงจะสามารถสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขสำคัญของการปฏิรูปทางการเมืองและสังคมให้เป็นประชาธิปไตย และการพัฒนาประเทศเพื่อคนส่วนใหญ่อย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และยั่งยืน

วิทยากร เชียงกูล
ก้าวข้ามระบอบทักษิณ สู่เส้นทางปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ. _ _ กรุงเทพฯ
บ้านพระอาทิตย์, 2550
ISBN 978-974-8003-90-0

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,