RSS

Tag Archives: เศรษฐกิจพอเพียง

ระบบเศรษฐกิจใหม่ควรเป็นระบบสหกรณ์ผสมทุนนิยมที่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม


การที่จะปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาแนวทางการพัฒนาทางเลือกใหม่ที่ต่างไปจากระบบทุนนิยมผูกขาด จะต้องคิดถึงเศรษฐกิจมหภาคทั้งระบบ ที่จะประยุกต์ใช้สำหรับคนทั้งประเทศ รวมทั้งประชาชนที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการในเมือง ซึ่งปัจจุบันเป็นพนักงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยจำนวนมากได้ด้วย ระบบเศรษฐกิจใหม่ควรเป็นระบบผสมผสานระหว่างระบบสหกรณ์และทุนนิยมที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม วิสาหกิจชุมชน รัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนที่พนักงานและประชาชนถือหุ้นใหญ่ และมีตัวแทนเป็นฝ่ายบริหารด้วย ฯลฯ จึงจะช่วยให้เกิดเศรษฐกิจที่พอเพียงสำหรับคนจนส่วนใหญ่ได้
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ ถ้าตีความโดยยึดหลักเพื่อคนส่วนใหญ่ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน


นักวิชาการฝ่ายประชาชน นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน ปราชญ์ชาวบ้านจะเลือกตีความปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปในทางก้าวหน้ากว่าพวกข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจชั้นนำ ว่านี่คือแนวคิดพัฒนาทางเลือกใหม่ ที่ต่างจากทุนนิยมอุตสาหกรรมแบบตะวันตก ที่ส่งเสริมการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าเสรีกับประเทศมหาอำนาจแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ทำให้เกิดความเหลื่อมต่ำสูง และการทำลายสภาพแวดล้อมมาก
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญามากกว่าการเสนอระบบเศรษฐกิจใหม่


คำเต็ม คือ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ใช่ “เศรษฐกิจพอเพียง” เฉยๆ จึงเป็นปรัชญามากกว่าแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ แนวคิดหลักของปรัชญานี้คือการเสนอให้ประชาชนรู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพและดำเนินชีวิตแบบมีเหตุผล มีความพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันในตัว โดยอยู่บนเงื่อนไขของความรู้และคุณธรรม หรือจะอธิบายง่ายๆคือ การเดินทางสายกลาง ไม่เป็นหนี้มากไป ไม่เป็นทุนนิยมบริโภคสุดโต่ง
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

ต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ จึงจะสร้างเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ได้


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะพัฒนาจาปรัชญาแบบต่างคนต่างตีความเป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมชัดเจนได้ จะต้องมีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อกระจายทรัพย์สินรายได้และความรู้ให้เป็นธรรม ช่วยให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจนมีปัจจัยที่จำเป็น เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย บริการสาธารณสุข เครื่องใช้ไม้สอย การศึกษา การมีงานทำ ที่พอเพียงได้ก่อน

การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงใหญ่แบบกล้าผ่าตัดด้วยการปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร ปฏิรูประบบสหกรณ์และธนาคาร ธุรกิจขนาดย่อม ปฏิรูปด้านการคลัง เช่น การเก็บภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า เพื่อจัดสรรทรัพยากรใหม่ให้เป็นธรรม แก้ปัญหาคนจนเชิงโครงสร้างให้ได้ จำกัดขอบเขตของทุนต่างชาติและทุนขนาดใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขนาดย่อมแข่งขันได้

นอกจากนี้รัฐบาลจะต้องพัฒนาชนบท ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปสื่อมวลชน ทำให้ประชาชนฉลาด รู้เท่าทันและมีจิตสำนึกเพิ่มขึ้น จัดตั้งองค์กร สร้างอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น รัฐต้องให้สิทธิเสรีภาพ และงบประมาณสนับสนุนองค์กรประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ที่ต้องรวมทั้งประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม

การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะปฏิรูปการเมือง แต่รัฐธรรมนูญจะดีแค่ไหนก็ไม่สำคัญเท่ากับการต้องหาทางช่วยเพิ่มความรู้และอำนาจต่อรองของประชาชน เพราะปัญหาความด้อยพัฒนาของการเมืองไทย (รวมเศรษฐกิจและสังคมด้วย) อยู่ที่โครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยม ผูกขาดเจ้าของที่ดิน นักธุรกิจนายทุน คนชั้นกลางมีอำนาจสูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่อย่างเหลื่อมล้ำต่ำสูงห่างกันมาก ดังนั้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ต้องปฏิรูปการกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา ข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนอย่างแท้จริง เป็นธรรม จึงจะช่วยให้กฎหมาย มีผลบังคับใช้ตามเจตนารมณ์ได้ดีขึ้น

ทักษิณหรือนักการเมืองประเภททักษิณที่มีเหลี่ยมสารพัดยังไม่หมดเขี้ยวเล็บ พวกเขายังมีทั้งกำลังทางเศรษฐกิจและการเมือง และยังครอบงำความนิยมในหมู่ชนชั้นกลางบางส่วนและชนชั้นล่างจำนวนมากได้อยู่ การจะปฏิรูปการเมืองและก้าวข้ามพ้นระบอบทักษิณได้ ต้องมีผู้นำที่กล้าฟันธง ปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองมากกว่านี้ ประเด็นสำคัญคือ ต้องทำให้ประชาชนฉลาดรู้เท่าทัน และรู้จักการจัดตั้งอค์กรประชาชนรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้น

ในเมื่อรัฐบาลระบอบทหาร/ ขุนนางยังขาดความรู้ความสามารถที่จะก้าวข้ามระบอบทักษิณได้ จึงเป็นหน้าที่ของประชาชน โดยเฉพาะนักวิชาการ สื่อมวลชน นักพัฒนา ประชาชนที่ตื่นตัว จะต้องไปช่วยอธิบายและจัดตั้ง ให้ประชาชนส่วนใหญ่รู้เท่าทันระบอบทักษิณ และทุนนิยมโลก รวมทั้งปัญหาการเมืองและสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น เพราะในยุคที่ฝ่ายนายทุนใหญ่เป็นคนที่มีทั้งอำนาจและฉลาดในการเอาเปรียบและทำงานด้านรุกตลอดเวลา ถ้าฝ่ายที่อ้างว่าปฏิรูปการเมืองทำเพื่อประชาชนไม่รู้จักเป็นฝ่ายรุก ได้แต่ทำงานแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและประคับประคองตัวเองไปวันๆ ก็จะสู้ฝ่ายนายทุนใหญ่ไม่ได้

การที่ คมช. รัฐบาลสุรยุทธ์ไม่มุ่งแก้ปัญหา 4 ข้อที่ใช้เป็นเหตุผลในการยึดอำนาจแบบกล้าฟันธง ไม่ได้ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาดที่เป็นบริวารประเทศทุนนิยมศูนย์กลางอย่างจริงจัง ก็เท่ากับปฏิวัติ (ยึดอำนาจ) มาแบบไม่มีเหตุผลที่คุ้มค่า เพราะเพียงแค่เปลี่ยนตัวกลุ่มผู้บริหารและชะลอสถานการณ์ ทำให้ระบอบทักษิณมีเวลาหยุดพัก เพื่อจะสะสมกำลังหาทางกลับมาใหม่อย่างแนบเนียนกว่าเก่าเท่านั้น

ถ้าไม่มีการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้ก้าวหน้า คือ ทำให้ประชาชนเข้าแข็งกว่าที่เป็นอยู่ นักธุรกิจการเมืองแบบเก่าก็จะกลับมาในการเลือกตั้งปีต่อไปได้ เราจะต้องช่วยทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่าแนวทางพัฒนาประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียงควรเน้นการพึ่งตนเองระดับประเทศ เน้นการกระจายที่เป็นธรรม ประสิทธิภาพ และประโยชน์ของส่วนรวมนั้น เป็นทางเลือกที่ต่างไปจาก และดีกว่าระบอบการพัฒนาแนวตลาดทุนนิยมเสรีแบบผูกขาด มือใครยาวสาวได้สาวเอา และเป็นบริวารทุนต่างชาติแบบที่ทำกันอยู่

แต่การจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ได้ จะต้องปฏิรูปทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ปฏิรูปสื่อสารมวลชนข่าวสารอย่างจริงจัง ประชาชนจึงจะมีความรู้และภูมิคุ้มกันมากพอที่จะต่อรองกับนักธุรกิจการเมืองรวมทั้งพวกขุนนางได้ดีขึ้น

วิทยากร เชียงกูล
ก้าวข้ามระบอบทักษิณ สู่เส้นทางปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ. _ _ กรุงเทพฯ
บ้านพระอาทิตย์, 2550
ISBN 978-974-8003-90-0

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,