RSS

Category Archives: “รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53”

บทที่ 6 เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล:รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 6 

เป้าหมายและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผล

 

การปฏิรูปการศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาหรือกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและให้มีความเป็นธรรมอย่างก้าวกระโดด นั่นก็คือ ผู้นำต้องกล้าผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการ เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระสำคัญ และการมองเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นแค่การมีโครงการเพิ่มเติมจากการจัดการศึกษาปกติ ทำให้ประเทศไทยไม่ได้เข้าใจและไม่ได้ปฏิรูปการศึกษาให้ได้ผลอย่างแท้จริง

  Read the rest of this entry »

 

บทที่ 5 กรณีศึกษา – การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาของไทย : รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 5

กรณีศึกษา – การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาของไท

 

การปฏิรูปการศึกษาของไทยในรอบทศวรรษแรก ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ฯ มาถึงปัจจุบันเน้นในเรื่องการแก้ไขกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ การแต่งตั้งคณะกรรมการ และการกำหนดนโยบายคำสั่งโครงการจากสำนักงานส่วนกลางใน(กระทรวงศึกษาฯ)ไปยังสถานศึกษาต่างๆ วิธีการปฏิรูปภายใต้ระบบราชการรวมศูนย์ดังกล่าวที่ใช้มาแล้วกว่า 10 ปี ไม่ปรากฏผลสำเร็จโดยรวมอย่างเด่นชัด นอกจากมีความก้าวหน้าเกิดขึ้นเป็นจุดๆ เช่นในบางสถาบัน หรือในกลุ่มนักเรียนที่เก่งที่สุดในสถาบันนั้นๆ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับนักเรียนทั่วทั้งประเทศ ปัญหาที่สำคัญ 2 เรื่องที่การศึกษาไทยแก้ไขได้ไม่ดีพอ คือเรื่องคุณภาพการศึกษาโดยเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำ และรัฐจัดให้บริการทางการศึกษาได้อย่างไม่ทั่วถึงและไม่เป็นธรรม ปัจจุบันสถาบันการศึกษามีคุณภาพแตกต่างกันมาก  คนจน คนด้อยโอกาส คนมีปัญหาต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาอันเนื่องจากสภาพชีวิตและสังคมที่อัตคัดขาดแคลนทำให้เด็กวัยเยาวชนไม่ได้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกันมาก

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 4 บทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น : รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53


บทที่ 4

บทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น

 

          บทนี้เสนอการวิเคราะห์และสรุปบทเรียนจากการปฏิรูปการศึกษาในประเทศอื่น เปรียบเทียบกับสภาพปัญหาของไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลและแง่มุมที่คนไทยจะได้นำบทเรียนของประเทศอื่นมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยให้ได้ผลเพิ่มขึ้น โดยจะพิจารณาทั้งในประเด็นเรื่อง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและการบริหารจัดการทางการศึกษา การจัดหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนและคุณภาพการศึกษา,การบริหารจัดการ,การผลิตและการพัฒนาครูและผู้บริหาร,เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาฯลฯ

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 3 ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น :รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53


บทที่ 3

ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

 

ปัญหาการจัดการจัดการศึกษาของไทยมีหลายด้าน ทั้งที่เป็นปัญหาเห็นได้ชัดในตัวเองและโดยการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น บทนี้เป็นการเสนอสถิติข้อมูลในเชิงวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับประเทศอื่นเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้มุมมองที่กว้างขวางขึ้น

3.1 สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย[1]

ไทยมีประชากรราว 63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ใกล้เคียงกับฝรั่งเศส อังกฤษ และมียอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่คิดแบบถ่วงน้ำหนักด้วยค่าครองชีพ (PPP) อยู่ลำดับที่ 24 (สถิติของธนาคารโลก) แต่ GDP ต่อหัวของประชากรอยู่อันดับที่ 89 (สถิติ IMF)

ประชากร ผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าวัยแรงงาน ทำให้ประชากรวัยแรงงานของไทยมีสัดส่วนการรับภาระประชากรวัยเด็กและผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานสูงขึ้น และสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบในเรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจข้อหนึ่ง

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 2 การจัดการศึกษาของไทยในช่วงปี 2552–2553 :รายงานสภาวะการศึกษาฯปี 52-53


บทที่ 2

การจัดการศึกษาของไทยในช่วงปี 2552–2553

 

บทนี้ผู้วิจัยได้คัดจากรายงานสถิติการศึกษาที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ( สกศ.) เป็นผู้รวบรวมเบื้องต้นมานำเสนอพร้อมกับการ วิเคราะห์เชิงตั้งข้อสังเกตของผู้วิจัยต่อท้ายสถิติแต่ละตารางตามที่ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านที่ไม่ถนัดหรือไม่มีเวลาจะศึกษาสถิติการศึกษาอย่างละเอียดได้เห็นประเด็นที่น่าสนใจ

สถิติในบทนี้ประกอบไปด้วยจำนวนนักเรียน นักศึกษา ระดับประเภทต่างๆ อัตราการคงอยู่ของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา งบประมาณการศึกษา ปีการศึกษาเฉลี่ยของไทย ร้อยละครูอาจารย์จำแนกตามวุฒิการศึกษา นอกจากนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมเพิ่มเติม สถิติผู้มีงานทำจำแนกตามระดับการศึกษา และสถิติคะแนนเฉลี่ยนักเรียนทั่วประเทศ จากผลการทดสอบ ONET  ม.3 และม.6

Read the rest of this entry »

 

บทที่ 1 บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทย ในช่วงปี 2552–2553 “รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53”


บทที่ 1    

บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทย ในช่วงปี 2552–2553

 

สภาวะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มีอิทธิพลแบบปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันกับการจัดการศึกษาอย่างเชื่อมโยงกันเป็นระบบองค์รวม การจะทำความเข้าใจและหาทางปฏิรูปการศึกษาไทยให้ได้ผลจริงจำเป็นที่จะต้องตระหนักและหาทางปฏิรูปทางด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยควบคู่ไปด้วย

1.1 การเมืองไทย ในปี 2552–2553 คงเป็นการเมืองเรื่องการแย่งผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงกลุ่มน้อยที่ต่างฝ่ายต่างพยายามดึงประชาชนมาเป็นพรรคพวกของตน ปัญหาที่เด่นชัดที่สุดคือความขัดแย้งแบบ 2 ขั้วสุดโต่งระหว่างฝ่ายนิยมและฝ่ายต่อต้านอดีตนายกฯ ดร.ทักษิณ ชินวัตร

Read the rest of this entry »

 

คำนำ-สารบัญ “รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53”


คำนำ

 

รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2552 – 2553 “จะปฏิรูปการศึกษาให้เกิดผลจริงได้อย่างไร” การนำเสนอรายงานฉบับนี้ นับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ และเป็นรายงานประจำปีที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ดำเนินการจัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ

Read the rest of this entry »