RSS

Category Archives: บทความในผู้จัดการร

ไมเคิล ไรท์ กระจกเงาส่องสังคมไทย


ไมเคิล ไรท์ กระจกเงาส่องสังคมไทย
โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 1 กุมภาพันธ์ 2552 18:18 น.
ใครที่ชอบอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม คงจะเคยได้อ่านหรือได้ยินชื่อ ไมเคิล ไรท์ ผู้เขียนบทความภาษาไทยรวมเป็นเล่มชื่อ “ฝรั่งคลั่งสยาม” และอื่น ๆ เขาได้เขียนบทความเชิงวิเคราะห์ที่ทำให้เกิดโต้แย้งกันมากพอสมควร เช่นหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ที่เคยเชื่อกันว่าจารึกในสมัยสุโขทัยนั้น เขาเห็นว่าโดยโครงสร้างไวยากรณ์สำนวนภาษาน่าจะจะจารึกในสมัยต้น ๆ รัตนโกสินทร์และถือเป็นวรรณกรรมสั่งสอนมากกว่า ในที่นี้ผมเพียงแต่อยากจะเขียนถึงไมเคิล ไรท์ในฐานะเพื่อนเก่าคนหนึ่งแบบมองภาพกว้างมากกว่า

ผมรู้จักไมเคิล ไรท์เมื่อผมย้ายงานจากสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชเข้าไปทำงานที่ฝ่ายวิจัยและวางแผนธนาคารกรุงเทพในปี 2515 งานหลักของฝ่ายวิจัยฯสมัยนั้นคือ ทำวารสารเศรษฐกิจรายเดือน และวารสารประจำปีของธนาคารกรุงเทพซึ่งมีคนหาอ่านและกล่าวถึงกันพอสมควร ในยุคที่เผด็จการที่วงการวิชาการและนิตยสารถูกจำกัดเขต ผมเข้าไปช่วยทำฉบับภาษาไทย ไมเคิล ไรท์ที่เรามักชอบเรียกสั้น ๆ ว่าไมค์ ทำฉบับภาษาอังกฤษ เข้าใจว่าเขาคงจะช่วยแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ, ช่วยตรวจทานด้านภาษาอังกฤษหรือเขียนข่าวเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะเขาไม่ได้มีพื้นความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มากพอที่จะเป็นนักเขียนบทความประจำฉบับเหมือนอย่างกองบรรณาธิการส่วนใหญ่ ซึ่งจบหรือมีพื้นมาทางเศรษฐศาสตร์ ที่จริงไมค์คนอังกฤษออกเดินทางมาเอเชียตั้งแต่อายุ 19 โดยไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ แต่เขาเป็นนักศึกษาด้วยตัวเอง เป็นนักอ่านอย่างกว้างขวาง เขาจึงเขียนภาษาอังกฤษได้ดีและตอนหลังเขาก็เขียนภาษาไทยได้ค่อนข้างดีด้วย นี่คือสิ่งที่คนไทยและระบบการศึกษาไทยยังไม่ค่อยได้เรียนรู้ว่าการอ่านและการเรียนด้วยตนเองสำคัญอย่างไร

ก่อนจะมาอยู่เมืองไทย ไมค์เคยไปอยู่ศรีลังกามาระยะหนึ่งและเขาชอบคุยเปรียบเทียบประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของศรีลังกากับไทยให้พวกเราฟัง รวมทั้งทำอาหารศรีลังกาให้พวกเรากิน เวลาเขาเชิญพวกเราไปสังสรรค์กันที่บ้านเช่าของเขาด้วย ผมเป็นคนชวนเขาให้เขียนบทความเป็นภาษาไทยและช่วยดูภาษาบทความแรก ๆ ให้เขาด้วย ส่วนเขาก็เคยช่วยแปลบทกวีเพลงเถื่อนแห่งสถาบันและบทกวีอื่น ๆ ของผมอีก 3-4 ขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ ตอนที่ผมได้รับเชิญให้ไปประชุมกวีแห่งอาเซียนที่อินโดนีเซียร่วมกับอังคาร กัลยาณพงศ์และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ตอนนั้นคุณเนาวรัตน์ก็มาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพฯ แต่อยู่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ถ้าจำไม่ผิดคิดว่าเขาคงจะแปลบทกวีของคุณเนาวรัตน์ด้วย

หลังเหตุการณ์นักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตย 14 ตุลาคม 2516 พนักงานธนาคารหนุ่มสาวกลุ่มที่เป็นนักประชาธิปไตยได้จัดตั้งสหพันธ์พนักงานธนาคาร ซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง นี่เป็นครั้งแรกที่พนักงานธนาคารซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคนจบมหาวิทยาลัยที่ทำงานในห้องแอร์ได้เงินเดือนค่อนข้างสูงและหัวสูงมากกว่าที่จะคิดว่าพวกตนเป็นแรงงานกับเขาด้วยเหมือนกัน ได้จัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้น คนที่จัดตั้งสหภาพแรงงานธนาคารเป็นพนักงานธนาคารส่วนน้อยที่หัวก้าวหน้า ที่จัดตั้งเป็นสหภาพฯขึ้นมาเพราะความตื่นตัวทางการเมืองจากกระแสการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตยและความเป็นธรรมของสังคมส่วนรวมมากกว่า เพื่อต้องการต่อรองเรื่องค่าจ้างซึ่งพนักงานธนาคารสมัยนั้นมีปัญหาน้อยกว่าโรงงานอุตสาหกรรมมาก คนที่เป็นหัวแรงคือคุณสกุล ซึ่งภายหลังยังมาทำสหภาพแรงงานพนักงานธนาคารกรุงเทพต่อ และณรงค์ เพชรประเสริฐ ซึ่งตอนนั้นอยู่ธนาคารกรุงเทพด้วยกัน

เหตุที่พวกเราจัดตั้งเป็นสหพันธ์ที่มีสมาชิกจากพนักงานหลายธนาคารทีเดียวเลย เพราะกฎหมายอนุญาตและเพราะเรามีเครือข่ายเพื่อนฝูงที่จบจามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ จากหลายธนาคาร แม้จำนวนสมาชิกโดยรวมแล้วจะน้อยมาก แต่ชื่อสหพันธ์ฯฟังดูเป็นองค์กรระดับชาติที่ใหญ่โต เวลาออกแถลงการณ์สนับสนุนการต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนหรือสหภาพแรงงานอื่น ๆ ดูมีน้ำหนักในทางการเมืองพอสมควร

ไมเคิล ไรท์เป็นคนที่เข้าร่วมกลุ่มพูดคุยและสนับสนุนกิจกรรมของพวกเราอยู่เสมอ อาจจะไม่เป็นทางการและอาจไม่แสดงตัวในที่สาธารณะ เพราะการเป็นฝรั่งต่างชาติคงจะทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นที่เพ่งเล็งได้มากเกินไป แต่เขาเข้ามาร่วมกับพวกเราด้วยความสมัครใจและเอาการเอางานอย่างไม่ต้องสงสัย และเท่าที่พวกเรารู้จักกันมานานอย่างรู้ความคิดนิสัยใจคอกันดีเชื่อว่าเขาไม่ใช่สายลับของชาติไหนด้วย แม้ไมค์จะชอบเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมมากกว่าเรื่องการเมือง แต่เขาก็มาเข้าร่วมกลุ่มศึกษาปรัชญาวัตถุนิยมวิพากษ์ วัตถุนิยมประวัติศาสตร์กับพวกเราอยู่เกือบประจำ นี่คือวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนรุ่น 14 ตุลาคม 2516 ที่น่าเสียดายที่มาถูกตัดตอนไปในอีก 3 ปีต่อมา

สหพันธ์พนักงานธนาคารมีบทบาทในทางการเมืองระดับประเทศ รวมทั้งการทำงานด้านเผยแพร่ความรู้และกิจกรรมทางสังคมมากกว่าการเรียกร้องเรื่องแรงงานสัมพันธ์ เพราะสมาชิกในแต่ละธนาคารเป็นคนส่วนน้อยมาก และสภาพการจ้างงานในธนาคารในตอนนั้นก็มีปัญหาไม่มากนัก แต่ในธนาคารก็มีเรื่องให้ต่อสู้อยู่บ้างเหมือนกัน เช่นเมื่อฝ่ายบริหารธนาคารกรุงเทพฯสั่งย้ายพนักงานธนาคารกรุงเทพฯที่เป็นกรรมการสหพันธ์ 2 คน ไปอยู่ต่างจังหวัด เพราะไม่พอใจที่เขาทั้ง 2 ไปร่วมจัดตั้งสหภาพแรงงาน เราได้ฟ้องร้องและชนะตามกฎหมายแรงงานว่านายจ้างไม่มีสิทธิที่จะย้ายกรรมการสหภาพไปอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งเป็นการขัดขวางการทำงานด้านสหภาพได้ นี่คือการให้บทเรียนที่ฝ่ายบริหารธนาคารกรุงเทพฯต้องปรับท่าที และต้องจ้างคนที่รู้เรื่องกฎหมายแรงงานและแรงงานสัมพันธ์มาดูแลฝ่ายบุคคล

จากการเป็นสมาชิกสหพันธ์พนักงานธนาคารนี้เอง ที่ทำให้ผมมีโอกาสได้เดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรมเป็นครูของพนักงานสหภาพแรงงาน ที่สถาบันฝึกอบรมผู้นำแรงงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ที่เมืองตูรินประเทศอิตาลีเป็นเวลา 3 เดือนในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาประชาชน 6 ตุลาคม 2519 ไม่นาน ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีชาวสหพันธ์พนักงานธนาคารบางคนถูกจับกุมในการร่วมชุมนุมคัดค้านการกลับประเทศของพลเอกถนอม กิตติขจรที่ธรรมศาสตร์ และภายหลังถูกปล่อยออกมา บางธนาคารถือโอกาสปลดกรรมการสหพันธ์ฯออกจากการเป็นพนักงานธนาคาร มีคนหนึ่งที่เลือกการเข้าป่าเหมือนนักศึกษาปัญญาชนหลายพันคนในยุคนั้น

ไมเคิล ไรท์โทรทางไกลไปบอกผู้อำนวยสถาบันฝึกอบรมผู้นำแรงงานที่อิตาลีว่าให้เตือนผมว่าไม่ควรรีบกลับประเทศไทย เพราะมีการจับกุมคุมขังนักศึกษาประชาชนจำนวนมาก และมีการคุกคามเสรีภาพนักคิดนักเขียนนักหนังสือพิมพ์ สำนักงานของสหพันธ์ฯซึ่งเช่าที่ร่วมกันกับกลุ่มนักกิจกรรมส่งหนังสือไปให้ห้องสมุดในต่างจังหวัดถูกตำรวจค้น และยึดหนังสือไปทั้งหมด หลังจากการอบรมที่อิตาลีจบลงในเดือนธันวาคม 2519 ผมอาศัยเพื่อนฝูงและคนรู้จักรอดูสถานะการณ์อยู่ในฝรั่งเศสและต่อมาอังกฤษอยู่ 2-3 เดือนก่อนที่จะตัดสินใจเดินทางกลับเมืองไทย หลังจากที่เห็นว่าสถานะการณ์การปราบนักศึกษาปัญญาชนตอนนั้นเริ่มผ่อนคลายไปพอสมควร และประเมินว่าผมเป็นแค่นักเขียน นักวิชาการ ไม่ใช่แอคติวิสต์หรือนักเคลื่อนไหวโดยตรง จึงน่าจะกลับมาได้โดยไม่มีปัญหา ผมกลับมาทำงานที่ฝ่ายวิจัยฯธนาคารกรุงเทพฯ กิจกรรมทางการเมืองของพวกเราต้องหยุดลง แต่ผมยังแปลยังเขียนหนังสือแนวที่ไม่ใช่การเมืองโดยตรงไมค์เริ่มไปสนิทกับสุจิตต์ วงศ์เทศและเขียนบทความให้ศิลปวัฒนธรรม อีก 5 ปีต่อมาผมจึงได้ลาออกไปเป็นอาจารย์ระดับตั้งต้น ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะเบื่อกรุงเทพฯที่จราจรติดขัด/แออัดและสภาพการทำงานที่เริ่มจำเจ

หลังจากนั้นผมก็ห่างจากไมเคิล ไรท์และพรรคพวกชาวสหพันธ์พนักงานธนาคารไป เรายังมีการนัดพบปะกันบ้างนาน ๆ ครั้ง หรือได้เจอกับบางคนในกิจกรรมอภิปราย, สัมมนาต่าง ๆ บ้าง ช่วงนี้เองที่ไมเคิล ไรท์ได้ทำสิ่งที่เขาถนัด คือศึกษาและเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมเป็นภาษาไทยให้กับนิตยสารศิลปวัฒนธรรมและอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องและเริ่มมีชื่อเสียง ก็เป็นเรื่องแปลกดีที่คนไทยหลายคนไม่ได้สนใจอ่านศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของไทยเอง แต่คนอังกฤษคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย แต่มีวัฒนธรรมของนักอ่านและการศึกษาด้วยตนเองกลับสนใจมากกว่า และพยายามเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้กับคนอื่น ๆ มากกว่า

บทเรียนจากเรื่องนี้คือ

1. การสร้างวัฒนธรรมให้ประชาชนสนใจอ่านและเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องของประเทศตัวเอง(ที่สัมพันธ์กับโลกด้วย) เป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งกระทรวงศึกษาและกระทรวงอื่น ๆ ควรจะใส่ใจทำให้มากกว่าที่ทำมาสักร้อยเท่า

2. การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาแบบมองนอกกรอบวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบที่ไมเคิล ไรท์ วิเคราะห์ปัญหาประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมไทย ทำให้ได้มุมมองใหม่ ข้อสังเกตใหม่ ๆ ที่หลากหลายน่าสนใจมากขึ้น แม้ว่าบทวิเคราะห์หรือข้อสันนิษฐานของเขาอาจจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนหรืออาจมีข้อจำกัด มีอคติอะไรอยู่บ้างก็ตาม แต่การเปิดมุมมองใหม่ ๆ คือประเด็นสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ ประเด็นนี้ไม่ได้หมายถึงว่าเราต้องรอให้คนต่างชาติต่างวัฒนธรรมมาช่วยวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมไทย ถึงจะได้มุมมองใหม่ หากการศึกษาไทยใจกว้าง เปิดให้คนไทยหัดคิดหัดเรียนรู้นอกกรอบ ความคิดจารีตนิยมได้ จะเปิดทางให้คนไทยเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจทั้งเรื่องของไทย และเรื่องของวัฒนธรรมอื่นได้กว้างขวางลึกซึ้งเพิ่มขึ้นกว่าระบบการศึกษาแบบท่องจำตามตำรา ตามครู ตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมที่อาจจะล้าสมัยอย่างที่เป็นอยู่

 

ไมเคิล ไรท์ กระจกเงาส่องสังคมไทย


ไมเคิล ไรท์ กระจกเงาส่องสังคมไทย
 รศ.วิทยากร  เชียงกูล
โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 1 กุมภาพันธ์ 2552 18:18 น.
 
 
       ใครที่ชอบอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม คงจะเคยได้อ่านหรือได้ยินชื่อ ไมเคิล ไรท์ ผู้เขียนบทความภาษาไทยรวมเป็นเล่มชื่อ “ฝรั่งคลั่งสยาม” และอื่น ๆ เขาได้เขียนบทความเชิงวิเคราะห์ที่ทำให้เกิดโต้แย้งกันมากพอสมควร เช่นหลักศิลาจารึก หลักที่ 1 ที่เคยเชื่อกันว่าจารึกในสมัยสุโขทัยนั้น เขาเห็นว่าโดยโครงสร้างไวยากรณ์สำนวนภาษาน่าจะจะจารึกในสมัยต้น ๆ รัตนโกสินทร์และถือเป็นวรรณกรรมสั่งสอนมากกว่า ในที่นี้ผมเพียงแต่อยากจะเขียนถึงไมเคิล ไรท์ในฐานะเพื่อนเก่าคนหนึ่งแบบมองภาพกว้างมากกว่า
      

Read the rest of this entry »

 

สำคัญกว่ากลไกแก้ขัดแย้ง คือ “สำนึกร่วม”ผลประโยชน์ชาติ


การทำงานของหน่วยงานภาครัฐหลายองค์กร ค่อนข้างจะได้รับอิทธพล ทฤษฎี “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของ นพ.ประเวศ วะสี ที่เชื่อในพลังการเคลื่อนของ 3 ขั้วมุมคือ “ภาคการเมือง ภาคสังคม และภาคสื่อ”ว่าสามารถทำ “งานใหญ่” ที่เคยเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ ให้สามารถเป็นไปได้

บทเรียนที่ผ่านในช่วงทศวรรษนี้ สังคมได้เคลื่อนตัวไปสู่จุดที่นักวิชาการเรียกว่า “สังคมพหุนิยม”นั่นคือ การเกิดขึ้นของกลุ่มที่หลากหลายและมีความแตกต่างกันของผลประโยชน์ ดังนั้นแนวคิดแบบ Zero Sum Game ที่ “ผู้ชนะได้หมด” นั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้

ประเด็นก็คือ มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการสร้างเวทีต่อรองผลประโยชน์เพื่อให้เกิดดุลของ การจัดสรรทรัพยากรที่นับวันยิ่งมีอยู่อย่างจำกัด

อดีตที่ผ่านมานั้น การแย่งชิงทรัพยากรอาจจบด้วยโศกนาฏกรรมของสังคมชนบท แต่ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นได้ยากยิ่ง

ขณะที่ประเทศก็ไม่สามารถหยุดนิ่งการขับเคลื่อนท่ามกลางกระแสการพัฒนา การหาเวทีให้กลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายได้ใช้ต่อรองจึงเลี่ยงไม่พ้น

สำหรับโครงการพัฒนานักลงทุนและภาครัฐ มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติและบวกรวมเป็นต้นทุนการดำเนินโครงการ นั่นก็คือ การเพิ่มต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน

กระบวนการนี้มีกลไกรองรับคือ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือเรียกสั้นๆว่า อีไอเอ.มีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (สผ.) รับผิดชอบกำกับดูแล

ประเทศไทยเริ่มนำเข้ากระบวนการอีไอเอ.มาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ.2515 โดยระยะแรกจำกัดการบังคับใช้กับโครงการของรัฐต่อมาปี พ.ศ.2535 ขยายบังคับประเภทและขนาดของโครงการถึง 22 ประเภท และระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่ามาโครงการพัฒนาได้รับความเห็นชอบในรายงาน อีไอเอ.มากกว่า 3,500 โครงการ

แต่ด้วยโครงสร้างและกระบวนการแบบเดิมทำให้อีไอเอ.ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นต่อเนื่อง การจัดทำรายงานไม่ครอบคลุมจนในที่สุดทำไปสู่การมองอีไอเอ.ด้วยทัศนคติด้านลบ

สผ.จึงถูกมองว่าเป็นหน่วยงาน “ตรายาง”ในการให้ความชอบธรรมกับการที่รัฐ-เอกชนเข้าไปแย่งชิงทรัพยากรของชนบ ทเพื่อป้อนเข้าสู่เมืองภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “การพัฒนา”

ว่ากันว่า ปัญหานี้ครอบคลุมทั้งระบบบริหารจัดการในส่วนของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาโครงการ ผู้ประกอบการเจ้าของโครงการ รวมทั้งและบริษัทที่ปรึกษา เมื่อผสมโรงกับจำนวนโครงการที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาอีไอเอมีมากขึ้น จากปี พ.ศ.2546 มีเพียง 574 โครงการ แต่พอปี 2551 มีโครงการที่จะต้องพิจารณาถึง 1,097 โครงการ ในขณะที่ สผ. มีเจ้าหน้าที่พิจารณาตรวจสอบเพียง 65 คน

ความเคลื่อนไหวของ สผ.โดยเปลี่ยนระบบคิด นำ “Steak Holder” โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา และภาคประชาคม อย่างนักวิชาการตามมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอีไอเอ.จึงเป็นคว ามเคลื่อนไหวที่มีนัยยะสำคัญ

การยกเครื่อง อีไอเอ. ที่ระบุว่า ดำเนินการภายใต้ หลัก 4 พ. คือ เพิ่มคุณภาพ เพิ่มความเร็ว เพิ่มความโปร่งใส และเพิ่มความรับผิดชอบนั้น โดยรวมแล้วก็มีปรัชญาพื้นฐานคือ การสร้างการยอมรับจากทุกภาคส่วนในกระบวนการจัดทำอีไอเอ.

ถ้าฟังจากนายชาตรี ช่วยประสิทธิ์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บอกถึงขั้นว่า คณะกรรมการผู้ชำนาญการ จะมีการเพิ่มสัดส่วนของ Steak Holder คือผู้แทนจากภาคประชาชนเข้าร่วมด้วย

หรือกระทั่งนายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง เลขาธิการ สผ. บอกว่า ปัญหาการยอมรับของชุมชนน่าจะได้รับการแก้ไข เพราะมีการเพิ่มผู้เกี่ยวข้อง (Steak Holder) ให้เข้ามาสู่กระบวนการพิจารณาอีไอเอ อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ สผ.ก็ยังเรียกร้องว่า ความสำเร็จต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากผู้ประกอบการและชุมชน

สิ่งที่ต้องยอมรับว่าเมื่อเกิดโครงการพัฒนาย่อมมีผลกระทบ เพียงแต่ว่า ผลกระทบนั้นเป็นที่เป็นไปภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับได้หรือไม่

สังคมไทยต้องพัฒนาต่อไปก็คือ เมื่อสร้างกลไกแก้ความขัดแย้ง สร้างเวทีในการ “สานเสวนา” เพื่อนำปัญหาเข้าสู่ระบบ สำคัญกว่านั่นก็คือสังคมไทยจะใช้กลไกที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ นั้น

ส ิ่งเหล่านี้ว่ากันถึงที่สุดแล้วก็ขึ้นคิดอยู่กับ “สำนึกร่วม” ของผู้คนในสังคม การละทิ้งแนวคิดสุดโต่ง ละทิ้งวาทกรรม “มึงสร้างกูเผา” ละทิ้งระบบคิดที่มองทุน รัฐ เป็นปฏิปักษ์กับประชาชนแล้วหันมามองผลประโยชน์ชาติภายใต้ดุลภาพและความสมานฉ ันท์

โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 27 พฤศจิกายน 2551 09:51 น.

 

ป้ายกำกับ: , ,

สังคมต้องการความรัก … ไม่ต้องการความแตกแยก


โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์

มนุษย์เราถูกสร้างมาอย่างดีให้มีความแตกต่าง ดังอวัยวะของกายเดียวกัน ความแตกต่างไม่ควรเป็นเหตุแห่งความแตกแยก “ความรัก” ระหว่างมนุษย์จึงมีความสำคัญ และ “พระเจ้า” ผู้ยิ่งใหญ่ จึงเป็น “ความรัก” ที่จะผูกโยงอวัยวะที่ต่างกัน ให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในร่างกายเดียวกัน

.. ในความรัก ผู้คนจะไม่เห็นแก่ตัว แต่จะเห็นแก่กันและกัน
Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , ,

ทางออกของปัญหา:คอร์รัปชั่นปราบได้ ถ้าคิดแก้ไขกันอย่างเป็นระบบ


ทางออกของปัญหา:คอร์รัปชั่นปราบได้ ถ้าคิดแก้ไขกันอย่างเป็นระบบ
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์     21 มีนาคม 2551 21:22 น.
คอร์รัปชั่นไม่ใช่เรื่องปกติที่สืบเนื่องมาจากความโลภของมนุษย์หรือลักษณะทางวัฒนธรรมและศีลธรรมของนักการเมืองไทยที่หลายคนคิดว่าคงจะไม่มีทางแก้ได้ แต่เป็นเรื่องผิดปกติที่เกิดจากปัญหาบริหารการจัดการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่ไม่ดี และปัญหานี้มีทางป้องกันและปราบปรามได้ ถ้าประชาชนตระหนักและรู้วิธี

Read the rest of this entry »

 

ทางออกของปัญหา : ผู้แทนจะมีคุณภาพได้ต้องสร้างพลเมืองให้มีคุณภาพก่อน


      พลเมืองสมัยใหม่ต่างจากไพร่ฟ้าข้าราษฎรอย่างไร

รัฐธรรมนูญทั้งปี 2540 และปี 2550 ไม่สามารถทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองได้ เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองไทยเป็นระบบทุนนิยมผูกขาดแบบเป็นบริวารทุนต่ างชาติ ที่คนรวยกลุ่มน้อยมีอำนาจครอบงำประชาชนทุกด้านสูงมาก ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ขาดความรู้และจิตสำนึกในฐานะพลเมือง ยังคิดว่าตนเองเป็นไพร่ฟ้าที่ต้องพึ่งพาอยู่ภายใต้อุปถัมภ์และเป็นหนี้บุญคุ ณของผู้มีอำนาจ

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , ,

ทางออกของปัญหา:ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State)?


ทางออกของปัญหา:ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State)?
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 มีนาคม 2551 15:04 น.
คำว่า Failed State – รัฐที่ล้มเหลว หมายถึงประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรงยืดเยื้อเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยรัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆอย่างได้ผล เช่น ประเทศอิรัก ศรีลังกา ปากีสถาน เป็นต้นประเทศไทยมีแนวโน้มจะเป็นรัฐที่ล้มเหลวอันดับต่อไปได้หรือไม่? หากดูภาพภายนอกโดยทั่วไปคนส่วนใหญ่คงคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ แม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว การเปิดเสรีและการเก็งกำไรที่ให้ค่าเงินบาทสูงจนผู้ส่งออกลำบาก มีปัญหาคนจน ปัญหาค่าครองชีพ เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตในอัตรา 4- 5 % การเมืองก็มีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ช่วยระงับความขัดแย้งแบบสุดโต่งของคน 2 ฝ่ายในบางครั้งได้บ้าง สังคมก็พอเดินหน้าไปได้ โดยไม่มีความขัดแย้งรุนแรงมากนัก ยกเว้น 3 จังหวัดภาคใต้ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะ

แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกๆแบบตรงไปตรงมาน่าเป็นห่วงว่าประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจนำไปสู่รัฐที่ล้มเหลวและทำให้ประเทศตกต่ำได้ เช่น ชนชั้นนำ ทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ นายทหารข้าราชการชั้นสูง โดยเฉพาะรัฐบาลตัวแทนพรรคไทยรักไทยค่อนข้างฉลาดน้อย และเห็นแก่ตัวมาก มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางด้านเศรษฐกิจสังคม และความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองแบบเป็น 2 ขั้วสุดโต่งมาก ซึ่งอาจทำให้รัฐไทยล้มเหลวในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น

บางประเทศที่รัฐล้มเหลวหรือประสิทธิภาพการบริหารต่ำลงนั้น เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการเมืองของประเทศตกต่ำไปกว่าระดับการพัฒนาที่ตนเคยมีอยู่ได้จริง เช่น ฟิลิปปินส์ อาร์เยนตินา ยูโกสาลาเวีย (ซึ่งปัจจุบันแตกแยกเป็นหลายประเทศ) เป็นต้น เคยมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมในอดีตเมื่อ 30 – 50 ปีที่แล้วที่เจริญรุ่งเรืองกว่าในยุคปัจจุบัน

ประเทศไทยกำลังมีรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงขี้เหร่นิดหน่อยเท่านั้น แต่มีคุณภาพต่ำ ทั้งแง่ความรู้ความสามารถ ความฉลาดรอบด้าน การขาดการมองการณ์ไกล ขาดคุณธรรมจริยธรรมหรือเห็นประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าคิดถึงส่วนรวม พวกเขาเหมือนไดโนเสาร์ในโลกแห่งการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศที่เจริญก้าวหน้าล้วนแต่มีวิธีการคัดเลือกคนเก่งๆและคนที่ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวมขึ้นมาเป็นรัฐบาล เป็นคณะรัฐมนตรี ผู้บริหาร และผู้ทำหน้าที่รัฐด้านต่างๆได้ดีกว่าของไทย รวมทั้งฟังเสียงคัดค้านเสนอแนะและคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชนมากกว่าของไทยด้วย

ความล้มเหลวของไทยที่สำคัญคือชนชั้นนำ (ทั้งนักการเมือง นายทหาร ข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจ รวมทั้งตุลาการ) เป็นพวกจารีตนิยมล้าหลังไม่สนใจการอ่าน การคิดวิเคราะห์เรียนรู้พัฒนาตนเอง เพื่อปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและอย่างมากมาย

ทุกรัฐบาลใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบปล่อยเสรีมือใครยาวสาวได้สาวเอาตามแนวคิดของประเทศพัฒนาทุนนิยมอุตสาหกรรม โดยไม่มีความคิดของตัวเองที่จะพัฒนาประชาชนที่ยากจนที่เป็นรากฐานเศรษฐกิจสังคมในประเทศมีความรู้ความสามารถและการจัดตั้งองค์กรที่เข้มแข็ง ไม่มีความคิดในเชิงรักชาติหรือคิดถึงส่วนรวม และความเป็นธรรมสำหรับคนในชาติ

ปีกว่าๆที่ผ่านมา ประชาชนเคยฝากความหวังกับฝ่ายตุลาการมาก จนถึงกับนักวิชาการที่เคยเป็นนักกิจกรรมหัวก้าวหน้าเรียกว่า ตุลาการภิวัฒน์ หรือ การปฏิวัติโดยตุลาการ แต่โดยพื้นฐานแล้ว พวกตุลาการส่วนใหญ่เป็นพวกจารีตนิยมมากกว่าจะเข้าใจว่าสังคมมีปัญหาอย่างไร จะต้องการการปฏิวัติแบบไหน อย่างไร ส่วนใหญ่หรือบางคนในพวกเขาอาจจะรักความเป็นธรรมอยู่บ้าง แต่เป็นความเป็นธรรมในความหมายแคบ คือ ตามตัวอักษรในกฎหมายเวลาเกิดกรณีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชน พวกเขาไม่เข้าใจว่าสังคมไทยหรือประชาชนไทยที่ยากจนกำลังขาดความไม่เป็นธรรมทั้งทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมอย่างไร พวกเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่สนใจอ่าน ไม่ได้ติดตามวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน

ดังนั้นตุลาการก็จะล้มเหลว ไม่ต่างจากคมช.และรัฐบาลสุรยุทธ์ สนช. /สสร. สังคมไปฝากความหวังให้พวกเขามากไป ผู้ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากชนชั้นนำที่จารีตนิยมและบางส่วนเป็นเสรีนิยมแบบทุนนิยมตะวันตกก็ไปให้อำนาจพวกตุลาการและองค์กรอิสระซึ่งมาจากตุลาการในการคัดสรร สว.มากเกินไป ผลการคัดสรรสว. 74 คนจากที่องค์กรต่างๆเสนอชื่อมาราว 1,000 องค์กร แทบไม่เห็นตัวแทนภาคประชาชน (เกษตรกร คนงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย) หรือนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน ที่มีความคิดก้าวหน้าหรือความคิดเชิงปฏิรูปสังคมเลย หรือถ้ามีก็น้อยมากแค่ 2 – 3 คน ในจำนวน 74 คน จนไม่อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิรูปให้สังคมดีขึ้นได้อย่างจริง

หากไม่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว คนไทยส่วนที่ยังมองปัญหาบ้านเมืองอย่างวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และยังคิดถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตน จะต้องอ่าน ศึกษาปัญหา คิดวิเคราะห์ร่วมมือกันคิดหาทางแก้ไขปัญหาที่ใหญ่มากนี้อย่างจริงจัง

 

ป้ายกำกับ: ,

ทางออกของปัญหา:กองทุนหมู่บ้าน- ประชานิยมไม่อาจแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างได้


บทความที่เขียนใน นสพ. ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กุมภาพันธ์ 2551 19:01 น.

โครงการกองทุนหมู่บ้านและโครงการให้สินเชื่อรายย่อยประเภทต่างๆ ช่วยให้คนจนมีเงินสดหมุนเวียนไปประกอบอาชีพเกษตรกรและอาชีพอิสระรายย่อยเพิ่ มขึ้นได้บ้าง แต่ยากที่จะแก้ปัญหาความยากจนได้จริงๆ เพราะก ารที่คนจนจะก้าวข้ามพ้นความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจการเมืองได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย ่าง เช่น การมีโอกาสได้เป็นเจ้าของที่ดินหรือปัจจัยการผลิตอื่น มีความรู้ความสามารถในการจัดการ มีระบบตลาดและการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ผู้ผลิตรู้จักรวมตัวกันเป็นกลุ่มสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ฯลฯ

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , ,

ทางออกของปัญหา:กองทุนหมู่บ้าน- ประชานิยมไม่อาจแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างได้


ทางออกของปัญหา:กองทุนหมู่บ้าน- ประชานิยมไม่อาจแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างได้

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กุมภาพันธ์ 2551 19:01 น.

โครงการกองทุนหมู่บ้านและโครงการให้สินเชื่อรายย่อยประเภทต่างๆ ช่วยให้คนจนมีเงินสดหมุนเวียนไปประกอบอาชีพเกษตรกรและอาชีพอิสระรายย่อยเพิ่มขึ้นได้บ้าง แต่ยากที่จะแก้ปัญหาความยากจนได้จริงๆ เพราะการที่คนจนจะก้าวข้ามพ้นความยากจน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจการเมืองได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การมีโอกาสได้เป็นเจ้าของที่ดินหรือปัจจัยการผลิตอื่น มีความรู้ความสามารถในการจัดการ มีระบบตลาดและการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ผู้ผลิตรู้จักรวมตัวกันเป็นกลุ่มสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ฯลฯ

การเน้นโครงการให้สินเชื่อรายย่อยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบแข่งขันในระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนได้ ทั้งๆที่คนที่ยากจนขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นอย่างมากนั้น จนเพราะถูกระบบระบบทุนนิยมผูกขาดเอาเปรียบ และพวกเขาควรได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐแบบให้เปล่าในเรื่องการศึกษา สาธารณสุข บริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่างๆ โดยรัฐบาลต้องเก็บภาษีจากคนรวยในอัตราก้าวหน้าและหารายได้ต่างๆมาช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาหรือปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานต่างๆในถิ่นที่ยากจน จึงจะเป็นช่องทางช่วยพัฒนาคนจนให้ช่วยตัวเองได้

การส่งเสริมการปล่อยเงินกู้รายย่อยให้ประชาชนเข้าไปแข่งขันในระบบทุนนิยมผูกขาดแบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก ผู้ประกอบการรายย่อยส่วนน้อยเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จในบางพื้นที่ แต่ก็อาจจะอยู่ในขอบเขตจำกัดและในระยะสั้นๆ ไม่อาจจะแข่งขันสู้กับบริษัทใหญ่ได้ในระยะกลางและระยะยาวได้ ยกเว้นแต่จะมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ผู้ผลิตที่เข้มแข็ง

การส่งเสริมธนาคารให้สินเชื่อขนาดย่อมเป็นด้านหลักโดยไม่ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองให้เป็นธรรมและเป็นประชาธิปไตย เป็นเพียงการเปลี่ยนการขูดรีดดอกเบี้ยจากคนจนโดยระบบนายทุนเงินกู้เอกชน มาเป็นการขูดรีดโดยสถาบันการเงิน ที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่านายทุนเงินกู้เอกชนหน่อย แต่ดอกเบี้ยที่รายย่อยกู้ได้ยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดีมากเท่านั้น เนื้อแท้ของการขูดรีดผ่าน ระบบการซื้อ (ปัจจัยการผลิต) แพง ขาย (ผลผลิต) ได้ถูก ไม่ได้เปลี่ยนแปลง โครงการเงินกู้รายย่อยเพียงช่วยให้ผ่อนคลายปัญหาและช่วยให้เศรษฐกิจทุนนิยมเดินต่อไปได้โดยไม่สะดุดดูดี แต่คนจนก็ยังติดกับดักของเงินกู้ คือต้องเป็นหนี้สะสมเพิ่มขึ้นไปชั่วชีวิตไม่ต่างไปจากเดิม

ทางออกของคนจน

เราน่าศึกษาบทเรียนจากธนาคารกรามีนของบังคลาเทศ (อ่าน วิทยากร เชียงกูล มูฮัมหมัด ยูนูส ธนาคารคนจนและรางวัลโนเบล สายธาร 2551) สหกรณ์ และองค์กรประชาชนในประเทศอื่นๆเพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อนและนำมาประยุกต์ใช้ในการต่อสู้ในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น โดยจะต้องวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมืองให้เข้าใจสภาพสาเหตุแนวทางการแก้ไขให้เชื่อมโยงเป็นระบบองค์รวม ทางออกของคนจน คงไม่ใช่แค่การจัดตั้งธนาคารคนจน กลุ่มออมทรัพย์หรือสหกรณ์ออมทรัพย์แค่นั้น แต่ต้องจัดตั้งสหกรณ์ผู้ผลิตและผู้บริโภค สหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ประเภทต่างๆที่เข้มแข็งและมีเครือข่ายกว้างขวาง เช่น สหกรณ์การเกษตร ที่มีเครือข่ายระดับภูมิภาคและประเทศ ร่วมกันซื้อปัจจัยการผลิตได้ถูกลงและร่วมกับขายพืชผลได้อย่างมีความรู้มีการจัดการและอำนาจต่อรองขึ้น อย่างสหกรณ์การเกษตรในยุโรปและญี่ปุ่น ซึ่งพัฒนาถึงขั้นมีธนาคารของตัวเอง มีร้านค้าสหกรณ์และบริษัทขายส่ง บริษัทส่งออกของตัวเอง

คนงานผู้ประกอบอาชีพต่างๆสามารถพัฒนา สหกรณ์ผู้ผลิต ผู้บริโภค ที่สมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของโรงงาน ธุรกิจต่างๆเองได้ แม้แต่การแพทย์และการรักษาพยาบาล ทั้งแพทย์ พยาบาล ประชาชนก็มีการ ตั้งสหกรณ์เพื่อการรักษาพยาบาล ในบราซิลและประเทศอื่นๆที่มีจุดแข็งมากกว่าโรงพยาบาลรัฐซึ่งให้บริการได้จำกัดและโรงพยาบาลเอกชนซึ่งคิดแพง ในหลายประเทศมีการตั้งสหกรณ์ผู้ผลิตและผู้ใช้น้ำ ไฟฟ้า ฯลฯ ที่มีจุดแข็งมากกว่ารัฐวิสาหกิจหรือบริษัทนายทุนเอกชน เพราะสหกรณ์เป็นการจัดระบบการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพแบบระบบตลาด แต่การบริหารและการแบ่งปันผลประโยชน์มีความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เน้นเพื่อประโยชน์สมาชิกส่วนรวม สหกรณ์จึงเป็นทางเลือกที่สามที่ดีกว่ารัฐวิสาหกิจ รัฐสังคมนิยมและระบบนายทุนเอกชน

สหกรณ์ที่มีสมาชิกมีความรู้และจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมในหลายประเทศ ยังเป็น องค์กรที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมและสภาพแวดล้อมให้สมาชิก ชุมชน และประเทศ ได้ดีกว่าบริษัทธุรกิจเอกชนด้วย เช่น การเน้นการผลิตและการบริโภคสินค้าที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม การให้สวัสดิการและความช่วยเหลือแก่คนจนหรือคนด้อยโอกาสในชุมชน การส่งเสริมสิทธิสตรี สิทธิพลเมือง สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในภาคใต้และภาคตะวันออกของไทย นอกจากจะการจัดสวัสดิการชุมชนให้สมาชิกและรณรงค์ในเรื่องให้สมาชิกละเลิกอบายมุข และไม่ขายเสียงในการเลือกตั้งผู้แทนด้วย

ดังนั้น การรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันของประชาชนในแนวสหกรณ์ จึงมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาได้สูงกว่าการพัฒนาแนวทุนนิยมอุตสาหกรรมที่เน้นการแข่งขันหากำไรส่วนบุคคล คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะไม่เกิดขึ้นได้จริง ถ้าแนวคิดการพัฒนาประเทศไทยยังเน้นแนวทางเปิดเสรีภายใต้ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมเป็นด้านหลัก เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นจริงได้ก็ต่อ เมื่อเราต้องพัฒนาระบบสหกรณ์ พัฒนาการรวมกลุ่มของประชาชน การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองระดับชุมชนได้เพิ่มขึ้น และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจการเมืองให้กับชุมชน ทำสหกรณ์ผู้ผลิต ผู้บริโภค สหกรณ์ออมทรัพย์ ร้านค้า สหกรณ์ ฯลฯ ให้เข้มแข็งสามารถแข่งกับบริษัทนายทุนขนาดใหญ่ รวมทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ ประชาชนไทยจึงจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาความด้อยพัฒนาอื่นๆ ได้อย่างแท้จริง

 

ทางออกของปัญหา:จะมองและสร้างเศรษฐกิจทางบวกได้อย่างไร


ทางออกของปัญหา:จะมองและสร้างเศรษฐกิจทางบวกได้อย่างไร
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ธันวาคม 2550 18:52 น.
       ปัญหาน้ำมันแพง และเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว ทำให้นักเศรษฐศาสตร์พากันกล่าวว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าต้องลดลงด้วย เพราะเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการลงทุนและการค้าต่างประเทศ (ส่งออก) เป็นหลัก นี่คือการคิดอยู่ในกรอบว่าเราต้องพัฒนาเศรษฐกิจแนวพึ่งต่างชาติแนวเดียว ไม่กล้าคิดว่าเราสามารถแหกกรอบไปทางอื่น เช่นการพึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้นได้
       
        นักการเมืองและชนชั้นนำของไทยมักอ้างว่าไทยเป็นประเทศเล็กที่ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากนโยบายเปิดการลงทุนและการค้าเสรี แต่ประเทศไทยมีประชากรใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก ใหญ่กว่าอังกฤษ ฝรั่งเศสนิดหน่อยด้วยซ้ำ แต่คนส่วนใหญ่ของประชากร 64 ล้านของไทยยากจน พวกเขาไม่มีอำนาจซื้อ ตลาดภายในประเทศของไทยจึงเล็กกว่าอังกฤษ ฝรั่งเศสหลายเท่า
       
       ประเทศไทยมีพื้นฐานการเกษตรที่ค่อนข้างดี มีอาหารพอกินและเหลือส่งออกด้วย ซึ่งดีกว่าประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ภาคเกษตรยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกมาก ส่วนแรงงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย ซึ่งเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกมากเช่นกัน ถ้าหากรัฐทุ่มเทการพัฒนาคนจน ทำคนส่วนใหญ่ให้มีความรู้ มีงานที่มีรายได้สูงขึ้น จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศสูงขึ้น จนลดผลกระทบจากปัญหาการส่งออกชะลอตัวได้
       
       นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตลาดต่างประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ เป็นนโยบายที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ยิ่งถ้าเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวและน้ำมันแพง เศรษฐกิจไทยจะยิ่งตกต่ำหนัก แต่ถ้ารัฐบาลฟังนักวิชาการ ผู้นำชุมชน ผู้นำสังคมและกล้าคิดกล้าเลือกทางเดินใหม่ คือเน้นพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศแบบพึ่งตนเองและพึ่งตลาดภายในระดับชุมชนและประเทศเป็นด้านหลัก ส่งเสริมการลงทุนและการค้ากับต่างประเทศเฉพาะที่จำเป็นและไทยได้ประโยชน์จริงๆ ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนเศรษฐกิจต่างประเทศลดลง และพัฒนาจากภายในประเทศเป็นด้านหลักได้
       
       ประเทศไทยมีเงินออมในระบบธนาคารมากกว่า 5 ล้านล้านบาท สภาพคล่องเหลือ ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ แต่เป็นเพราะรัฐบาล (ทุกรัฐบาล) ขาดภูมิปัญญาและขาดจิตสำนึกที่จะคิดแนวใหม่ เช่น เศรษฐกิจพึ่งตนเอง เน้นการพัฒนาทรัพยากร แรงงานและตลาดในประเทศ ชาตินิยมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ ระบบสหกรณ์ สังคมนิยมประชาธิปไตย ชุมชนสวัสดิการ ฯลฯ
       
       ประเทศไทยจะลดปัญหาผลกระทบจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวได้ถ้าเปลี่ยนมาใช้นโยบายจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในประเทศเสียใหม่ โดยเน้นการพัฒนาคนส่วนใหญ่ให้หายจน ทั้งเรื่องการปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร ปฏิรูปการให้สินเชื่อ ปฏิรูปการศึกษา การฝึกอบรม การจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ การปฏิรูปการตลาด เมื่อแรงงาน 30 กว่าล้านคนของไทย มีความรู้ มีงานทำ และรายได้เพิ่มขึ้น พวกเขาก็จะไปซื้อสินค้าและบริการเพื่อครอบครัว ซึ่งมีรวมแล้วถึง 64 ล้านคนเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตได้
       
       นโยบายแบบทักษิณที่หมุนเงินมาใช้เก่งและเร่งรัดการลงทุนและการบริโภค เป็นการแก้ปัญหาแบบกระตุ้นเศรษฐกิจให้โตในระยะสั้น แต่เพิ่มการทำลายทรัพยากรและสภาพแวดล้อม การเพิ่มการสั่งเข้าพลังงานจากปีละ 2 – 3 แสนล้านบาทเป็นปีละ 5 – 6 แสนล้านบาท ทำให้ทั้งรัฐบาลภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และทำให้สภาพแวดล้อม ระบบนิเวศเสียหายเพิ่มขึ้นมาก แม้รัฐบาลทักษิณจะอ้างว่าเขาทำให้หนี้ต่างประเทศภาครัฐลดลง แต่หนี้ภายในประเทศซึ่งรวมทั้งการออกพันธบัตรกลับสูงขึ้น นโยบายทักษิณกระจายเงินไปหาเสียงกับคนจนได้ส่วนหนึ่งและโฆษณามาก แต่งบส่วนใหญ่ที่ใช้อย่างเงียบๆมุ่งช่วยคนรวย คนชั้นกลาง ช่วยภาคธนาคารและธุรกิจให้ขายของหากำไรจากคนจนได้มากขึ้น ไม่ได้ช่วยให้คนจนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้จริงๆ
       
       การค้านคุณทักษิณในข้อหาว่าเขารวบอำนาจผูกขาดโกงและหาผลประโยชน์ทับซ้อนมากเกินไปยังไม่พอ รัฐบาลใหม่ต้องก้าวข้ามระบอบทักษิณหรือระบอบทุนนิยมอุตสาหกรรมผูกขาดที่เป็นบริวารทุนต่างชาติให้ได้ด้วย คือ ต้องปฏิรูปเศรษฐกิจทั้งระบบ เน้นการพัฒนาคน ใช้แรงงาน ทุน ทรัพยากร ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ลดขนาดการพึ่งพาการค้าและการลงทุนกับต่างชาติลง (ตอนนี้ไทยพึ่งการค้าระหว่างประเทศถึง 130 – 140 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวม) หันมาใช้นโยบายเศรษฐกิจพึ่งตนเองเรื่องปัจจัยสี่ในระดับชุมชนและระดับประเทศ เน้นการพัฒนาเกษตรกร แรงงาน ผู้ประกอบการขนาดย่อม ขนาดกลาง เน้นพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้เพิ่มขึ้น ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคที่ลดการใช้พลังงานจากน้ำมัน ถ่านหินและแก๊สธรรมชาติลง และเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น (เช่น เพิ่มภาษีค่าธรรมเนียมรถยนต์ส่วนตัวและจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าเมืองชั้นใน เพื่อส่งเสริมให้คนใช้การขนส่งสาธารณะแทน ปิดสถานบันเทิงและโทรทัศน์เร็วขึ้น ฯลฯ)
       
       เราต้องเปลี่ยนนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ โดยเน้นการสร้างฐานรากคือ พัฒนาประชาชนและชุมชนให้เข้มแข็ง ทำให้คนส่วนใหญ่มีปัจจัยที่จำเป็น อาหาร ที่อยู่ ยา เสื้อผ้า เครื่องใช้จำเป็น การศึกษา อย่างพอเพียง และกระจายการศึกษา การมีงานทำ ทรัพย์สินและรายได้อย่างสมดุลและเป็นธรรม ช่วยให้คนไทยทั้งประเทศเติบโตพร้อมๆกัน ถึงไปช้าหน่อย แต่จะสมดุลและยั่งยืนกว่า และเป็นทางที่จะทำให้ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและน้ำมันแพงไม่ทำร้ายคนไทย โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ที่ยากจนมากเกินไป จนทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่วุ่นวายไม่รู้จบ
 

ทางออกของปัญหา:การสร้างและการคัดเลือกผู้นำในประเทศไทย


ทางออกของปัญหา:การสร้างและการคัดเลือกผู้นำในประเทศไทย
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2550 17:45 น.
       การคัดเลือกผู้นำไทยยังล้าหลัง
       
        ระบบประชาธิปไตยแบบไทยที่พึ่งการหาเสียงแบบใช้เงิน ใช้ระบอบอุปถัมภ์และการพูดเก่ง ประชาสัมพันธ์ตัวเองได้เก่ง ทำให้เรามีโอกาสได้ผู้นำทางการเมืองที่มีคุณสมบัติในการหาเสียงได้เก่ง แต่อาจไม่ใช่นักบริหารจัดการที่เก่งและเป็นคนดี ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวมเสมอไป ระบบบริหารราชการไทยก็เลื่อนและคัดเลือกคนขึ้นสู่ตำแหน่งสูงขึ้นโดยระบบอาวุโส การเอาใจเจ้านาย และการวิ่งเต้นเส้นสายซึ่งทำให้เราไม่ได้ผู้นำที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ขณะที่ประเทศจีน เวียดนาม สิงคโปร์ มีวิธีคัดคนเก่งและคนดีตั้งแต่เด็ก เยาวชน และหนุ่มสาว เพื่อไปเป็นผู้นำในระบบราชการและการเมืองระดับต่างๆได้มีประสิทธิภาพกว่าไทย
       
       คนไทยส่วนใหญ่ยังมองผู้นำโดยเน้นตำแหน่งและการมีอำนาจบารมีสูงและคาดหมายว่าผู้นำควรเก่งในทุก ๆ ด้าน รู้ทุกเรื่อง กล้าตัดสินใจและตัดสินใจถูกทุกเรื่อง ซึ่งเป็นการมองที่ล้าหลังและการคาดหมายที่เกินความจริง ในโลกสมัยใหม่ ที่ประเทศมีปัญหาขัดแย้งอย่างซับซ้อน ประชาชนแบ่งเป็นหลายกลุ่มและมีความต้องการที่หลากหลาย ต้องการผู้นำและวิธีนำแบบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ คือผู้นำที่ ผ่านการคัดเลือกจากสังคมทั้งในแง่ความเก่งและความดี รู้จักรับฟังปัญหา ความต้องการของคนอื่น รู้จักการนำแบบทำงานรวมหมู่ ไม่สุ่มเสี่ยงแบบสุดโต่ง เข้าใจและสนองความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน
       
        การที่ผู้นำไทยยังเป็นแบบอำนาจนิยม และผู้ตามของไทยชอบประจบสอพลอ ยกย่องผู้นำมากไป ทำให้ผู้นำมีโอกาสที่จะทุจริตฉ้อฉล และตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย เพราะไม่มีการตรวจสอบที่ดี ไม่มีระบบข้อมูลที่ดี ผู้นำแบบนี้ไม่มีทางที่จะรู้ข้อมูลทุกอย่าง ตัดสินใจถูกทุกอย่าง ประเทศไทยยุคใหม่ที่ต้องแก้ปัญหาซับซ้อนและต้องแข่งกับคนอื่นมากต้องการระบบการนำที่ฉลาด (เพื่อส่วนรวม) ซึ่งหมายถึงผู้นำ/กลุ่มผู้นำต้องมีเป้าหมายเพื่อส่วนรวมที่ชัดเจน สร้างและสื่อสารให้เกิดทีมงานที่ฉลาด มีระบบวิจัยข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการกลั่นกรองที่ดี มุ่งความถูกต้องและประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน
       
       ทางออกคือประเทศต้องสร้างผู้นำและผู้ตามที่ดี

       
        ประชาชนไทยยังล้าหลังด้านความคิดความรู้เรื่องการเป็นผู้นำ เพราะถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายและระบบการศึกษาแบบท่องจำ ทางออกคือการปฏิรูปการเรียนรู้ใหม่ ไม่ใช่แค่สอนให้เก่งวิชาการ เก่งภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หรือ วิชาการสมัยใหม่ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ต้องสอนให้คนทุกระดับ แม้จะจบแค่ประถม มัธยมรู้จักตัวเอง รู้จักคิด พัฒนาตนเองให้มีความฉลาดทั้งในทางปัญญา อารมณ์ และ จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม นั่นก็คือการสร้างคนให้มีภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี เยาวชนและประชาชน ต้องเริ่มจากนำตนเองได้ มีความภูมิใจ มั่นใจในตัวเอง รู้ว่าอะไรถูกผิด คิดตัดสินใจด้วยตนเอง กล้าตัดสินใจ กล้ารับผิดชอบ ทำผิดแล้วก็รู้จักสรุปบทเรียน ปรับปรุงตนเองใหม่ได้ พวกเขาจึงจะพัฒนาไปสู่ความเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบและเป็นผู้นำที่ดีในระดับต่างๆได้
       
        การเรียนรู้เป็นผู้นำที่ดี หมายถึงการรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ ไม่ได้หมายถึงการแข่งขันแบบเห็นแก่ตัวเพื่อแย่งการเป็นผู้นำ ผู้นำที่ดีก็คือผู้ตามที่ดีด้วย คือมีเหตุผล มีวุฒิภาวะรู้ว่าอะไรถูกต้องก็ควรทำตาม อย่างคนมีจิตสำนึกรับผิดชอบ ในบางเรื่องเราก็นำ ในบางเรื่องเราก็ตาม ไม่ใช่การนำแบบบ้าอำนาจไม่ฟังใคร หรือการตามแบบที่เพื่อนร่วมงานและประชาชนศรัทธาหลงไหลในตัวผู้นำที่สร้างภาพพจน์เก่ง อย่างไม่มีสติที่จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างจำแนกแยกแยะ
       
        ผู้นำทางการเมืองและทางสังคม (งานเพื่อสาธารณะ) มีความหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้บริหารจัดการแบบธุรกิจ ผู้นำทางการเมืองและสังคมควรเป็นคนที่มีบุคลิกลักษณะที่ซื่อตรงและจริงใจ มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายเพื่อส่วนรวม และสามารถสร้างความไว้วางใจและจูงใจคนอื่น ๆ ให้ทำงานเพื่อองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาจะต้องรู้จักรับฟัง เรียนรู้วิจารณ์ตนเองและพัฒนาตัวเองได้อย่างดี
       
        เวลานี้ระบบการศึกษาของเราทุกระดับ เน้นแต่การสอนวิชาการและวิชาชีพมากเกินไป สอนเรื่องความเป็นคน การเป็นผู้นำและผู้ตามในสังคมที่คนเราต้องใช้ชีวิตแบบรวมหมู่น้อยเกินไป แม้แต่วิชาการวิชาชีพ ก็สอนแบบท่องจำตามตำราจากต่างประเทศ มากกว่าสอนให้เรียนรู้ หัดคิดเป็น ทำเป็น และรู้จักเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงสังคมจริง และประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ทำให้สังคมไทยไม่เข้าใจเรื่องการนำ จึงได้เกิดปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ ปัญหาและความด้อยพัฒนาในหลายทาง
       
        หลักสูตรปริญญาตรี โทและเอกสาขา “ผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และ การเมือง” ของ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่สอนทั้งเรื่องเศรษฐศาสตร์ การเมือง ปรัชญา การบริหารการจัดการ จิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง ความรู้และทักษะแขนงต่าง ๆ เป็นความพยายามที่มุ่งจะช่วยให้คนเข้าใจชีวิตและสังคมอย่างเป็นองค์รวม คิดวิเคราะห์ประยุกต์ใช้เป็น และรู้แนวทางที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองเป็นผู้นำในระดับต่าง ๆ ในอนาคต นี่คือตัวอย่างที่มหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆควรช่วยกันคิดและช่วยกันพัฒนาต่อไป
       
       ผู้นำ เช่นนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องชำนาญเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง เพราะถ้าเขาฉลาดพอ เขาสามารถหาข้อมูลจากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ได้ ผู้นำ ควรรู้กว้าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ถึงระบบโครงสร้าง และ รู้จักการรับฟัง การเลือกฟัง รู้ว่าควรจะหาข้อมูลที่ไหนจากใคร และรู้จักคิด ตัดสินใจ รู้จักการสื่อสาร การจูงใจ และบริหารการจัดการที่ดี
       
       สิ่งที่ประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่มาก คือ พลเมืองที่มีคุณภาพและมีอุปนิสัยที่จะนำไปสู่การใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง ๆ ที่เรามีคนจบจากมหาวิทยาลัยมากกว่า 5 ล้านคน (โทและเอกนับแสนคน) แต่เราผลิตแต่ผู้ตาม ผู้รอคำสั่งหรือทำตามกฎระเบียบมากกว่าผู้ที่สามารถนำได้ในระดับต่างๆ เราจะต้องปฏิรูปการเรียนการสอนและปฏิรูปทางด้านความคิดความรู้กันอย่างขนานใหญ่ เราถึงจะสร้างพลเมืองที่เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและแข่งขันกับคู่แข่งจากประเทศอื่นที่ต่างคนต่างก็เก่งขึ้นและพัฒนาเร็วขึ้นได้
 

ทางออกของปัญหา:น้ำมันแพง เป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องแก้ไขทั้งระบบ


ทางออกของปัญหา:น้ำมันแพง เป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องแก้ไขทั้งระบบ
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 พฤศจิกายน 2550 16:44 น.

โดยวิทยากร  เชียงกูล

       น้ำมันแพงตั้งแต่นี้ไปเป็นปัญหาถาวร ไม่ใช่วัฏจักรขึ้นลงเหมือนครั้งก่อน
       
        โลกเรากำลังใช้น้ำมันมากกว่าที่เราผลิตและกลั่นได้ เราขุดน้ำมันมาใช้ถึงจุดสูงสุดหรือครึ่งหนึ่งแล้ว อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือจะขุดยากขึ้น ผลผลิตแต่ละปีจะลดลงตามลำดับ ขณะที่ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น น้ำมันดิบที่มีราคาระดับบาเรลละ 80 ดอลล่าร์สหรัฐ (สูงขึ้น 3 เท่าตัวจาก 5 ปีที่แล้ว) จะไม่มีราคาลดต่ำกว่านี้ มีแต่จะสูงขึ้นเป็นหลักร้อย ชนชั้นนำไทยที่เสนอให้ไปใช้ก๊าซธรรมชาติแทนน้ำมัน ไม่ตระหนักว่านี่เป็นการแก้ไขได้บางส่วนและชั่วคราวเท่านั้น ก๊าซธรรมชาติก็จะหมดในเวลาต่อไป และจะแพงขึ้นเช่นกัน
       
       ปีที่ผ่านมาทั้งโลกใช้น้ำมันวันละ 84 ล้านบารเรล หรือตกปีละ 30,660 ล้านบารเรล ( 1 บารเรล = 158.9 ลิตร) คาดว่าจะมีน้ำมันทั้งโลกให้ใช้ได้ไม่เกิน 40 ปีนับจากนี้ไป
       
        คนที่ไม่ศึกษาอนาคต จะทั้งเจ็บปวดและทั้งงุนงง
       
       นักธรณีวิทยาด้านน้ำมันส่วนใหญ่เชื่อว่า มีการสำรวจไปทุกมุมของโลกอย่างน้อย 95 – 98% ของทุกพื้นที่ในโลกแล้ว ช่วง 10 – 20 ปีหลังมีการพบแหล่งน้ำมันใหม่น้อยลงตามลำดับ ก๊าซธรรมชาติก็คาดว่าจะถูกใช้หมดตามหลังน้ำมันไม่เกิน 10 ปี
       
        การที่โลกฝากความหวังเรื่องการพึ่งแหล่งน้ำมันจากตะวันออกกลาง รุสเซีย เอเชียกลาง ลาติน อเมริกา และแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและปัญหาที่ซับซ้อน ยังเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายจากความผันผวนทางการเมืองมากด้วย
       
        พลังงานทางเลือกอื่นนอกจากน้ำมันมีข้อจำกัด
       
        พลังงานอื่นที่จะมาแทนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้ยังมีการพัฒนาน้อย และมีข้อจำกัด ถ่านหินมีมากก็จริง แต่สร้างมลภาวะมากที่สุด ทั้งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งทำให้โลกร้อนขึ้น ธรรมชาติขาดความสมดุล เกิดพายุและน้ำท่วมมากขึ้น การกลั่นน้ำมันจากถ่านหิน ทรายน้ำมัน หินน้ำมันก็ต้นทุนสูงและสร้างมลภาวะ โรงงานไฟฟ้าจากปรมาณู ทั้งแพง ทั้งอันตราย พลังงานจากไบโอดีเซลและจากไฮโดรเยนที่จะทำเป็นเซลล์เชื้อเพลิง สำหรับใช้ยานพาหนะและอื่น ๆ ก็ยังมีต้นทุนสูงและต้องการการวิจัยและพัฒนาอีกมาก พลังงานแสงแดด ต้นทุนสูง ต้องใช้เวลาพัฒนาไม่ต่ำกว่า 30 ปี ต้องใช้แร่เหล็กมาก กระบวนการผลิตก็ก่อมลภาวะส่วนหนึ่ง พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนขนาดใหญ่ก็มีปัญหาด้านมลภาวะและความไม่คุ้มทุนสูง
       
       พลังงานจากลมมีต้นทุนต่ำและมีโอกาสดีที่สุด แต่ทำได้เฉพาะบางสถานที่และจะใช้ภายในชุมชนใกล้ ๆ ได้มากกว่าจะผลิตเป็นขนาดใหญ่และส่งไปใช้ได้ไกล ๆ โดยเสียต้นทุนต่ำ รวมทั้งไม่อาจใช้ในยานพาหนะได้
       
       บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ 5 – 6 บริษัทและรัฐบาลมักจะคิดแบบเข้าข้างการใช้น้ำมันที่พวกเขาคอยควบคุมได้ง่ายและได้กำไรมากกว่าจะพัฒนาพลังงานทางเลือกแบบที่ชาวบ้านและชุมชนจะผลิตใช้เองได้โดยไม่ต้องพึ่งบริษัทใหญ่ ทั้งประชาชนก็ถูกครอบงำทางความคิดให้ชอบและชินกับความสะดวกสบายจากการใช้น้ำมันและการบริโภคสิ่งต่าง ๆ ที่พึ่งน้ำมัน จนนึกว่าน้ำมันมีเหลือเฟือไม่จำกัด เหมือนเด็กเล็กที่คิดว่าถ้าพ่อแม่ต้องการเงินก็แค่ไปกดเงินมาจากตู้เอทีเอ็ม
       
       น้ำมันแพงนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ และวิกฤติขาดแคลนอาหาร
       
       ไม่ว่าน้ำมันจะหมดโลกภายใน 40 ปี จริงหรือไม่ แต่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะต้องหมดภายในศตวรรษนี้อย่างไม่มีทางผลิตทดแทนได้ ถึงจะมีมาตรการประหยัดการใช้น้ำมันออกมาบ้าง การใช้น้ำมันของโลกก็จะยังคงเพิ่มขึ้น เพราะคนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจหลายประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น คนใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้ไฟฟ้า ผลิตอาหารที่ใช้ปุ๋ยเคมี และบริโภคสินค้าที่มาจากน้ำมันหรือต้องใช้น้ำมันและปิโตรเคมีที่มาจากน้ำมันมากขึ้น
       
       เมื่อน้ำมันแพง 1 เท่า หรือ 2 เท่าตัว สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ภาวะเงินเฟ้อกว่าปีละ 10% ขึ้นไป รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องพยายามปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้น กำลังการซื้อจะตกต่ำ ธุรกิจล้มละลาย ธนาคารเกิดหนี้เสีย เกิดเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำครั้งใหญ่ยิ่งกว่าครั้งใด เพราะโลกมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันสูงขึ้น และเพราะเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมพึ่งน้ำมันหรือเชื้อเพลิงจากฟอสซิล (รวมก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน) ยิ่งกว่ายุคใดที่ผ่านมา
       
       ปัญหาของประเทศไทย
       
        ประเทศไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่าราว 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม และสั่งเข้าน้ำมันเป็นมูลค่าปีละ 5 – 6 แสนล้านบาท สูงกว่าที่เราส่งข้าวไปขายต่างประเทศราว 7 – 8 เท่า น้ำมันกลายเป็นสินค้าหลักที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขาดดุลการค้าและเป็นหนี้สูง ประเทศไทยใช้น้ำมันเพื่อการบริโภคส่วนตัว (เช่น รถส่วนตัว ไฟฟ้าสำหรับความบันเทิง) มากกว่าที่จะใช้เพื่อการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากการที่คนไทยใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นในอัตรา 1.4 เท่าของอัตราเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งสูงกว่าประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันเพิ่มต่ำกว่า 1 เท่าของ GDP
       
       ชนชั้นนำของไทยยังไม่ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อย่างเป็นระบบองค์รวม พวกเขาออกมาตรการประหยัดน้ำมันแบบเกรงใจภาคธุรกิจเอกชนและคนชั้นกลางมากไป กระทรวงพลังงานมองว่าการส่งเสริมให้รถยนต์ใช้ก๊าซและไบโอดีเซล/ก๊าซโซฮอลล์แทนน้ำมันจะลดการใช้น้ำมันได้สัก 20% ภายใน 4 ปี ทั้ง ๆ ที่ก๊าซก็จะหมดจากเมืองไทยและหมดทั้งโลก รวมทั้งจะแพงขึ้นเช่นกัน ส่วนไบโอดีเซลและก๊าซโซฮอลล์ก็ต้องพึ่งการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งต้องพึ่งน้ำมัน ในขณะที่รัฐบาลในยุคทักษิณใช้เงินรัฐสนับสนุนราคาน้ำมันและก๊าซในช่วงปี 2547 ขาดทุนไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท และทุกวันนี้รัฐบาลยังเก็บภาษีน้ำมันสูงเพื่อชดเชยการขาดทุนของกองทุนน้ำมัน รัฐบาลทุกรัฐบาลส่งเสริมการเติบโตของรถยนต์และการสร้างทางด่วนและถนน มากกว่าที่จะสนใจพัฒนาการขนส่งสาธารณะ การขนส่งสินค้าทางรถไฟและทางเรือซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าการขนส่งโดยใช้รถบรรทุก รวมทั้งไม่มีมาตรการประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง
       
       นี่คือปัญหาวิกฤติที่จะมีผลกระทบรุนแรงต่อคนทั้งประเทศอย่างรุนแรง ควรมีการระดมนักวิชาการเพื่อศึกษาปัญหานี้ในเชิงโครงสร้างอย่างเป็นระบบองค์รวม เพิ่มทุนวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือก ปรับเปลี่ยนการวางผังเมืองใหม่ ปฏิรูประบบภาษีอากร กฎหมาย นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ ที่มุ่งลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน) อย่างจริงจัง
       
        อย่ามัวแต่ทะเลาะกัน อย่ามัวแต่แก่งแย่งแข่งขันแบบตัวใครตัวมันกัน อย่ามัวแต่คิดเรื่องเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน มหันตภัยกำลังจะมาภายใน 10 ปีนี้ คนมีปัญญา คนที่คิดการณ์ไกล คิดถึงปัญหาส่วนรวม ต้องเริ่มต้นศึกษาและหาทางป้องกันหาทางแก้ไขตั้งแต่ตอนนี้ ก่อนที่ประเทศไทยจะเกิดภัยพิบัติร้ายแรง และคนที่รอดชีวิตส่วนน้อยจะต้องกลับไปใช้ชีวิตแบบบุพกาลเหมือนในยุคก่อนโลกมีน้ำมันใช้ในเชิงอุตสาหกรรม