RSS

Tag Archives: ทางออกของปัญหา

แก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจการเมืองแนวพุทธ


ความรู้เรื่องความจริง ถูกตีความแบบบิดเบือน

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิเห นือธรรรมชาติ เป็นแนวคิดที่มีเหตุผลอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ หรือเป็นองค์ความรู้เรื่องความจริงที่ยังคงทันสมัย เนื้อหาหลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของสรรพสิ่งว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้น โดยมีเหตุปัจจัยที่มา เช่นการกระทำของมนุษย์ เกิดจากตัวมนุษย์ ไม่ได้เกิดจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ปัญหาความทุกข์และปัญหาทั้งหลายต่างมีเหตุปัจจัยที่มาที่มนุษย์จะต้องศึกษาแ ละหาทางแก้ไขด้วยตนเองในชาตินี้ด้วยหลักอริยสัจ 4 คือ เข้าใจสภาวะทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ เข้าใจเรื่องความดับทุกข์ และหนทางดับทุกข์(มรรค 8 )

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , , , ,

ทางออกแบบไหนจึงจะปฏิรูปการเมืองได้


บทความของวิทยากร เชียงกูล
ใน นสพ.ผู้จัดการรายสัปดาห์

ประเทศไทยในยุคที่มีนายกฯและคณะรัฐมนตรีเป็นเผด็จการทางรัฐสภาเพื่อตั วเองและพวกพ้อง การเมืองภาคประชาชนโดยการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ มีส่วนผลักดันให้เกิดการตรวจสอบรัฐบาลและการอภิปรายเพื่อหาความจริงและทางออ กที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หากนายกฯจะลาออกหรือยุบสภาหลังการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ นั่นจะเป็นทางออกชั่วคราวที่ยังไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชา ธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนกำหนดอย่างแท้จริงได้

หากรัฐบาลยังคงดื้อดึงใช้อำนาจเผด็จการรัฐสภาต่อไป การเติบโตและการรุกคืบของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งอาจตามมาด้วยการปราบหรือการก่อกวน การต่อต้านแบบรุนแรง อาจจะนำไปสู่การรัฐประหารหรือรัฐประหารเงียบแบบจี้ให้นายกฯ ยุบสภา ลาออก เกิดสภาพไม่มีสภา ไม่มีรัฐบาล มีการอ้างและนำมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาใช้ก็ได้ ความจริง ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ส.พรรคฝ่ายค้านอาจจะผลักดัน เช่นถอนตัวจากรัฐบาล ประท้วงด้วยการลาออกก็ได้ แต่พวกเขาคงไม่ทำ

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , , ,

ทางออกของปัญหา:ควรใช้นโยบายพัฒนาประเทศเพื่อเพิ่มความสุขมากกว่าเพื่อเพิ่มสินค้า/บริการ


โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 กุมภาพันธ์ 2551 14:42 น.

ความสุขคือสิ่งที่ประชาชนทุกคนปรารถนา เพียงแต่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าการมีเงินทองและการได้บริโภคสินค้าบริการมากๆคือความสุข ความสุขที่แท้จริงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การมีปัจจัยการดำรงชีพขั้นพื้นฐานพอเพียง การมีสุขภาพกายใจที่ดี การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น และการได้อยู่สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตยและความเป็นธรรม เงินช่วยให้คนจนมีความสุขทางกายได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้ช่วยให้คนชั้นกลางขึ้นไปมีความสุขเสมอไป

Read the rest of this entry »

 

ป้ายกำกับ: , ,