RSS

หลักการของระบอบประชาธิปไตย

26 มิ.ย.

หลักการของระบอบประชาธิปไตย

วิทยากร เชียงกูล

ความหมายและความสำคัญ

ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน ตรงกันข้ามกับระบอบอำนาจนิยม ( เช่น ระบอบราชาธิปไตย , ระบอบเผด็จการทหาร, ระบอบอำมาตยาธิปไตย ) ซึ่งเป็นระบอบปกครองโดยคนเดียว หรือโดยคนกลุ่มน้อย ผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชนทั่วไป (เรียกว่า พวกอภิสิทธิชน) ในโลกยุคเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพลเมือง ผู้เสียภาษี(ทั้งทางตรงและทางอ้อม) และเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกัน เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่จะสร้างความมีประสิทธิภาพ(ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ) และความเป็นธรรม ได้มากกว่าระบอบอำนาจนิยม ในบางสถานการณ์ ในระบอบอำนาจนิยม อาจจะมีผู้ปกครองที่เป็นคนดีหรือคนเก่งอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่า เขาหรือลูกหลาน หรือพรรคพวกเขา ที่ได้ตำแหน่งจากการสืบเชื้อสาย หรือการแต่งตั้ง จะปกครองประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่เสมอไป เพราะระบบสืบเชื้อสายและแต่งตั้งเป็นระบบที่ไม่แน่นอน และไม่มีประสิทธิภาพ และเพราะว่าการให้คนสืบทอดอำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลมักนำไปสู่การฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ส่วนตน ระบอบประชาธิปไตยดีกว่าระบอบอำนาจนิยมในแง่ที่ว่า มีระบบคัดเลือกผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองมีอำนาจมากจนเกินไปได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช้สักแค่มีการเลือกตั้ง แต่ยังมีการซื้อเสียงขายเสียง การโกง การใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์

รูปแบบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย หรือการปกครองตนเองของประชาชน อาจจะแบ่งเป็น
1.ประชาธิปไตยโดยตรงประชาชนมาประชุมกัน อภิปรายและลงคะแนนกันในเรื่องสำคัญ เช่น การประชุมเรื่องงบประมาณ กฏหมาย ในระดับท้องถิ่น หรือการลงประชามติในระดับประเทศ เช่น การจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2.ประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทน เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่มีประชาชนมาก มีความ
ซับซ้อน ต้องแบ่งงานกันทำ จึงมักใช้วิธีเลือกผู้แทนขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายออกกฏหมาย
3.ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม การผสมผสานทั้ง 2 แบบแรก รวมทั้งการให้ประชาชนมีการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น มีองค์กรอิสระที่รักษาผลประโยชน์ฝ่ายประชาชน มีสื่อมวลชนและองค์กรประชาชนที่เข้มแข็ง ภาคประชาชนหรือสังคมพลเมืองมีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องการบริหารประเทศค่อนข้างมาก ไม่ได้ปล่อยให้ผู้แทนทำทุกอย่างโดยประชาชนให้ใช้สิทธิแค่เลือกตั้งผู้แทนนานๆครั้งเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทย ใช้ประชาธิปไตยแบบที่ 2 เป็นบางช่วง (บางช่วงเป็ฯเผด็จการทหาร) ประเทศไทยควรใช้แบบที่ 1 และ 3 เพิ่มขึ้นเพราะระบอบประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทนมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในสภาพที่นักการเมืองกลุ่มน้อยมีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีอำนาจและความรู้สูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่มาก ทำให้คนกลุ่มนี้มักได้เป็นผู้แทน และมักจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ รวมทั้งการคอรัปชั่น,การหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยอ้างว่าเพราะประชาชนเลือกพวกเขาเข้าไปแล้ว เขาจะทำอะไรก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยทั้งนั้น ประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทน หมายถึงว่า ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นผู้บริหารจัดการแทนตัวพวกเขา เพื่อให้บริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เลือกไปเป็นเจ้านายและประชาชนยังมีสิทธิคัดค้านถอดถอนผู้แทนที่ขึ้นไปเป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อตรงและเพื่อส่วนรวมด้วย แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ได้เปิดช่องทางและไม่มีการให้การศึกษาและข่าวสารแก่ประชาชนว่า ประชาชนมีสิทธิ ประการหลังที่สำคัญนี้ด้วย ประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนไปเป็นเจ้านายในระบอบอำนาจนิยมซึ่งเป็นระบอบเก่า แต่วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม (ยกย่องเกรงกลัวคนมีอำนาจ) ยังคงตกค้างมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่ประชาชนได้รับการศึกษาและข่าวสารน้อยและหรือได้รับแบบคุณภาพต่ำ ทำให้เป็นประชาธิปไตยแค่รูปแบบ หรือเป็นประชาธิปไตยเพียงบางส่วน ยังไม่ใช่การปกครองตนเองของประชาชน ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่หมายถึงแค่ ประชาธิปไตยทางการเมือง (ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้ง คัดค้าน ถอดถอน ผู้แทนได้) เท่านั้น หากต้องเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (มีการกระจายทรัพย์สิน และรายได้ที่เป็นธรรม มีการแข่งขันที่เป็นธรรม) และประชาธิปไตยทางสังคม (ประชาชนมีการศึกษา รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสการเข้าถึง ศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคกัน) ด้วย ประชาธิปไตย 2 อย่างหลังนี้ ประเทศไทยยังมีน้อย รวมทั้ง ไม่มีการให้การศึกษา ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารประชาชนในเรื่องนี้มากพอ เป็นเหตุให้ประชาธิปไตย การเมือง พัฒนาไปได้ช้ามาก

ประชาธิปไตยในแง่เนื้อหา ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงแค่ระบบการเลือกตั้ง หากต้องประกอบไปด้วยสภาวะความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อย 6 ข้อ คือ

1. การเลือกตั้งผู้แทนจะต้องเป็นอิสระและยุติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อโกงการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และการที่กลุ่มอภิสิทธิชนใช้อำนาจอิทธิพลระบอบอุปถัมภ์ ให้คนต้องเลือกเฉพาะพวกเขาบางคน
2. จะต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ดี เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรประชาชนสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ และต่างฝ่ายต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมทั้งภาคประชาชนสามารถถอดถอนผู้แทนที่มีพฤติกรรมไม่ชอบธรรมได้
3. การบริหารบ้านเมืองจะต้องโปร่งใส มีเหตุผลอธิบายได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีการคอรัปชั่น การหาผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคพวก หาประโยชน์ส่วนตัว
4. มีรัฐธรรมนูญและกฏหมาย ขนบธรรมเนียม ที่มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างมี เหตุผล มีความคงเส้นคงวา คนส่วนใหญ่ยอมรับ และรัฐธรรมนูญ กฎหมาย เหล่านั้นมีผลบังคับใช้ด้วย
5. สื่อมวลชนและองค์กรประชาชนมิสิทธิเสรีภาพ, เป็นอิสระ, มีศักดิ์ศรี และเข้มแข็ง ประชาชนมีจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การสมาคม การชุมนุม การทำประชาพิจารณ์ (เปิดอภิปรายความคิดเห็นประชาชนเรื่องกฏหมายและโครงการต่างๆ) และการลงประชามติว่า ประชาชนจะรับหรือไม่ในเรื่องสำคัญๆ
6. มีการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สู่ประชาชน ทำให้เกิดประชาธิปไตยทาง เศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง สม่ำเสมอ

ดังนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งและมีผู้สมัคร สส. จากพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก แต่ถ้าไม่ได้เกิดสภาวะความเป็นประชาธิปไตยตามแนวทาง 6 ข้อนี้ เช่น เป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจผูกขาดแทรกแซงองค์กรอิสระ ปิดปากสื่อมวลชนและประชาชน คอรัปชั่น หาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เราก็ควรถือว่าระบอบการปกครองแบบนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก หรือเป็นประชาธิปไตยจอมปลอม ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

หากในบางช่วง เช่น หลัง พ.ศ. 2475-2490 , พ.ศ. 2516-2519 ฯลฯ เรามีสภาวะความเป็นประชาธิปไตยบางข้อ มากบ้างน้อยบ้าง ก็อาจถือว่ามีความเป็นระบอบประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ (กับประเทศอื่น,กับประวัติศาสตร์ช่วงอื่น) ได้ระดับหนึ่ง ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยในแง่เนื้อหามากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความตื่นตัวและความเข้มแข็งของภาคประชาชนในแต่ละประเทศในแต่ละช่วงตอนของประวัติศาสตร์เป็นสำคัญหลักการประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตย อยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของโดยใช้อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างอิสระและทั่วถึงในการให้ได้มาซึ่งตัวผู้ปกครองและผู้แทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชนเห็นว่า มิได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ 2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บุคคลต้องการ ตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคมที่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคม ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือด้วยสาเหตุอื่น
4. หลักการปกครองโดยกฏหมายหรือหลักนิติธรรม การให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากัน โดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฏหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule)ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การตัดสินใจใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าสู่ระบบการเมือง การตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก โดยถือว่าเสียงข้างมากเป็นตัวแทนที่สะท้อนความต้องการ/ข้อเรียกร้องของประชาชนหมู่มาก หลักการนี้ ต้องควบคู่ไปกับการ เคารพและคุ้มครองสิทธิเสียงข้างน้อยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปตามผลประโยชน์ความเห็นหรือกระแสความนิยมของพวกตนอย่างสุดโต่ง แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาสต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยไม่มีการเอาเปรียบกันและสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไป ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะเป็นระบอบการเมืองแล้ว ยังเป็นระบอบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ กฏหมาย การเลือกตั้ง และการต่อรองทางการเมืองเท่านั้น หากอยู่ที่สมาชิกในสังคมจะต้องช่วยกันหล่อหลอม สร้างค่านิยม วิถีชีวิต ที่เป็นประชาธิปไตย มาตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชน เพื่อจะนำไปสู่หรือการปกป้อง ระบอบประชาธิปไตย ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ฯลฯ ควรช่วยกันสร้างคือ
1. เป็นคนที่มีเหตุผล ยอมรับเรื่องสิทธิหน้าที่ ความเป็นจริงในทางสังคม เคารพในตัวเอง เคารพในศีลธรรมและประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
2. มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีความสามัคคี

3. เข้าใจความจำเป็นและประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทุกคนในระยะยาว

4. เคารพกฏหมายและดำเนินชีวิตในกรอบของกฏหมายที่มีเหตุผลและเป็นธรรม

5. มีจิตใจเปิดกว้างและพร้อมที่ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้

6. เป็นคนที่มีความรับผิดชอบผูกพันกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป

7. มีจิตใจที่เป็นธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่มีอคติต่อผู้ที่มีความแตกต่างจากตน เช่น นับถือ ศาสนาอื่นหรือเชื้อชาติอื่น เป็นต้น บทบาทของประชาชนในการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การใช้สิทธิในการเลือกตั้งนานๆครั้ง และพยายามเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารประเทศเท่านั้น ประชาชนต้องขวนขวาย ศึกษา พัฒนาตนเอง ใช้สิทธิและหน้าที่พลเมืองที่ดีเข้าไปแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ในการตัดสินใจ เรื่องการใช้ทรัพยากรของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน จังหวัด และประเทศ อย่างแข็งขัน และอย่างสม่ำเสมอตลอด ทั้งปีและทุกปีด้วย

 

50 responses to “หลักการของระบอบประชาธิปไตย

  1. torn

    กรกฎาคม 26, 2007 at 10:37 pm

    อยากได้ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตยอะค่ะ

    ,ความสัมพันธ์ระหว่างรัฏบาลกับประชาชน
    และตัวอย่างประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอะค่ะ

     
  2. vorapong

    กุมภาพันธ์ 1, 2008 at 1:13 pm

    ระบอบ+การปกครอง+ประชาธิปไตย โดยใช้ อำนาจ+อธิปไตย

    = ระบบ+การควบคุม+ประชาชนโดยรวม โดยใช้ สิทธิและหน้าที่+เอกสิทธ
    (บังคับไม่ได้ ชักจูงไม่ได้ มอบให้ผู้อื่นไม่ได้)
    = ระบบ+(คน ทำงาน ตรวจสอบ ประเมินผล แก้ไขปรับปรุง ไล่ออกปลดออก)
    ประชาชนโดยรวม โดยใช้ สิทธิและหน้าที่+เอกสิทธ(บังคับไม่ได้ ชักจูง ไม่ได้ มอบให้ผู้อื่นไม่ได้)

     
  3. vorapong

    เมษายน 9, 2008 at 9:53 am

    ในการปกครองประชาธิปไตย ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุด และประชาชนทุกคนมีอำนาจอันเท่าเทียมกัน เพราะ อำนาจ+อธิปไตย+เป็นของปวงชนชาวไทย หมายถึงประชาชนคนไทยทุกคนทุกอาชีพ ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ล้วนมีเกียติ มีศักดิ์ศรี และ มีอำนาจอันเท่าเทียมกันทั้งหมดทุกคน ตั้งแต่เกิดหรือการได้รับสิทธิในการเป็นคนไทยตามกฎหมาย อำนาจดังกล่าวคือ อำนาจอันเป็นสิทธิ และอำนาจอันเป็นหน้าที่ โดยทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกี่ยวข้องโดยตรง มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง มีผลกระทบโดยตรง ต้องเป็นหน้าที่ นอกนั้นเป็นสิทธิ คำว่าอธิปไตย อ อ่านว่า อะ แปลว่าไม่ เป็นอำนาจอันเป็นอิสสระ หลุดพ้นจากพันธนาการใดๆทั้งสิ้น และเป็นอำนาจอันเป็นเอกสิทย์ มอบให้ใครมิได้ ผู้อื่นทำแทนมิได้ ครอบงำมิได้ บังคับมิได้ ข่มเหงมิได้ ชักจูงมิได้ เป็นต้น
    เมื่ออำนาจอธิปไตย แต่ละอธิปไตย หลายๆอธิปไตย ร่วมกันเป็นธิปไตย ของปวงประชา หรือที่เรียกว่า ประชาธิปไตย นำไปใช้เพื่อการควบคุม(การปกครอง) จึงเรียกว่า การปกครองประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า การควบคุมแบบประชาชนโดยร่วม เช่นร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันตรวจสอบ ร่วมกันประเมินผลงาน และร่วมกันไล่ออกหรือปลดออก เป็นต้น

     
  4. ประชาชน

    เมษายน 16, 2008 at 2:33 pm

    ขอบคุณสำหรับความรู้เบื้องต้นครับ ท่านอาจารย์
    .

     
  5. นิก

    มิถุนายน 24, 2008 at 5:46 pm

    เยอะมาก มีประโยชน์มากค่ะ

     
  6. นัท

    กรกฎาคม 3, 2008 at 6:46 pm

    good มาก เยอะม๊ากมากเลย

     
  7. ณรงศักดิ์ สิทธิดำรง

    กรกฎาคม 13, 2008 at 11:08 pm

    รบกวนขอคำแนะนำเรื่อง แนวการวิเคราะห์ประชาธิปไตย การสร้างารรประชาธิปไตย ทหารและประชาสังคม หมายความว่าอย่างไรครับ
    ขอบคุณครับ

     
  8. ณภัทร

    กรกฎาคม 15, 2008 at 2:33 pm

    สวัสดีค่ะ อาจารย์
    คือว่า ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวกันมั้ย

    แต่ว่าทางกลุ่มของพวกเราก็กำลังสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันอยู่
    รวมถึงอีกหลายๆเรื่องด้วย

    อยากเชิญอาจารย์ ลองเข้าไปชมบล๊อกของพวกเราหน่อยนะคะ

    บล๊อกเราเพิ่งเปิด จึงยังไม่มีข้อมูล อะไรมาก

    อยากให้อาจารย์ช่วยแสดงความคิดเห็น เล็กๆน้อยๆน่ะค่ะ

    ขอความกรุณาด้วยนะคะ

    http://socialworld.no-ip.biz/

    …รวมถึงท่านผู้อื่นด้วยนะคะ เชิญเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ค่ะ

    ขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ ^^

     
  9. g

    สิงหาคม 12, 2008 at 4:19 pm

    รบกวนสอบถามเรื่องประชาธิปไตยเบื้องบนกับประชาธิปไตยเบื้องล่างหน่อยคับ

     
  10. citibank

    กันยายน 2, 2008 at 5:26 pm

    ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน

    ชอบจิงๆ

     
  11. none

    กันยายน 5, 2008 at 6:17 pm

    สงสัยเรื่อง “อำนาจของประชาชน” ประชาชนนั้นหมายถึงใคร สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน ใครคือประชาชนที่มีอำนาจ เราใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าประชาชนไหนมีอำนาจมากกว่ากัน มีสิทธิมากกว่ากัน เราใช้จำนวน ความชอบธรรมหรืออะไรเป็นเกณฑ์ หากประชาชนที่มีอำนาจน้อยกว่าไม่ยอมรับการใช้อำนาจจากประชาชนที่มีอำนาจมากกว่า จะเกิดอะไรขึ้นตามแนวทางประชาธิปไตย การใช้กำลังอย่างปัจจุบันไม่น่าจะใช่ประชาธิปไตย การไม่ฟังเสียงประชาชนก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ทุกคนต่างบอกว่าเพื่อประชาธิปไตยฯ สรุปแล้วเพื่ออะไร

     
  12. m

    กันยายน 10, 2008 at 2:40 pm

    อยากทราบว่า:ประชาธิปไตยสัมพันธ์กับระบอบประชาธิปไตยอย่างไรครับและ
    ประชาธิปไตยเเตกต่างกับระบอบประชาธิปไตยอย่างไรคับอาจารย์

     
  13. yo

    ตุลาคม 28, 2008 at 9:27 am

    ดีมากครับ

     
  14. puping

    มกราคม 29, 2009 at 4:55 pm

    ขอบคุณสำหรับเนื้อหานะค่ะมีประโยชน์หนูมากเลย

     
  15. muu

    มกราคม 29, 2009 at 6:39 pm

    อยากได้ข้อมูลที่จำปง อย่าง นี้ เสมอๆ คับ

     
  16. noon

    กุมภาพันธ์ 20, 2009 at 3:53 pm

    เยาวชนเป็นกำลังของชาติ ต้องปลูกฝังคุณธรรมความดีให้กับพวกเขา
    เพื่อจะได้การปกครองประชาธิปไตยที่ถูกต้อง
    แต่ปัจจุบันวิเคราะห์ ทุกคนต่างบอกว่าที่ทำก็เพื่อประชาธิปไตย แต่คนส่วนใหญ่คิดว่าที่คุณว่าเป็นประชาธิปไตยนั้น ประชาชนเขาได้มาแสดงความคิดเห็นจริงหรือ สิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน มันไม่จริงหรอกไปซะหมดหรอก มันต้องมีความแตกต่างบ้างหละน๋า เช่น รายได้ ความยากจนก็ยากจนสุดๆ ส่วนคนรวยก็รวยสุดๆ จะทำการใดก็ใช้เส้นใช้สาย แร้วนี้หรือที่เขาบอกว่าสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารเพียงอย่างเดียว
    เราต้องหวนกลับมาว่า เราพยายาม อดทน ดิ้นรนถึงที่สุด โดยโปร่งใสสะอาดหรือยัง ทำหน้าที่ประชาชนที่ดีหรือยัง ลองเก็บไปคิดซักนิด
    เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็งของคู่กัน มีสุขมีทุกข์ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ เพราะฉะนั้น สัจธรรม การทำความดี ดำเนินตามหลักธรรมเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดๆๆๆ
    ประเทศไทยของคนไทยเราต้องรักษาไว้นะค่ะ

     
  17. ชมรมศึกษาผลงานฯ

    กุมภาพันธ์ 23, 2009 at 2:04 pm

    ถูกต้องค่ะเห็นด้วยเยาวชนในภายภาคหน้าต้องเป็นกำลังของชาติ ต้องปลุกฝังสิ่งดีังามให้แก่เค้าเพื่อที่ต่อไปเค้าจะได้นำสิ่งเหล่านี้ไปดำเนินในชีวิตในวันข้างหน้าอย่างมีแบบแผนและมั่นคงต่อไปได้

     
  18. นันท์ธิดา

    มีนาคม 7, 2009 at 10:38 pm

    อังกฤษ
    Monarchy – Demokratis (Democretic rights)
    ระบอบรัฐสภา
    ระบอบราชาธิปไตย อันประชามีสิทธิ์ร่วม

    ฝรั่งเศส0
    ระบอบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งระบอบรัฐสภา Democracy

    อเมริกา
    ระบอบประธานาธิบดี (ระบอบประชาธิปไตยเลือกตั้ง)Representative Democracy

    ไทยไม่มี “ระบอบประชาธิปไตย ____”

     
  19. เนย

    พฤษภาคม 13, 2009 at 11:22 am

    อยากจะทราบความคิดเห็นจากท่านว่า
    วัฒนธรรมของสังคมไทยขัดแย้งกับปรัชญา
    และหลักกการประชาธิปไตยสากล หรือไม่
    อย่างไร ของเหตุล

     
  20. May

    มิถุนายน 7, 2009 at 10:17 am

    งั้งๆแหละ

     
  21. songsak

    มิถุนายน 7, 2009 at 9:26 pm

    หากสิทธิเท่าเทียมมีจริงในสังคมแบบนี้
    ทำไมผมถึงไมมีสิทธิที่จะได้เรียนโรงเรียนดี
    เวลาป่วยหมอก็สงใจที่จะช่วยรักษา
    เวลาหิวก็ต้องมีข้าวกินอย่างอิ่มท้อง
    ซึ่งผมไม่ได้รับมันซักเท่าไหร่
    หลายคนก็เช่นกัน
    ผมไปเจอบ่อยที่โรงพยาบาล
    สภาพของคนที่ใกล้จะตายแต่กลับถูกทิ้งให้ตาย
    เพียงเพราะเขาจน

    นี่นะหรือความเท่าเทียมที่สังคมบอกว่าเป็นประชาธิปไตย

    มันคงเป็นหลักการที่เขียนขึ้นมาเพื่ออ้างประโยชน์ของกลุ่มคนผู้มีอำนาจในสังคม
    เพื่อให้เกิดความถูกต้องของการกระทำของพวกเขาเท่านั้น

    แล้วไอ้การที่ผู้คนทำสิ่งที่ไม่ดีแต่กฎหมายเอาผิดไม่ได้มันก็ตลกดีที่บอกว่า

    สังคมแบบนี้มีความเท่าเทียมอยู่

    เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นกับคนจนๆที่ไม่มีอำนาจใดใดเลย

    &ทางม้าวิ่ง&

     
  22. songsak

    มิถุนายน 7, 2009 at 9:39 pm

    ผมว่ามันก็เป็นระบอบที่สร้างขึ้นมาเพื่อเอาใจผู้คนมากกว่า

    มีสิทธิที่จะทำอะไรก็ได้ภายใต้กฎหมาย

    แล้วที่สังคมเป็นยำแย่แบบนี้

    กฎหมายทำอะไรได้บ้างครับ

    ปัญหาโลกร้อนที่กำลังบั่นทอนความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่ในปัจจุบัน

    มันเป็นทางตันของสังคมแล้วครับสำหรับเส้นทางนี้

    ไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับใดก็อ้างแต่สิทธิที่จะรักษาผลประโยชน์ส่วนตนไว้

    โอ้เวรกรรม

    โลกยุคไดโนเสาร์กำลังจะกลับมาอีกครั้ง

    แต่ทุกคนก็ยังทำเหมือนไม่เกิดอะไร

    และสังคมโลกก็ไม่มีสิทธิทำอะไรได้เลย

    สิทธิของสังคมน้อยเกินไปในสังคมประชาธิปไตย

    โดยเฉพาะสังคมระดับโลก

    น่าเศร้าถ้าเรายังคิดว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่น่าชื่นชม

    แล้วก็นั่งรอจุดจบด้วยชีวิตที่ยังเหลืออยู่ซึ่งคุณจะได้รับรูด้วยตัวเอง

    การเอาคืนของธรรมชาติ

    &ทางม้าวิ่ง&

     
  23. songsak

    มิถุนายน 7, 2009 at 9:44 pm

    ขอโทษนะครับไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี

    แต่อยากให้หันมามองความเป็นจริงกันบ้าง

    ทางออกของระบบเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองใหม่

    กำลังจะเผยโฉมหน้าในเร็วๆนี้

    ทางออกเดียวของสังคมมนุษย์

    เพื่อหนีปัญหาสังคมแบบเดิมๆ
    ที่ไม่เคยหายไปตั้งแต่มีสังคมมนุษย์มา

    อีกไม่นานเกินรอครับ

    &ทางม้าวิ่ง&

     
  24. Nice

    มิถุนายน 15, 2009 at 2:55 pm

    กฎหมายบังคับคนจน แต่ คนรวยบังคับกฏมาย

    เป็นธรรมดาของ ประเทศสารขัณ

    หรือที่เรียกสั้นๆว่าประเทศไทยนั้นเอง

    *-*!!! ________

     
  25. ชอบจิ๋มเด็ก

    กรกฎาคม 20, 2009 at 12:27 am

    ประชาธิปไตยคือ…..
    ประชาชนต้องเป็นใหญ่
    (เผาบ้านเผาเมืองโดยใช้รถแก๊ส…ไปจอดหน้าแฟลต)
    (เพื่อให้วีรบุรุษของคนจนอย่างทักษิณได้กลับบ้าน)
    เสียงส่วนใหญ่ต้องเป็นใหญ่
    (เสียงส่วนใหญ่มีสิทธิล้มการประชุมนานาชาติ)
    (เพื่อต่อลองให้กษัตริย์ของคนจนได้กลับบ้าน)

     
  26. พัชริดา

    กรกฎาคม 23, 2009 at 10:23 am

    ดีจังเลยค่ะ สนุกมากเลยค่ะ

     
  27. ยุ

    สิงหาคม 22, 2009 at 9:07 am

    ทุกคนพูดถูก

     
  28. เสาวนีย์

    กันยายน 4, 2009 at 12:25 pm

    ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยเนื้อหาเข้าจัยง่าย

     
  29. กิตติศักดิ์ กาวิกูล

    กันยายน 22, 2009 at 3:33 pm

    ดีคับ

    ขอบคุณมากคับ

     
  30. คนรัก......

    กันยายน 22, 2009 at 9:10 pm

    ดีคร้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆช่วยได้เยอะเลย

     
  31. หมูน้อย

    ธันวาคม 12, 2009 at 12:32 pm

    การเมืองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ประชาธิปไตยก็มีความสำคัญเพราะประชาชนเป็นใหญ่

    มีฐานะเท่าเทียมกัน มีความเสมอที่เท่ากัน

     
  32. ชมรมศึกษาผลงานฯ

    ธันวาคม 22, 2009 at 6:43 pm

    ถูกค่ะทั้งสองสิ่งนี้ถ้าใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมปัญหาจะไม่เกิดแน่นอน แต่ทุกวันนี้เราใช้การเมือง และอำนาจประชาธิปไตยอย่างผิดวิธี จึงเป็นปัญหาต่อเนื่องห่วงโซ่ผูกพันอย่างไม่จบสิ้น

     
  33. pongpop

    เมษายน 25, 2010 at 6:22 am

    การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามที่ท่าน อาจารย์วอทยากร ได้กล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นสิ่งที่นานาชาติต่างให้ความสำคัญและสนใจ มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังไม่เชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งผมคงไม่กล่าวถึง จะขอกล่าวถึงเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ
    ….เรามักได้ยินกันบ่อยๆ ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นการปกครองของประเทศชาติบ้านเมืองเรา ส่วนรูปแบบนั้นเรากำลังใช้ประชาธิปไตยในรูปแบบที่ 3 ซึ่งเป็นแบบผสมผสาน (ตามแนวคิดที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้) แต่ในความเป็นจริงหากเรามาค่อยๆถอดบทกวีแห่งประชาธิปไตยของไทยเราจะพบว่า มีทั้งลับ ลวง พราง มากมาย การเลือกผู้แทนของประชาชนที่เลือกเข้าไปกลายพันธ์เป็นตัวแทนศักดินา นักธุรกิจทางการเมือง ผู้แสวงหาอำนาจรัฐมาใส่ตัวเอง เพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางสังคม ……

    เหตุเห่งความวุ่นวายทางสังคม
    การแบ่งฝ่าย
    แนวร่วม

    (ยังมีอีกครับ ท่านที่สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตามเมล์ครับ)

     
  34. รุ่งนภา

    พฤษภาคม 15, 2010 at 8:51 pm

    ขอเป็นกำลังใจให้นายกกับทหารตำรวจ ทุก ๆ ท่าน ค่ะ

    อย่ายอมแพ้นะคะ สู้.ๆ.ๆ.ๆ.ๆ.

     
  35. 91.75 เพือประชาชน

    พฤษภาคม 15, 2010 at 9:13 pm

    คุณทำดีที่สุดแล้ว ขอให้ทำต่อไป เราอีกหลายชีวิตจะเป็นกำลังใจให้คุณ คุณไม่ได้สู้คนเดียว

    มีคนมากกว่า 60 % ในประเทศที่เห็นด้วยกับคุณ ทุกๆ เรือง สวรรณยังมีตาครับ คนไม่ดีอย่าให้มีอำนาจ

    ให้คนดีปกครองคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ เรารู้แล้วว่าทหารตำตรวจทำดีที่สุดแล้ว เรารู้ดีแก่ใจพวกเรา ครับ

     
  36. ชมรมศึกษาผลงานฯ

    พฤษภาคม 20, 2010 at 8:37 pm

    ขอบคุณทุึกคำตอบของทุึกท่าน

     
  37. Mina

    มิถุนายน 6, 2010 at 8:51 am

    ขอบคุณมากๆนัคะ

    ต้องทำรายงานส่งครู หาเท่าไรก้อหาไม่เจอ

    มาเจออันนี้งานเรยเสดค่ะ

    ^-^

     
  38. Mina

    มิถุนายน 6, 2010 at 9:03 am

    ชอบคุณอีกครั้งนะคะ

     
  39. poppy

    มิถุนายน 6, 2010 at 9:15 am

    listen 2 me

    be wiz u

     
  40. ไก่

    มิถุนายน 26, 2010 at 6:05 pm

    ดินผืนใหญ่ เม็ดทรายสีแดง

    ใคร? ยอมให้เพลิงไฟเผาแผ่นดิน

    ยามบุญส่ง สิ่งประสงค์ ย่อมอำนวย ยามหมดบุญ หนุนช่วย ย่อมยับเยิน

    พญาช้างสารใหญ่ ถ้าไม่ยืนบนผืนทราย จะทรงกายอยู่ได้อย่างไร

    พวกเราชาวเม็ดทราย อีสาน-เหนือ-กลาง-ใต้-ออก-ตก ที่เป็นคนจน

    คนรากหญ้า หน้าดำ แต่ใจไม่ต่ำพอจะเข่นฆ่าประชาชน เยี่ยงสัตว์

    พวกเราจำยอมต่ออำนาจมืด ชีวิตแล้วชีวิตเล่า ศพแล้ว ศพเล่า

    ที่สังเวยอำนาจ ความยิ่งใหญ่ ที่ไร้เมตตา

    ศพลูกหลานไทย กี่หมื่นศพแล้ว ที่สังเวย ใช้กรรม กรรมมีต้องชดใช้

    ฆ่าเม็ดทราย ฆ่าเท่าไหร่ก็ไม่หมด ผืนทรายใหญ่ ซึมซับไว้

    ทั้งเลือด และน้ำตา เลือด ทุกหยด อาบ รด เม็ดทราย

    มันช่วยสร้างพลังในใจให้ยิ่งใหญ่ ไข่วคว้าหาทางเดิน

    อันความมืด ปกปิดไว้ ไม่ตลอด ผู้สุดยอด ย่อมหยั่งรู้ ทุกแห่งหน

    อันความทุกข์ ในหัวใจ คนยากจน ไม่สุดทน ไม่ร้องขอ ต่อใคร ๆ

    สิ่งที่ได้แทนหัวใจอันไหม้ ทุกข์คือ กระดูกของผองเพื่อน เตือนญาติมิตร

    จะเข่นฆ่าเท่าไหร่ เพื่อให้ท้อ กับคำขอเสรีภาพของพวกเราชาวเม็ดทราย

    รวมกันไว้ เป็นเม็ดทราย ผืนเดียวกันไม่กระจายแยกแตกเป็นผุยผง

    รวมกันไว้ รวมใจเป็นพลัง สีทรายดั่งสีเลือดที่หยดริน

    เม็ดทรายสีแดง

     
  41. ชมรมศึกษาผลงานวิทยากร เชียงกูล

    มิถุนายน 29, 2010 at 7:35 pm

    คุณ Mina ดีใจค่ะที่ผลงานของท่าน อ.วิทยากร เชียงกูลเป็นประโยชน์ทางการศึกษาแก่คุณ นี่เป็นเจตนารมย์ของท่านเลยค่ะยินดีนะค่ะถ้าสอบถามเพิ่มเติมค่ะ

     
  42. เคน

    สิงหาคม 4, 2010 at 9:59 am

    ระบอบประชาธิปไตยดีเยี่ยม

     
  43. Hannah

    มีนาคม 14, 2011 at 3:07 pm

    มื่ออำนาจอธิปไตย แต่ละอธิปไตย หลายๆอธิปไตย ร่วมกันเป็นธิปไตย ของปวงประชา หรือที่เรียกว่า ประชาธิปไตย นำไปใช้เพื่อการควบคุม(การปกครอง) จึงเรียกว่า การปกครองประชาธิปไตย หรือที่เรียกว่า การควบคุมแบบประชาชนโดยร่วม เช่นร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันตรวจสอบ ร่วมกันประเมินผลงาน และร่วมกันไล่ออกหรือปลดออก เป็นต้น

     
  44. Hannah

    มีนาคม 14, 2011 at 3:08 pm

    I just could not leave your website before telling you that I really enjoyed the quality information you offer to your visitors… Will be back soon to check up on new posts

     
  45. รพ.ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

    พฤศจิกายน 28, 2011 at 12:32 pm

    “…ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำ เพราะกิจที่จะทำ คำที่จะพูดทุกอย่างล้วนสำเร็จจากความคิด การคิดก่อนพูดและคิดก่อนทำจึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นประโยชน์และเป็นความเจริญ…”

     
  46. วรรษมลชลาวล

    มิถุนายน 1, 2012 at 11:45 pm

    Thanks 🙂

     
  47. ch

    มิถุนายน 27, 2012 at 10:36 am

    ระบบดีอยู่แล้ว แต่อย่าเอาระบบอื่นมาเจือปนมาก ทำถูกต้องสังคมก็สงบสุขครับ ทุกวันนี้คนยึดติดกับภาพเดิมๆ ในขณะที่บริบทสังคมเปลี่ยนไป ในเมือแม่แบบ ปชต ไม่แข็งแรง ความวุ่นวายก็เกิดขึ้น ที่สำคัญ ปชช ยังไม่พยายามศึกษาระบบที่ดี ไม่ยอมรับที่จะรับผิดชอบตนเองตามบทบาทหน้าที่ของ ปชช ในระบบ ปชต มาโต้แย้งกันบนแนวทางของกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ไม่มีการสร้างค่านิยมเพื่อส่วยรวมเพื่อสังคมที่แท้จริง

     
  48. Koon

    พฤศจิกายน 2, 2012 at 5:02 pm

    ขอบคุณ อ.มากค่ะ ที่เขียนบทความดีๆ นี้ขึ้นมา อ่านแล้วเข้าใจง่าย ชัดเจนดีค่ะ

     
  49. ปิยวัฒน์

    ตุลาคม 15, 2013 at 3:13 pm

    ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกเลยคับ
    เพราะทำให้ผมสอบผ่าน

     
  50. จ.อ อนุพงษ์ บุนนาค

    ตุลาคม 21, 2015 at 10:52 am

    ระบอบประชาธิปไตยมุ่งเน้นเรื่องอะไร. (มันเป็การบ้านน่ะครับ)ช่วยผมด้วย..

     

ใส่ความเห็น