RSS

มองโลกในแง่ดี : คนทีความสุขคือคนที่มีความหวังเต็มเปี่ยม

05 ต.ค.

คนที่มองโลกในแง่ดี คือ มีความเชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำอะไรได้แทบทุกอย่าง และถ้าทำอะไรใหม่ๆ ก็คาดว่าจะสำเร็จจะเป็นคนที่มีความสุขมากกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย คนที่มองโลกในแง่ดี คือ คนที่มองส่วนที่เป็นน้ำในแก้วที่มีน้ำอยู่ครึ่งหนึ่งว่า ดีนะที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้ว ส่วนคนมองโลกในแง่ร้าย คือ คนที่มองเห็นส่วนที่ว่างเปล่าของแก้วแล้วคิดว่าทำไมมีน้ำแค่ครึ่งแก้ว

คนมองโลกในแง่ดี จะเครียดน้อยกว่า เข้าจึงมีสุขภาพดีกว่า คนมองโลกในแง่ดี จะมองอุปสรรคเป็นสิ่งท้าทายให้เขาต้องปรับปรุงตัวเอง จะมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีทางเป็นไปได้ ดังนั้น เขาจึงพอใจมากกว่า และกล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง และประสบความสำเร็จมากกว่า

แต่การมองโลกในแง่ดี ที่จะนำความสุขมาให้ หมายถึง การมองโลกในแง่ดีบนพื้นฐานของความเป็นจริง (Realism) ไม่ใช่การเพ้อฝัน คาดหมายสูง มองโลกในแง่ดีอย่างไม่สมจริง ซึ่งหากชีวิตจริงไม่เป็นไปเช่นนั้น จะทำให้คนแบบนี้ผิดหวังมากและทุกข์ได้มาก

ดังนั้น สูตรของชีวิตที่มีความสุข จึงไม่ใช่อยู่ที่การมองในแง่บวก หรือการมองในแง่ดีเท่านั้น มันคือการผสมผสานของการมองโลกในแง่ดี ซึ่งทำให้เราเกิดความหวัง และมองโลกในแง่ร้ายตามความเป็นจริง เพื่อป้องกันไม่ให้เราอิ่มอกอิ่มใจมากเกินไป รวมทั้งการเป็นคนมองโลกตามความเป็นจริงสามารถแยกแยะได้ว่า มีปัจจัยบางอย่างที่ขึ้นอยู่กับเรา เราเป็นผู้ควบคุมเปลี่ยนแปลงมันได้ และมีปัจจัยบางอย่าง เช่น สถานการณ์ภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้

วิทยากร เชียงกูล
จิตวิทยาในการสร้างความสุข. – –  กรุงเทพฯ : สายธาร, 2548.
ISBN : 974-9602-62-1

 

ป้ายกำกับ: , , ,

3 responses to “มองโลกในแง่ดี : คนทีความสุขคือคนที่มีความหวังเต็มเปี่ยม

  1. ทอยยยยยยย

    กรกฎาคม 19, 2010 at 3:17 pm

    ชอบมาก อิอิ

     
  2. nu

    พฤศจิกายน 11, 2011 at 11:10 am

    ผมเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย และมักคิดอยู่เสมอว่า การที่ผมเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายนั้น มันมาจากความโชคร้ายซ้ำๆจน ขาดความมั่นใจในตัวเอง และมักจะซ้ำเติมการมองโลกในแง่ร้ายให้มีมากยิ่งขึ้น ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนบางคนถึงโชคดีเสมอๆและทำไมเราถึงโชคร้ายหรือโชคไม่เข้าข้างเสมอๆ นี่คงเป็นกรรมเก่าที่ต้องรับ การพยายามมองโลกในแง่ดีคงพอจะช่วยบรรเทาความทุกข์ได้แต่คงเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ความเจ็บปวดทั้งทางกายและใจเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องธรรมชาติของสรรพสัตว์ หนทางแก้คงเป็น “ธรรมะ” กระมังที่จะแก้ที่ต้นเหตุได้

     

ใส่ความเห็น